นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยหรือจีดีพีในไตรมาส 2 ของปี 2565 ขยายตัว 2.5% ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัว 2.3% ในไตรมาสก่อนหน้า เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2565 อยู่ที่ 0.7% รวมในครึ่งแรกของปีนี้เศรษฐกิจไทย ขยายตัว 2.4%
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัว 2.7-3.2% ปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการส่งออกสินค้าที่ ขยายตัวต่อเนื่อง คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. จะเพิ่มขึ้น 7.9% การอุปโภคบริโภค 4.4% และการลงทุนภาคเอกชน 3.1% อัตราเงินเฟ้อ ทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 6.3 – 6.8% และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 1.6% ของจีดีพี
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงและข้อจำกัดที่ต้องติดตาม ได้แก่ ความเสี่ยงจากการชะลอตัวมากกว่าที่คาดของเศรษฐกิจโลกและความผันผวนในตลาดการเงินโลก โดยมีเงื่อนไขความเสี่ยงที่ต้องติดตามและประเมินอย่างใกล้ชิด ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง ท่ามกลางแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของภาระดอกเบี้ย และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูง ขณะเดียวกัน ตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการระบาดของโรคฝีดาษลิง (Monkeypox)
ความเสี่ยงจากสถานการณ์อุทกภัย โดยยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดพายุขึ้นในช่วงปลายฤดูฝน ซึ่งจะนำไปสู่สถานการณ์อุทกภัย และส่งผลกระทบทั้งในพื้นที่การเกษตร พื้นที่อุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัยของประชาชน
“จากภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้ต้นทุนของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นนั้นแม้กระทรวงการคลังจะได้ขอความร่วมมือไปยังสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ให้ช่วยตรึงดอกเบี้ยไว้ให้นานที่สุด เพื่อลดผลกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้น และเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจไทยยังสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง”
สำหรับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปีนี้ควรให้ความสําคัญกับ 1.การติดตามและดูแลกลไกตลาด 2.การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร 3.การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้รายย่อยท่ามกลางแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย 4.การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้า 5.การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง 6.การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน 7.การขับเคลื่อนการใช้ จ่ายและการลงทุนภาครัฐและ 8.การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของ เศรษฐกิจและการเงินโลก และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเร่งตัวขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของภาคการผลิต โดยเฉพาะการผลิตภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและภาคการเกษตร
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี