ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ทั้ง 4G และ 5G จะมีบทบาทสำคัญในตลาด Internet of Things (IoT) และอากาศยานไร้คนขับ(Unmanned Aerial Vehicles : UAVs) ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า โดรน โดยแอพพลิเคชันโดรนจะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถปฏิรูปการดำเนินงานและเพิ่มประสิทธิภาพทั้งทางด้านต้นทุนและเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้งศูนย์กลางในการให้บริการเฉพาะทางเกี่ยวกับโดรน ภายใต้ชื่อ Drone Powered Solutions (DPS) เพื่อช่วยลูกค้าในการวางแผนและนำโดรนมาประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจซึ่งปัจจุบันมีการใช้โดรนในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งผู้ประกอบการโทรคมนาคมสามารถมีบทบาทในการนำเสนอDPS ให้กับทุกบริษัทได้ เนื่องจากมีความสามารถในการเชื่อมต่อ IoT ระบบคลาวด์ Big Data และการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ประกอบการโทรคมนาคม สามารถเสนอ DPS โดยการสร้างพันธมิตรในด้านต่างๆ เกี่ยวกับโดรน ประมวลผลข้อมูล การจัดส่งข้อมูล และสามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถภายใน Value Chain ซึ่งตลาดสำหรับ DPS สามารถให้บริการด้วยรูปแบบธุรกิจที่หลากหลาย เช่นการให้บริการโดรนในเชิงพาณิชย์, ไลฟ์วิดีโอแบบ OnDemand หรือระบบขับเคลื่อนด้วยตัวเองอย่างเต็มรูปแบบ
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการโทรคมนาคมสามารถจัดตั้ง ศูนย์ควบคุมการจราจรของโดรน หรือ Drone Traffic Control Center (DTCC) ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมการทำงานของโดรน และสอดคล้องกับกฎระเบียบและข้อบังคับ เพื่อจะอำนวยความสะดวกด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ DTCC ทั้งในการจัดหาและการจัดเก็บข้อมูล การเชื่อมต่อ ความมั่นคงปลอดภัยในระบบไซเบอร์ การให้บริการในระดับมืออาชีพ และแอพพลิเคชันต่างๆ รวมทั้งระบบการจัดการการจราจรของโดรน การวิเคราะห์และจัดทำรายงานแบบเรียลไทม์
ผู้ประกอบการโทรคมนาคมควรพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมและมีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำหรับใช้โดรนในเชิงพาณิชย์ ซึ่งโดรนแสดงให้เห็นถึงโอกาสสำคัญของผู้ประกอบการโทรคมนาคมสำหรับแหล่งรายได้ที่หลากหลาย และการกระตุ้นการเติบโตใหม่ๆ เป็นการปฏิวัติด้านสารสนเทศที่เป็นการปรับโฉมหน้าของเศรษฐกิจโลก โดยการสร้าง การประมวลผลการเก็บรักษา และการแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานและปรับปรุงรูปแบบในธุรกิจใหม่
เทคโนโลยีโดรน หุ่นยนต์ และรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองเป็นตัวอย่างของระบบข้อมูลที่บูรณาการรวมอยู่ในอุปกรณ์ทางกายภาพโดยเฉพาะโดรนที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงแหล่งข้อมูลอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้มีเซ็นเซอร์และกล้องถ่ายรูป ทำให้สามารถได้ข้อมูลที่มีคุณภาพสูงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์และเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่สามารถดำเนินการได้ นอกจากนี้โดรนยังสามารถดำเนินงานที่สำคัญได้ อย่างการวิเคราะห์ การค้นหา การตรวจสอบส่งสัญญาณ การนำทาง และการหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง โดยใช้ซอฟต์แวร์อัตโนมัติ
เทคโนโลยีโดรน ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและไปไกลเกินกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ และปัจจุบันได้เข้าสู่เชิงพาณิชย์ เช่นเดียวกับแอพพลิเคชันด้านไอทีอื่นๆ และมีการแพร่กระจายมากขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพื้นฐานของโดรน เช่น เซ็นเซอร์ กล้อง GPS และแบตเตอรี่ รวมถึงข้อกำหนดและระเบียบที่เหมาะสม และความสนใจของนักลงทุน โดยโครงการของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ หรือ Federal Aviation Administration (FAA) ระบุว่าจำนวนโดรนที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกาจะมีจำนวนเกือบ 3 ล้านเครื่องในปี ค.ศ.2020 ซึ่งเพิ่มขึ้นสี่เท่าจากในปี ค.ศ.2016
โดรนยังช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานที่มีความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านต้นทุนและเวลา
อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการโทรคมนาคมถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการใช้โดรน ซึ่งศูนย์กลาง DPS ต่างๆ ที่หลากหลายจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลประเภทภาพและวิดีโอ เพื่อที่จะได้สามารถประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้อาจต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบการโทรคมนาคมซึ่งถือเป็นบทบาทใหม่สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคม เนื่องจากตลาดโทรคมนาคมแบบดั้งเดิมกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี