พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมเสวนา “ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” และกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “อดีต ปัจจุบัน อนาคต ของประเทศไทยที่ดีขึ้นกว่าเดิม” ณ รอยัล พารากอนฮอลล์ สยามพารากอน เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2565
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเกิดวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ว่าเป็นวิกฤตโลกครั้งที่ใหญ่ที่สุด ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการถดถอยทางเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลก แต่ไทยก็สามารถรับมือกับสถานการณ์โควิดได้ดีที่สุด เป็นลำดับต้นๆของโลก ต่อมาไทยก็ได้รับผลกระทบของวิกฤตจากความขัดแย้ง ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ว่า ส่งผลให้ราคาสินค้า ราคาพลังงาน ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น รัฐบาลได้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนผ่านมาตรการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนอยู่รอดอาทิ การช่วยเหลือเพื่อซื้อก๊าซหุงต้ม การช่วยเหลือค่าน้ำมันให้กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง การช่วยลดภาระค่าไฟฟ้า การตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล ตลอดจนการลดอัตราเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม เป็นต้น
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการดำเนินการภายหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายว่า ประเทศไทยต้องมี การลงทุนและเตรียมความพร้อมที่จะเติบโต ด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่อย่างครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่ ต้องมีการลงทุน 1. เทคโนโลยีดิจิทัล 2. อุตสาหกรรม การค้า การลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับการลดปริมาณคาร์บอน 3. นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) และ 4. ดำเนินการกำหนดมาตรการเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง ให้มาเป็นผู้พำนักระยะยาวในประเทศไทยเพื่อให้มาร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve ของประเทศไทย ส่งผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ผ่านการลงทุน การท่องเที่ยว รวมถึงการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าและบริการในประเทศ
ยิ่งไปกว่านั้น ในทุกโอกาสที่ได้พบปะผู้นำประเทศแบบทวิภาคี หรือการประชุมสำคัญๆ แบบพหุภาคี รัฐบาลนำเสนอนโยบายเชิงรุก และแสวงหาความร่วมมือใหม่ๆ ในประเด็นหลักที่เป็น “วาระของโลก” ซึ่งในปี 2565 นี้ ได้มีความคืบหน้าครั้งสำคัญ เช่น 1. การฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย 2. ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น 3. การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ
ดร.เศรษฐวุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ และปัญหาโควิด-19 แบงก์ชาติต้องดูแลให้สถาบันการเงินทำงานได้ตามปกติ สินเชื่อหดตัว ธุรกิจลำบาก ล่าสุด สินเชื่อไทยโตร้อยละ 6 นับว่ากลไกทางการเงิน ยังพอทำงานได้แต่ ยังไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มเอสเอ็มอี ที่ยังขาดสภาพคล่องได้ทั่วถึง และยังได้ไกล่เกลี่ยหนี้ การพักทรัพย์พักหนี้ หลังจากนี้ไป ธปท.ต้องหาทางทำอย่างไม่ให้ทุกส่วนสะดุด เพื่อเดินหน้าการลงทุน ทั้งปัญหา NPL อัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงจนกระทบต่อทุกฝ่าย ยืนยันว่าไทยไม่เจอปัญหา StragFlation อย่างแน่นอน เพราะธปท. ยังคาดว่า GDP เติบโตร้อยละ 3.2 ในปี 2565
ทั้งนี้ทุกฝ่ายต้องสร้างนิเวศให้มีความพร้อม รองรับการฟื้นตัวจากปัญหา เมื่อไทยแนวโน้มที่โดดเด่น ต้องสร้างโอกาสใหม่ให้เอกชน มุ่งด้านความปลอดภัยทางอาหาร เพราะไทยมีศักยภาพสูงมาก ต้องหาจุดเด่นมาส่งเสริม
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี