นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ที่ได้สั่งการให้หาช่องทางการทำตลาดให้กับสินค้าในกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารของไทย เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออก โดยล่าสุดได้รับรายงานจากผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ถึงโอกาสในการทำตลาดสินค้าที่มีศักยภาพในตลาดญี่ปุ่น และกลยุทธ์ในการเจาะตลาดญี่ปุ่น
สำหรับที่มีโอกาสในการทำตลาดในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ ผลไม้ไทย เช่น มะม่วงดิบ มะม่วงสุก มะพร้าวสด มังคุด ทุเรียน (ทั้งลูก) ทุเรียนแกะ เนื้อ (แช่เย็น) มะขามสด เป็นต้น สินค้าจำพวกอาหารพร้อมทาน เช่น แกงเขียวหวาน ผัดกะเพรา แกงแดง มัสมั่น แกงไทยต่าง ๆ รวมถึงขนมขบเคี้ยว เช่น ข้าวเกรียบกุ้ง ขนมอบกรอบผสมถั่ว หิมพานต์รสต้มยำกุ้ง ตลอดจนเครื่องปรุง อาหารไทยกึ่งสำเร็จรูป เช่น เครื่องปรุงทำต้มยำ ชุดทำอาหารไทยที่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่น เช่น ผัดไทย ต้มยำ ยำวุ้นเส้น เป็นต้น
ช่องทางการจำหน่ายมีหลายช่องทางได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น AEON, Beisia, Seijo Ishi , Yaoko เป็นต้น ร้านปลีกขนาดใหญ่ เช่น ดองกี้โฮเต้ ร้านขายยาและสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น Sundrug , Matsumotokiyoshi เป็นต้น ร้านอาหารไทย ร้านจำหน่ายสินค้านำเข้าเฉพาะทาง เช่น Kaldi และช่องทางออนไลน์ เช่น Amazon , Rakuten , Yahoo Shopping เป็นต้น ส่วนมากสินค้าจะผ่านบริษัทนำเข้า บริษัทค้าส่ง หรือบริษัทจัดหาสินค้าและบริการซึ่งมากระจายสินค้าต่อไปตามช่องทางค้าปลีกข้างต้นอีกทอดหนึ่ง
นายกิตติวัฒน์ ปัจฉิมนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว กล่าวว่า สำนักงานฯ มีแผนที่จะจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าเกษตรและอาหารไทยร่วมกับห้างสรรพสินค้า ชูเปอร์มาร์เก็ต ตลอดจนร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ทั้งในเมืองหลักและเมืองรองในประเทศญี่ปุ่น
ช่องทางการส่งออกสินค้าอาหารเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่น จะมีกระบวนการที่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบหลายขั้นตอน การที่ผู้ประกอบการไทยจะทำทุกกระบวนการด้วยตนเอง ตลอดจนการหาช่องทางในการกระจายสินค้านั้น อาจทำได้ยาก วิธีที่ง่ายและมีความเป็นไปได้มากที่สุด ก็คือ การหาผู้นำเข้าสินค้าและดำเนินเอกสารต่าง ๆ ให้แต่ผู้ส่งออกต้องมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำเข้าและผู้บริโภค เช่น โรงงานที่ผลิตผ่านมาตรฐาน ISO , GMP หรือ HACCP เป็นต้น ส่วนตลาดสินค้า Organic จำเป็นต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน JAS ก่อน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่สูงพอควร ผู้ประกอบการควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการตัดสินใจยื่นขอ และการหาคู่ค้าสำหรับสินค้าของตนก็เป็นสิ่งที่สำคัญ การเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการค้าต่าง ๆ ตลอดจนงานเจรจาธุรกิจที่กรมฯจัดก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจซึ่งผู้ส่งออกควรติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการบุกตลาดญี่ปุ่น
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี