นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต (MTL) เปิดว่า โดยปี 2566 มีเบี้ยประกันรับใหม่เติบโต 7 หมื่นล้านบาท
โดยปัจจุบันมียอดเบี้ยประกันในส่วน protection (ประกันชีวิตและสุขภาพ) ที่ราว 60% แต่ในปีนี้และปีต่อๆ ไปอยากขยายให้เป็น 70% ของเบี้ยประกันรวม ขณะที่เบี้ยประกันชีวิตรวมของ MTL ในปีนี้ก็น่าจะสอดคล้องกับทั้งอุตสาหกรรมเช่นกัน โดยทิศทางการดำเนินธุรกิจในปีนี้ว่าตั้งเป้าการเติบโตของเบี้ยประกันรับใหม่ที่กว่า 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยจะครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทั้งกลุ่มประกันชีวิต ประกันเกษียณ ตลอดจนสุขภาพและโรคร้าย
“ปี 2566 มีการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับใหม่ ในกลุ่มสินค้าหลัก อาทิ เบี้ยประกันภัยโรคร้ายแรงเติบโต 70% และ เบี้ยประกันภัยบำนาญเติบโต 13% ขณะที่ ด้านธุรกิจในภูมิภาค CLMV ยังมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างต่อเนื่องรวมถึงมีอัตราส่วนความเพียงพอของ เงินกองทุน ณ สิ้นปี 2566 สูงกว่า 300% ซึ่งสูงกว่าระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่หน่วยงานกำกับดูแล กำหนดที่ 140% ด้านความแข็งแกร่งและเสถียรภาพทางด้านการเงิน”
นอกจากนี้ MTL ได้รับการจัดอันดับความแข็งแกร่ง ทางการเงินจาก S&P Global Ratings ที่ระดับ BBB+ โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และยังได้รับการจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสากลและภายในประเทศจาก Fitch Ratings ที่ระดับ A และ AAA(tha) ตามลำดับ โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ ซึ่งถือเป็นอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน ระดับประเทศที่สูงที่สุดพร้อมรับรางวัลการันตีทั้งในด้านองค์กร ผลิตภัณฑ์ และบริการ ในระดับประเทศและระดับ สากล สะท้อนถึงการได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าและความสำเร็จในการดำเนินงานของบริษัทฯ
นายสาระ กล่าวอีกว่า เทรนด์การซื้อประกันฯในปี 2567 เรื่องสุขภาพจะเป็นตัวนำ ตอนนี้เริ่มเห็นบางกลุ่ม ถามหาความคุ้มครองชีวิตมากขึ้น ส่วนเรื่องของตัวแบบประกันในยุคเดิมที่เรียกว่า สะสมทรัพย์ ที่ให้ผลตอบแทนก็ยังคงมีอยู่ แต่แนวโน้มบริษัทประกันฯ จะทำน้อยลง เพราะตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 จะมีการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง สัญญาประกันภัย (TFRS 17) ซึ่งเป็นมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ ทำให้บริษัทประกันต้องบริหารแบบประกันที่ใช่มากขึ้น ดังนั้น ประกันฯ หมวดให้ความคุ้มครองชีวิต สุขภาพ โรคร้ายแรง จึงจะเป็นเทรนด์ของปีนี้ส่วนผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่แต่ละบริษัทจะออกมาก็คงจะเป็นไปตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งบริษัทประกันภัยต้องพยายามตอบโจทย์ของทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะเรื่องความสามารถชำระเบี้ยประกัน ตั้งแต่ไซส์เล็กไปจนถึงไซส์ใหญ่
ส่วนเรื่องกำลังซื้อในปัจจุบันไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากที่ผ่านมา เนื่องจากตระหนักถึงการทำประกันฯ มากขึ้น ยิ่งช่วงโควิดระบาด บริษัทประกันแต่ละแห่งก็ได้พัฒนาแบบประกันให้มีความหลากหลาย และตอบโจทย์ของผู้บริโภคทุกกลุ่ม นอกจากนี้ ปัญหาดอกเบี้ยสูง ไม่ได้ส่งผลกระทบกับเบี้ยประกัน โดยเบี้ยประกันคิดจากหลายด้าน ประกอบด้วย 1.อัตรามรณะกรรมของคนไทย ที่มีการเก็บทุกๆ 10 ปี หรือ 5 ปี รวมถึง คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) 2.อัตราดอกเบี้ย ซึ่งมีผลกระทบน้อย และ 3.ระบบต้นทุน เช่น เมื่อคนไทยอายุยืนขึ้น เบี้ยประกันก็จะถูกลง ผิดกับประกันสุขภาพ เบี้ยอาจจะสูงขึ้น เพราะเบี้ยไม่ได้ตายตัวขึ้นกับอายุ และมีบางตัวที่ไม่สามารถคอนโทรลได้
“อุตสาหกรรมประกันภัยยังต้องเผชิญความท้าทายรอบด้านไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก อัตราดอกเบี้ย เรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นไปตามวัฏจักร บริษัทประกันภัยก็จะต้องบริหารจัดการความเสี่ยง รวมถึงกฎเกณฑ์กฎหมายต่างๆ ที่ออกมา ทำให้บริษัทประกันต้องปรับตัวเยอะ โดยเฉพาะเรื่องมาตรฐานทางบัญชี”
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี