“กสทช.” เผย ไร้หน่วยงานกำกับดูแล กิจการอวกาศ แนะตั้งสเปซเอเจนฯ ลุย เร่งคลอด พ.ร.บ.กิจการอวกาศ ขานรับ“เศรษฐกิจอวกาศใหม่” หลัง มาเล - เวียดนาม แซงโค้ง เดินหน้าธุรกิจอวกาศเต็มสูบ
แหล่งข่าวระดับสูงจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในหลายประเทศทั่วโลกเริ่มมีการตื่นตัวและหันมาพัฒนาธุรกิจใหม่ในอนาคตของอวกาศ ที่เรียกว่า เศรษฐกิจอวกาศใหม่ หรือ นิวสเปซ อีโคนามี่ (New Space Ecomomy) โดยหลังจากรัฐบาลสหรัฐยุค นายบารัค โอบามา ได้ประกาศให้กิจการอาวกาศ ซึ่งการเปลี่ยนธุรกิจจากนอกโลกอย่างการสื่อสารผ่านดาวเทียมในแบบอวกาศยุคเก่า (Old Space) สามารถทำธุรกิจในเชิงพาณิชย์ได้ มาเป็นยุคของโลกอวกาศยุคใหม่ (New Space) และอวกาศ เดิมเป็นเรื่องของความมั่นคงเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตามในเศรษฐกิจอวกาศใหม่ จะมีธุรกิจหลายๆ ประเภทในอวกาศ จะประกอบด้วย 1.การให้บริการธุรกิจดาวเทียมสื่อสาร ที่ไม่จำเป็นต้องมีวงโครจรประจำที่ แต่สามารถใช้วงโคจรและยิงดาวเทียมได้ไกลกว่าเดิมทั้่วโลกในอวกาศ โดยในขณะนี้ ธุรกิจดาวเทียมสื่อสารในอวกาศ มีบริษัท อะเมซอน (amazon.com ) เริ่มดำเนินการแล้ว 2.สถานที่ยิงจรวดอวกาศ หรือ สเปซ รอนท์ชิ่ง (Space launching) โดยเมื่อต้นปี 2562 มาเลเซีย ได้ประกาศสถานที่ยิงจรวดแล้ว 3. การขุดอวกาศ หรือ สเปซ ไมด์นิ่ง (Space mining) โดยการส่งหุ่นยนต์ขึ้นไปสำรวจบนอวกาศที่เป็น ทรัพยากรอวกาศ ที่สำคัญเป็นทรัพย์สินของประเทศนั้นๆ ที่เป็นผู้สำรวจพบ 5. การท่องเท่ียวอวกาศ หรือ สเปซ ทัวร์ การทำธุรกิจทัวร์ไปแตะอวกาศ สุดท้ายก็จะเป็นการนำท่องเที่ยวอวกาศ
ทั้งนี้ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแล ในเรื่องของ กิจการอวกาศ โดยในแต่ละประเทศจะต้องมีฏกหมายขึ้นมารองรับเศรษฐกิจอวกาศใหม่ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการพยายามที่จะผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.กิจการอวกาศ ขึ้นในสมัยที่มี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เป็นรองนายกรัฐมนตรี สมัยนั้น แต่ก็ไม่สำเร็จ ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจอวกาศใหม่ได้ ในขณะที่หลายๆ ประเทศแถบเอเชีย ได้มีการพัฒนาไปบ้างแล้ว ส่วนในประเทศทางยุโรป มีาการกระต้นการพัฒนาเศรษฐกิจอวกาศใหม่ และเข้าไปทำกิจกรรมเชิงพาณิชย์กำหนดนโยบายและขยายการลงทุนเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยจำเป็นต้องมีหน่วยงานรัฐที่มากำกับดูแลเรื่องกิจการอวกาศ โดยเฉพาะ ส่วนคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นเพียงหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องดาวเทียมสื่อสาร และขอใช้สิทธิวงโครจร เพียงอย่างเดียว การจองสิทธิวงโคจร และความถี่ เป็นหน้าที่ของ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู ส่วนการขอใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) การยิงดาวเทียม เป็นของ สหประชาชาติ ดังนั้นประเทศไทยจะต้องหน่วยงานภาครัฐที่ดูเกี่ยวกับอวกาศ โดยตรง หรือเรียกว่า สเปซ เอเจนซี่ (Space agency)
“ร่างพ.ร.บ.อวกาศ ยังไม่สำเร็จ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ เพราะต่างประเทศตื่นตัวและให้ความสำคัญมาก กิจการดาวเทียม การเช่าวงโครจร มันแคบไปแล้ว คิดแต่เรื่องวงโครจร ความจริงแล้ววงโครจรไม่ใช่ของประเทศไหนเลย ความถี่บนอวกาศก็ไม่ใช่ของประเทศใดๆเลย ดังนั้นจำเป็นต้องมีหน่วยงานกำกับดูแลด้านกิจการอวกาศ ที่จะต้องเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มากำกับดูแลด้านเศรษฐกิจ เพราะเรามีเจตนาที่จะทำในเชิงพาณิชย์ ต้องมีหน่วยงานกลางกำกับ ให้มีการแข่งขัน มีเอกชนลงทุน และเกิดการจ้างงาน ซึ่งตอนนี้ มาเลเซีย และเวียดนาม กำลังทำสถานที่ยิงจรวด แล้วประเทศไทยกำลังทำอะไรอยู่ เราจะช้ากว่าเค้าในทุกๆด้าน” แหล่งข่าวกล่าว
พล.อ.ท. ธนพันธ์ หร่ายเจริญ รองเลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า การประชุมร่วมกับองค์กรโทรคมนาคมแห่งเอเชียแปซิฟิก (เอพีอี) ที่มีสมาชิก 38 ประเทศเข้าร่วม ได้มีการพูดคุยในเรื่องกิจการอวกาศเช่นเดียวกัน แต่กสทช.ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลในเรื่องดาวเทียมสื่อสาร และคลื่นความถี่ ยังไม่ได้มีการเสนอประเด็นอะไร เนื่องจาก กสทช.ไม่มีหน้าที่ โดยประเทศไทยอยู่ระหว่างการเสนอร่างพ.ร.บ.กิจการอวกาศฯ อยู่ในขณะนี้
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี