นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขการส่งออกเดือนพฤศจิกายน 2564 มีมูลค่า 23,647.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น24.7% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 นับตั้งแต่มีนาคม 2564 คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 783,425 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่า22,629.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.5% เกินดุลการค้ามูลค่า 1,018.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และการส่งออกในช่วง 11 เดือนของปี 2564 (มกราคม-พฤศจิกายน) มีมูลค่ารวม 246,243.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.4% คิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 7,731,391 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่ารวม 242,315.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.4% เกินดุลการค้ารวม 3,927.3 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับการส่งออกในเดือนพฤศจิกายน 2564 พบว่า หมวดสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้น 14.2% เป็นบวก 13 เดือนติดต่อกัน สินค้าสำคัญที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น เช่น ทุเรียนสด เพิ่ม 138.9% ขยายตัวดีมากในตลาดจีนและเกาหลีใต้ มะม่วงสด เพิ่ม 48.6% ขยายตัวดีในตลาดมาเลเซีย เกาหลีใต้ เมียนมา ญี่ปุ่น และสปป.ลาว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เพิ่ม 48.6% บวก 13 เดือนต่อเนื่อง ขยายตัวดีในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้และมาเลเซีย ลำไยสด เพิ่ม 24.7% เป็นบวก 6 เดือนต่อเนื่อง ขยายตัวดีในตลาดจีน ฮ่องกง เวียดนาม มาเลเซียและฟิลิปปินส์ และยางพารา เพิ่ม 23.5% เป็นบวก 14 เดือนต่อเนื่อง
หมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่มขึ้น 21.2% ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่อง สินค้าสำคัญ เช่น น้ำตาลทราย เพิ่ม 74% ผลไม้แช่เย็นแช่แข็งกระป๋องและแปรรูป เพิ่ม 34.5% บวกเดือนที่ 2 ติดต่อกัน และอาหารสัตว์เลี้ยง เพิ่ม 25.9% บวกเป็นเดือนที่ 27 และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม23.1% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือนติดต่อกันสินค้าสำคัญ เช่น สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น เพิ่ม 72.9% เป็นบวก 10 เดือนต่อเนื่อง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เพิ่ม 51.9% เป็นบวก 12 เดือนต่อเนื่อง อัญมณีและเครื่องประดับ เพิ่ม 24.9% เป็นบวกเดือนที่ 9 ติดต่อกัน แผงวงจรไฟฟ้า เพิ่ม 26.7% บวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 คอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่ม 19.9% บวก 12 เดือนต่อเนื่อง รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เพิ่ม 12% บวก 13 เดือนต่อเนื่อง
เฉพาะเรื่องการตลาด ขยายตัวสูง10 อันดับแรกประกอบด้วยเอเชียใต้ขยายตัว 66% อาเซียนขยายตัว 55.1% ตะวันออกกลางขยายตัว 40.7% เกาหลีใต้ขยายตัว 30.6% สภาพยุโรปขยายตัว 30.2% รัสเซียและกลุ่มประเทศ CSI ขยายตัว 27.3% จีนขยายตัว 24.3% ไต้หวันขยายตัว 24.2% สหรัฐฯ ขยายตัว 20.5% และทวีปแอฟริกาขยายตัว 18.4%
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การส่งออกเดือนพฤศจิกายน 2564 ดีขึ้นถึง 24.7% มาจากการส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ในทุกรูปแบบร่วมกับภาคเอกชนในรูป กรอ.พาณิชย์ (คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์) การบริโภคฟื้นตัวต่อเนื่องในหลายประเทศ การขยายตัวของภาคการผลิตทั่วโลก ดัชนี PMI (ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก) อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ส่งผลให้ขายดีขึ้น ค่าเงินบาทยังอ่อนค่าอยู่ ช่วยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาได้ในตลาดโลก และการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งสินค้าเกษตร น้ำมันดิบ โลหะ เป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออก ทำให้ราคาในตลาดโลกสูงขึ้น
ส่วนทิศทางการส่งออกในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 15-16% ขณะที่มูลค่าการส่งออกจะอยู่ที่ 268,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8 ล้านล้านบาท
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี