รศ.ดร.ยุวดี พีรพรพิศาล นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยสาหร่ายประยุกต์ สาขาวิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สาหร่ายขนาดเล็ก ซึ่งเราจะพบเห็นโดยทั่วไป เซลล์ของสาหร่ายเหล่านี้มีกรดไขมันค่อนข้างสูง เมื่อนำมาผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า เอสเทอริฟิเคชัน (esterification) ในที่สุดก็จะได้ไบโอดีเซล ซึ่งใช้เป็นน้ำมันเติมรถได้หรือเผาด้วยความร้อนสูง ที่เรียกว่าไพโรไลซิส (pyrolysis) เข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีในสภาวะไร้อากาศ ที่สุดก็จะได้น้ำมันออกมาเช่นกัน หลายประเทศได้ให้ความสนใจและวิจัยอย่างกว้างขวาง ทั้งแถบทวีปอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชีย
ส่วนประเทศไทยมีกลุ่มนักวิจัยที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายน้ำมัน หรือน้ำมันจากสาหร่าย ทั้งทีมการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ที่กรุงเทพมหานคร หรือทีมเชียงใหม่ (Chiang Mai Cluster) ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งได้ผลดีอยู่ในระดับที่น่าพอใจ นอกจากนี้ กลุ่มเชียงใหม่ ยังได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย เรื่องพลังงานชีวภาพของสาหร่ายขนาดเล็ก จากบริษัทแอลวีเทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่สร้างโรงงานปูนซีเมนต์ในประเทศต่างๆ ซึ่งในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์จะเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมาก เมื่อนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านี้ มาเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แล้วนำมวลของสาหร่ายมาใช้เป็นพลังงานอีกทางหนึ่งให้กับโรงงาน คาดว่างานวิจัยเรื่องนี้จะสำเร็จภายในปี 2556
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี