คดีที่อาคารชุด “เดอะ เม็ท” ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเมื่อปีที่ผ่านมา กรณีที่มีการอนุมัติรายงาน EIA (รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม) ของโครงการอาคารชุด125 สาทร ซึ่งเป็นโครงการตึกสูง กำลังเดินหน้าต่อไป โดยศาลจะนัดวันสืบพยานในเร็ววันนี้
นางสาวชิดชนก เลิศอำพรไพศาล ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด “เดอะ เม็ท”กล่าวว่า “เจ้าของร่วมในโครงการเดอะ เม็ท อยากจะให้คดีนี้มีความคืบหน้าโดยเร็ว เนื่องจากโครงการ 125 สาทร น่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเร็ววันนี้”
ประเด็นที่น่าสังเกตคือ ในหลายคดีที่ผ่านมา แม้จะได้มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลเพื่อคัดค้านโครงการก่อสร้างอาคารชุดแล้ว แต่ผู้พัฒนาโครงการก็ยังสามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อไปในระหว่างที่คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งอาจใช้เวลาหลายปีกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ทำให้ผู้พัฒนาโครงการเป็นฝ่ายที่มีความได้เปรียบกว่าชุมชนที่ทำการคัดค้านโครงการนั้น ๆ ซึ่งนำมาสู่คำถามว่า โครงการเหล่านี้ได้รับอนุมัติรายงาน EIA และได้รับใบอนุญาตก่อสร้างได้อย่างไรทั้งที่ชุมชนในพื้นที่มีการคัดค้านอย่างรุนแรง
สำหรับโครงการ 125 สาทร นายโสภณ พรโชคชัย ประธาน บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส และกรรมการสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์สากล (FIABCI)ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “การก่อสร้างโครงการนี้ ซึ่งไม่เป็นไปตามสัญญาที่ผู้พัฒนารายก่อนและเจ้าของที่ดินได้ให้ไว้ว่าจะพัฒนาที่ดินหน้าโครงการ The Met เป็นอาคารแบบ low-riseจะทำให้มูลค่าของห้องชุดในอาคารชุด The Met ลดลง เนื่องจากจะบดบังทัศนียภาพ และส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหลายประการ” โดยนายโสภณ ได้เสนอว่า “โครงการ 125 สาทร ต้องยังไม่เริ่มการก่อสร้างจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา เพราะไม่เช่นนั้น ก็จะเกิดความไม่ชัดเจนซ้ำรอยกรณีของโครงการThe AETASHotel & Residence ซึ่งตั้งอยู่ในซอยร่วมฤดี 2และโครงการAshton Asoke”
ปัจจุบันผู้พัฒนาอาคารชุดนิยมออกแบบอาคารชุดให้มีจำนวนห้องชุดที่มากเหลือเชื่อบนพื้นที่ขนาดเล็ก ซึ่งทำให้เกิดคำถามในเรื่องการดูแลผังเมืองโดยกรุงเทพมหานคร โครงการ 125 สาทร อยู่บนถนนสาทร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการจราจรหนาแน่นมากที่สุดอันดับต้น ๆ ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน แต่ปัจจุบันยังไม่มีแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาการจราจรในพื้นที่ดังกล่าวแต่อย่างใด ชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตสาทรยังคงรอฟังว่ากรุงเทพมหานครมีวิสัยทัศน์อย่างไรในเรื่องการออกแบบผังเมืองอย่างยั่งยืน และจะกำหนดแนวทางแก่ผู้พัฒนาอย่างไรในการพัฒนาที่ดินอย่างมีความรับผิดชอบโดยคำนึงถึงข้อห่วงกังวลของชุมชนในพื้นที่ที่อยู่อาศัยมาก่อนเป็นสำคัญ ปัจจุบันดูเหมือนว่ากรุงเทพมหานครจะยังไม่มีแผนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อแก้ปัญหาการจราจรและการขนส่งมวลชนในสาทรซึ่งเป็นย่านธุรกิจที่มีการจราจรแออัดแต่อย่างใด
โครงการ 125 สาทร ถูกคัดค้านจากชุมชนในพื้นที่เนื่องจากรายงาน EIAสำหรับโครงการดังกล่าวได้รับอนุมัติทั้งที่ยังคงมีประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมหลายประการที่ชุมชนในพื้นที่มีความกังวลอย่างยิ่ง อีกทั้งยังคงมีประเด็นในเรื่องการปฏิบัติตามระเบียบของกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการใช้ที่ดินโดยโครงการดังกล่าว ประเด็นเหล่านี้ ศาลปกครองกลางจะพิจารณาตัดสินในที่สุด ซึ่งอาจใช้เวลาถึงปี 2566 หรือ 2567
ในระหว่างนี้ โครงการ 125 สาทร น่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง และหากศาลมีคำพิพากษาเป็นโทษต่อโครงการดังกล่าว อาคารที่ได้ก่อสร้างไปก็จะกลายเป็นอาคารร้างซึ่งเป็นภาพที่ไม่น่ามองสำหรับชุมชนดังกล่าวต่อไป ประเด็นนี้นำมาสู่คำถามว่า ผู้พัฒนาโครงการ 125 สาทร จะรอให้ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาก่อนหรือไม่ หรือจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างท่ามกลางความไม่แน่นอนจากการพิจารณาคดีดังกล่าว ?
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี