“กสทช.” โยนสมาคมฯ ทีวีดิจิทัล จัดทำองค์กรกลางคัดเลือกบริษัท จัดทำเรทติ้ง “ฐากร” คาดสรุปผลไม่เกิน ต.ค.นี้ คาดกรอบวงเงินไม่เกิน 431 ลบ. นายกฯ ทีวีดิจิทัลระบุ คัดเลือกองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร “MRDA” เข้าวิน ช่อง3-7 ร้องลั่น แบกภาระเรทติ้งปีละ 120 ลบ.
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้กำหนดให้มีการประชุมรับฟังแนวทางและวิธีการสำรวจความนิยมช่องรายการโทรทัศน์ (เรทติ้ง) โดย นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ชี้แจงแนวทางและวิธีการตรวจวัดเรทติ้งร่วมกับผู้แทนสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ประเทศไทย) ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล ผู้ประกอบกิจการมีเดียเอเยนซี่ เจ้าของผลิภภัณฑ์ และผู้ผลิตเนื้อหารายการ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า แนวทางของกสทช. เรื่องการทำเรทติ้งคืออยากให้มีองค์กรเข้ามาดู เพื่อทำเรทติ้งให้ถูกต้อง เพื่อให้อุตสาหกรรมทีวีพอใจและอยู่รอดได้ ซึ่งกสทช.ดำเนินตามม.44 และให้อนุกรรมการกำหนดวิธีการและเงื่อนไขการชดเชยกรณีการคลื่นใบอนุญาตทีวีดิจิตอล กำหนดกรอบวงเงิน ซึ่งจะไม่เกิน 431 ล้านบาท และให้องค์กรกลางเป็นคนคัดเลือกผู้จัดทำเรทติ้ง ซึ่งองค์กรกลางจะเป็นการจัดตั้งจากสมาคมทีวีดิจิทัล ซึ่งจะต้องให้แล้วเสร็จภายในเดือน ต.ค.2562 นี้
“องค์กรกลางเป็นคนเลือกเอง ว่าจะเอาใครมาจัดทำเรทติ้ง ซึ่งสมาคมทีวีดิจิทัลจะเป็นคนจัดองค์กรกลางนี้ กสทช.มีหน้าที่กำกับดูแลการใช้เงิน ว่าใช้อะไรอย่างไรบ้างประมูลทีวีดิจิท้ลที่ประมูลนี้ เราเอาเทคโนโลยีมาใช้ ใบอนุญาตมา 15 ปี เพราะฉะนั้น ดังนั้นเราเอาไลเซ่น 15 ปี ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ดังนั้นก็ช่วยกัน ในหลายๆ ประเทศพูดๆ กันเรื่องพวกนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ช่วยๆ กันหาแนวทางแก้ไข กสทช.จะช่วยตามม.44 กรอบวงเงิน เดิมในนามของสมาคมฯ วันนี้เราอยากจะรับฟังในหลายๆ ฝ่าย ได้พิจารณาว่ารายใหนดีที่สุด เรารับฟัง สิ่งไหนที่ดีที่สุด ม.44 ตามกฏหมายว่างัย เอาตามนั้น” นายฐากร กล่าว
นายสมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ บรอดคาสติ้ง จำกัด เปิดเผยว่า จุดเด่นของพีเอสไอ มีกล่องที่กระจายอยู่แล้ว ซื้อในกล่องดาวเทียม ติดตั้งซอฟต์แวร์ ซึ่งปัจจุบันมีกล่องดาวเทียมพีเอสไอ อยู่จำนวน 1.35 แสนกล่อง โดยจะสามารถวัดเรทต้ิง ผู้ชมได้แบบเรียลไทม์ และกระจายอยู่ในทุกภาคทั่วประเทศ และใช้เงินต่ำกว่า 431 ล้านบาท
นายสินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการธุรกิจมีเดีย บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัท ทำได้ทั้งวัดเรทติ้งผ่านจอทีวีและดิจทัลแพลตฟรอืม เงื่อนไขที่เสนอ ถ้าให้เงินสนับสนุนน 430 ลบ. กสทช.ไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่มเลย
นางวรรณี รัตนพล สมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA กล่าวว่า วิธีการทำเรทติ้ง มี 2 แพนเนล มีทีวี ดิจิทัล ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ เก็บข้อมูลผ่านมิเตอร์ ข้อแตกต่าง ราคาฟิกไพรส์ ใน 5ปี สำหรับประโยชน์ที่ได้รับ กสทช. ได้ข้อมูล 5ปี ฟรี ไม่ต้องเสีย และได้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น ในช่องสาธารณะเก็บค่าใช้จ่ายครึ่งหนึ่ง สามารถให้ข้อมูลย้อนหลังแก่ มหาวิทยาลัย ข้อมูลและซอฟต์แวร์ 12-15 เดือน โครงการนี้ทำร่วมกับสมาคมทีวีดิจ
อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ มีพาร์ทเนอร์ ระดับโลกอยู่ในตลาดนาน และเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่งจะสามารถวัดเรทต้ิงทั้งทีวีและดิจิทัลคอนเทนต์ ถ้าหากอุตสาหกรรมเห็นชอบ ก็สามารถทำได้ใน 5 ปี
นายพัฒนพงค์ หนูพันธ์ กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7) กล่าวว่า ประเด็นแรก คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ เทคโนโลยี ความพร้อม เราควรจะพิจารณาความพร้อมอันนี้เป็นอันดับแรก ส่วนประเด็นที่สอง ตอนนี้อุตสหกรรมเดือดร้อน เงินจำนวน 431 ล้านบาท ถ้าเงินนี้เข้ามาที่รายใดก็แล้วแต่ควรช่วยอุตสาหกรรม ถ้าเงินก้อนนี้เข้ามาช่วยสนับสนุน และช่วยให้อุตสาหกรรมดีขึ้น ก็น่าจะพิจารณาใน 3 รายนี้ คือผู้เข้ามา 3 หลักเกณฑ์นี้ ควรจะเป็นข้อพิจารณา
นายประวิทย์ มาลีนนท์ อดีตผู้บริหาร ช่อง 3 กล่าวว่า 2 เรื่อง 1. ในการพิจรชารณาหรือคัดเลือก น่าจะเป็นหน้าที่คนที่ใช้ตัวเลขที่เยอะที่สุดคือเอเยนซี่ แต่ว่าการใช้ประโยชน์ได้สูงสุดคือเอเยนซี่ 2. ตอนนี้ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติที่ผ่านมาก็ควรเปลี่ยนแปลง คนที่มีภาระต้องจ่ายเพื่อเอาตัวเลขมาทำงาน ตอนนี้ในมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เห็นสภาพเดิม ตอนนี้รายได้เหลือ 1 ใน3ที่เคยมี จากนี้ไปก็ไม่ราบรื่น กลางทางอันนี้ต้องล้มเหลว อันนี้เป็นปัญหาของ กสทช. ผมคิดว่าเรทติ้งเป็นตัวช่วยตัวหนึ่งที่จะให้ผู้ประกอบการไปตลอดรอดฝังได้ หรือไม่ตัวเลขทีสะท้อน
“ทุกคนนี้ที่อยู่ในอุตสาหกรรณ นี้แสดงความห่วงใยมากมาก เข้าใจ กสทช. จะเป็นคนจัดให้มีเรทติ้งขึ้นมา เข้าใจว่าเป็นภาระของ กสทช. ในตอนนั้นเราก็มีสามารถพอที่จะทำ ต้องมี 8 ลบ.ต่อปี ตอนนี้หมดสภาพแล้ว ก็แสดงว่าต้องใช้เงินปีละ 120 ลบ. กสทช.จะรับเงินตรงนี้ไปได้มั้ย จริงๆ เป็เงินไม่ได้มาก ตัวเลขที่ผมคำ 10 ปี 1,200 ลบ.ข้อมูลนี้มีมากมายที่ กสทช.จะเอาไปใช้งาน เอาไปใช้เรื่องความมั่นคงได้เยอะแยะ เราปลดแอก ดิสรัปชั่น ดิจิทัลทีวี คนที่จะเป็นรายต่อไป ระหว่างเอเจนซี่ กับบริษัท ที่ทำตัวเลข ผลกระทบรุนแรงจะเกิดขึ้น ม้นมีเทคโนโลยีอีกเยอะที่จะสามารถมีข้อมูลเรทติ้งพวกนี้อยู่ในมือ” นายประวิทย์ กล่าว
นายไตรรุจน์ นวะมะรัตน นายกสมาคมมีเดียเยนซี่และธรุกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MATT) กล่าวว่า ถ้า ปัญหาทุกวันมีปัญหาเยอะมากและไม่ได้รับการแก้ไขมาเป็นเวลาช้านาน เป็นเวลา 5 ปี ที่พัฒนา เป็นคนที่ใช้ที่เลือกให้เป็น MRDA เพราะฉะนั้นจะเห็นข้อแตกต่าง 1.ไม่หากำไร 2 เราทุกคนเป็นเจ้าของข้อมูล เจ้าอื่นข้อมากต้องจ่ายขึ้น เพิ่มขึ้นทุกปี แก้จุดบอดทั้งหลายแหล่ที่เกิดมาเป็นเวลา 20 ปี
นายสุภาพ คลีขจาย นายกสมาคมทีวีดิจิทัล เปิดเผยว่า หลังจากนี้จะไปประชุมกับสมาชิกเพื่อวางเงื่อนไขการคัดเลือกบริษัท จัดทำเรทติ้ง เบื้องต้น สมาคมฯ จะเป็นผู้เลือกองค์กรกลาง โดยมีเงื่อนไขหลักๆ คือ 1.จะต้องไม่เป็นองค์กรที่ไม่เลือกแสวงหาผลกำไร ซึ่งทำให้องค์กรสาธารณะ สถาบันการศึกษา นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ 2.และเป็นข้อมูลที่เอเยนซี่ จะเลือกใช้ในการวางแผนสื่อโฆษณา
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี