นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่าผลดำเนินงานช่วงไตรมาส 1/2565 ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อ 40,593 รายอนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 48,149 ล้านบาท อนุมัติหนังสือค้ำประกัน 41,223 ฉบับ โครงการค้ำประกันสินเชื่อสูงสุด 3 ลำดับ ได้แก่ 1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อตาม พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟูระยะที่ 2 สัดส่วน 44% 2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. สร้างชาติหรือ PGS 9 ดีแน่นอน สัดส่วน 40% 3.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ ไมโคร 4 รายเล็กเสริมทุน สัดส่วน 4%
บสย. มีสัดส่วนให้การค้ำประกันสินเชื่อผ่านธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 73% และสถาบันการเงินของรัฐอยู่ที่ 27% ประเภทธุรกิจที่ค้ำประกันสูงสุด 5 ลำดับแรก คือ 1.ธุรกิจบริการ อาทิ รับเหมาก่อสร้าง ขนส่ง โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร 13,000 ล้านบาท (28%) 2.ธุรกิจการเกษตร อาทิ เกษตร ปศุสัตว์และประมง 5,500 ล้านบาท (11%) 3.ธุรกิจการผลิตสินค้าและการค้าอื่นๆ 5,300 ล้านบาท
(11%) 4.ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 4,400 ล้านบาท (9%) 5.ธุรกิจเหล็ก ผลิตภัณฑ์โลหะ และเครื่องจักร 3,000 ล้านบาท (6%)
กลุ่มธุรกิจที่มีความโดดเด่นด้านยอดค้ำประกันสินเชื่อ ในไตรมาส 1 คือ กลุ่มธุรกิจการเกษตร ได้แก่ กลุ่มธุรกิจ ผักผลไม้ ยางพารา ข้าวมันสำปะหลังและอ้อย ซึ่งขยายตัวถึง 30% เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปี 2564 ก้าวจากลำดับ 3ในปี 2564 มาเป็นลำดับ 2 ในปี 2565
นอกจากนี้ บสย. ยังได้ร่วมโครงการต่างๆ กับธนาคารและองค์กรพันธมิตร เพื่อร่วมกันสนับสนุนผู้ประกอบการผ่านมาตรการทางการเงิน ช่วยการเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ดังนี้
1.โครงการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG (BIO-Economy เศรษฐกิจชีวภาพ Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียน และ Green Economy เศรษฐกิจสีเขียว) ร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และธนาคารพันธมิตร เพื่อส่งเสริมสนับสนุนมาตรการทางการเงิน เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมร่วมกับธนาคารพันธมิตร สนับสนุนการดำเนินธุรกิจกลุ่มซัพพลายเช่นผู้ส่งออก
2.โครงการจับคู่ความร่วมมือสนับสนุนการค้ำประกันสินเชื่อร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย จับคู่ กู้พร้อมค้ำในโครงการ “สินเชื่อ SMEs Re-start” เติมทุนเสริมสภาพคล่อง ธุรกิจท่องเที่ยว และ Supply Chain
3.โครงการความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สนับสนุนการค้ำประกันสินเชื่อกลุ่มธุรกิจส่งออก ซัพพลายเชนโลจิสติกส์ และความร่วมมือค้ำประกันสินเชื่อแบบบุคคล เป็นต้น
สำหรับแผนดำเนินงานไตรมาส 2 บสย. พร้อมขับเคลื่อนกระตุ้นเศรษฐกิจช่วยผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูกิจการ เติมทุนเสริมสภาพคล่อง ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อต่างๆ รองรับผู้ประกอบการทุกกลุ่ม รวมวงเงิน 100,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Soft Loan Extra วงเงิน 90,000 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้เดิมตาม พ.ร.ก. Soft Loan 2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อเติมเต็มรายย่อย วงเงิน 8,000 ล้านบาท 3.โครงการค้ำประกันสินเชื่อจากธนาคารของรัฐ วงเงิน 1,000 ล้านบาท และ 4.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs Supply Chain Finance วงเงิน 1,000 ล้านบาท
“ในไตรมาส 2 นี้ บสย. ได้เตรียมโครงการความร่วมมือกับธนาคารต่างๆ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ ในรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงการขับเคลื่อนและเปิดตัวโครงการ Digital Transform ก้าวสู่องค์กรดิจิทัลอย่างเต็มตัว ด้วยบริการค้ำประกันสินเชื่อรูปแบบใหม่ที่จะเชื่อมโยงและเข้าถึงผู้ประกอบการ SMEs มากขึ้น”
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี