นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่าภาวะหนี้สินครัวเรือนในไตรมาส 1 ปี 2564 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีมูลค่า 14.13 ล้านล้านบาท ขยายตัว 4.6% เทียบกับ 4.1% ในไตรมาสก่อนหรือคิดเป็นสัดส่วน 90.5 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) การขยายตัวของหนี้สินครัวเรือนส่วนหนึ่งมาจากมาตรการเลื่อนและพักชำระหนี้ที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างไม่ลดลง รวมทั้งครัวเรือนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 มีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น
หนี้สินเพื่อการอุปโภค-บริโภคส่วนบุคคลของครัวเรือนเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต โดยในไตรมาส 1 ปี 2564สินเชื่อเพื่อการอุปโภค-บริโภคส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น6.5% สูงสุดในรอบ 5 ไตรมาสนับตั้งแต่ไตรมาสหนึ่ง ปี 2563 จากการขยายตัวของสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อบัตรเครดิตที่ขยายตัวเร่งขึ้นโดยสินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัว 6.0% เพิ่มขึ้นมากจากการหดตัว 1.3% ในไตรมาสก่อน ตามสภาพเศรษฐกิจที่ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2564เริ่มฟื้นตัวและประชาชนใช้จ่ายมากขึ้น บางส่วนเป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันผ่าน Online Platform และบัตรกดเงินสด
สินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ขยายตัว 6.0% เพิ่มจาก 5.3% ในไตรมาสก่อนจากมาตรการกระตุ้นการขายของผู้ประกอบการและมาตรการลดค่าโอนจำนองของภาครัฐสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้น 6.0%ขณะที่สินเชื่อเพื่อยานยนต์ขยายตัว 2.3% ชะลอตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับ 3.3% ในไตรมาสก่อน คุณภาพสินเชื่อด้อยลงและสินเชื่อหลายประเภทมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
สัดส่วนหนี้เพื่อการอุปโภค-บริโภคที่ไม่ก่อให๎เกิดรายได๎ (NPLs) ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.92% เพิ่มขึ้นจาก 2.84% ในไตรมาสก่อนความสามารถในการชำระหนี้ด้อยลงเกือบทุกประเภทยกเว้นสินเชื่อที่อยู่อาศัยสะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนมีความสามารถในการหารายได้ลดลงสถานะทางการเงินเปราะบางมากขึ้นอย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินได้ช่วยเหลือครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ลดภาระทางการเงิน และชะลอการเสื่อมถอยคุณภาพของสินเชื่อ ป้องกันการเป็น NPLs การติดเครดิตบูโร รวมทั้งการฟ้องร้องคดีในศาล
ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะต่อไป ได้แก่
1.ผลของมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เดิม และการออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม จากสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ล่าสุดได้ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ อาทิ มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ มาตรการพักชำระหนี้ 2 เดือน โดยในระยะถัดไปต้องเร่งรัดให้เร็วขึ้นเพื่อประคับประคองสถานะทางการเงินของครัวเรือนให้ผ่านวิกฤตไปได้ โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจนไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติให้เป็นหนี้เสียและป้องกันการฟ้องร้องคดี รวมถึงยึดทรัพย์ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากสถาบันการเงิน แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดพฤติกรรมที่ทำให้ลูกหนี้ดีไม่ชำระหนี้ตามปกติ
2.รายได้ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน และการก่อหนี้นอกระบบ แม้ว่าสัดส่วนสินเชื่อ NPLs ของสินเชื่อเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในไตรมาส 1 ปี 2564 จะเพิ่มขึ้น 2.92%แต่จากการระบาดระลอกใหม่ จะส่งผลกระทบต่อรายได้และฐานะการเงินของครัวเรือนโดยเฉพาะครัวเรือนที่มีความเปราะบางเพิ่มขึ้นซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ หรือนำไปสู่การเกิด NPLs เพิ่มขึ้น ประกอบกับการชะลอการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ อาจทำให้หันไปก่อหนี้นอกระบบ จึงควรมีมาตรการรักษาการจ้างงาน ควบคู่กับการปรับโครงสร้างหนี้ โดยอาจใช้กลไกสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเป็นการเฉพาะ
3.การเฝ้าระวังกลุ่มมิจฉาชีพฉวยโอกาสหลอกลวงการให้สินเชื่อผ่าน Online Platform เก็บอัตราดอกเบี้ยสูงกว่ากฎหมายกำหนด ถูกติดตามทวงหนี้ด้วยมาตรการที่รุนแรงได้จึงควรเร่งรัดให้เจ้าหนี้ที่ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้เข้ามาควบคุมดูแลให้เข้มงวด ล่าสุดได้ประกาศกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการทวงถามหนี้ฉบับใหม่เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ให้ได้รับความเป็นธรรมอาทิ คําธรรมเนียมไม่เกิน 50 บาทต่อรอบการทวงถามหนี้ในกรณีค้างชำระ 1 งวด โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2564ขณะเดียวกันประชาชนควรตรวจสอบรายชื่อและรายละเอียดของผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อภายใต้การกำกับที่ได๎รับอนุญาตตามกฎหมาย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี