นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ กล่าวว่ากองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกองทุนที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และพัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพและขีดความสามารถสูงขึ้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 – 2566 ได้อนุมัติสินเชื่อแล้วกว่า 25,260 ล้านบาท จำนวนกว่า 13,650 ราย ก่อให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน การพัฒนาธุรกิจ ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 80,000 ล้านบาท
ในส่วนของการดำเนินงานขับเคลื่อนกองทุนสามารถตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ในด้านการสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศทั้ง S-Curve และ NewS-Curve เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันต่อยอดสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งการดำเนินการต้องใช้กลไกประชารัฐผ่านกระบวนการของหน่วยงานร่วมกัน ดำเนินการทั้งภาครัฐและเอกชนในแต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัดในรูปแบบของคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำจังหวัด เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้เพิ่มขึ้น
ที่ผ่านมากองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ได้ดำเนินโครงการสินเชื่อต่างๆ คือ ในปี 2560 ได้จัดทำโครงการสินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ปี 2561-2562 จัดทำโครงการฟื้นฟูและเสริมศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สำหรับ SMEs – คนตัวเล็ก ปี 2563 จัดทำโครงการสินเชื่อ SME โตไว ไทยยั่งยืน ปี 2564 จัดทำโครงการสินเชื่อเสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย และในปี 2565-2566 จัดทำ3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการสินเชื่อเพื่อฟื้นฟู SME โครงการสินเชื่อสร้างโอกาส เสริมสภาพคล่อง SME และโครงการสินเชื่อเพิ่มศักยภาพ SME
ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2566 มีวงเงินสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ ทั้งสิ้น 1,401.22 ล้านบาท จำนวน 678 ราย จากโครงการ ดังนี้ 1) สินเชื่อปี 2560 โครงการ
สินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ2) สินเชื่อปี 2564 โครงการสินเชื่อเสริมพลัง สร้างอนาคต SME ไทย 3) สินเชื่อปี 2565 ถึง 2566 โครงการสินเชื่อสร้างโอกาส เสริมสภาพคล่อง SME และโครงการสินเชื่อเพิ่มศักยภาพ SME เพื่อเป็นการช่วยเหลือ ผ่อนปรน ให้ผู้ประกอบการ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตและสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อเตรียมความพร้อมเปิดประเทศ รวมทั้งช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)
สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐมีกรอบวงเงินสินเชื่อรวม 3,500 ล้านบาท โดยได้ดำเนินโครงการสินเชื่อลดโลกร้อน (Decarbonize Loan) ภายใต้กรอบวงเงินสินเชื่อ 1,500 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินทุนสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการปรับปรุง หรือลงทุนในกิจการสำหรับการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร กระบวนการดำเนินงานในการดูแลสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ปัจจุบันมีผู้ประกอบการยื่นคำขอสินเชื่อแล้วกว่า 1,900 ล้านบาท จำนวน 158 ราย ซึ่งอาจจะขยายกรอบวงเงินเพิ่มเติมหากต้องการสูงขึ้น โดยใช้กรอบวงเงินที่เหลือ 2,000 ล้านบาท หรือนำมาเปิดโครงการสินเชื่อใหม่ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลเพื่อสนับสนุนให้ความช่วยเหลือเงินทุน เพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการต่อยอดพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี