นายสมเกียรติ เมสันธสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์แอนด์ พาวเวอร์ หรือ WHAUP เปิดเผยแผนการขยายธุรกิจในปี 2567 ว่า บริษัทฯ เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจการลงทุนผ่านนวัตกรรมใหม่ๆ สู่การเติบโตอย่างยั่งยืนจากการต่อยอดธุรกิจทั้งภายใน และภายนอกนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึง การมองหาโปรเจกท์การลงทุนใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้า โดยตั้งเป้ารายได้ และส่วนแบ่งกำไรปกติรวม 5 ปี (2567-2571) ที่ 30,000 ล้านบาท พร้อมทั้งตั้งงบลงทุนภายใน 5 ปี ข้างหน้าไว้ที่ 21,200 ล้านบาท และยังคงรักษาอัตรากำไร EBITDA margin ที่ระดับไม่น้อยกว่า 50% ผ่านแผนยุทธศาสตร์ทางธุรกิจดังนี้
ธุรกิจสาธารณูปโภค (น้ำ) ในปี 2566 บริษัทฯ มีปริมาณยอดจำหน่ายและบริหารจัดการน้ำในประเทศไทยรวม 121 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นการเติบโต 4% โดยมาจากปริมาณยอดจำหน่ายน้ำดิบ 32 ล้านลูกบาศก์เมตรและปริมาณจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมูลค่าเพิ่ม 6 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ปริมาณยอดจำหน่ายและบริหารจัดการน้ำในเวียดนาม อยู่ที่ 34 ล้านลูกบาศก์เมตร เติบโตขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 18% สำหรับปี 2567 บริษัทฯ ตั้งเป้ายอดการจำหน่ายและบริหารจัดการน้ำทั้งหมดที่ 178 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็นยอดการจำหน่ายและบริหารจัดการน้ำภายในประเทศจำนวน 142 ล้านลูกบาศก์เมตร และในประเทศเวียดนาม จำนวน 36 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นอัตราการเติบโตกว่า 14% พร้อมทั้งพัฒนา Smart Water Platform ด้วยการนำ Artificial Intelligence(AI) เข้ามาประยุกต์ใช้ และมองหาโอกาสขยายธุรกิจใหม่ๆ เช่น โซลูชั่น ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีโครงการโรงผลิตน้ำและโรงบำบัดน้ำเสียต่างๆ ที่จะเริ่มทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) เพิ่มเติมเช่น โครงการในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล เอสเตท ระยอง (WHA IER) ซึ่งคาดว่าจะ COD ช่วงไตรมาส 2/2567 และโครงการส่วนขยายในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอระยอง 36 (WHA Rayong 36) ซึ่งคาดว่าจะ COD ได้ในช่วงไตรมาส 4/2567 โดยโครงการดังกล่าวมีกำลังการผลิตรวมกว่า 8.8 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี นอกจากนี้ ยังคงมองหาแหล่งน้ำดิบทดแทน เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านการจัดหาน้ำ และรองรับการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น
ธุรกิจพลังงาน บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าขยายการลงทุนด้านพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน โดยในปี 2566 มีการเซ็นสัญญาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(Solar Rooftop) กับลูกค้าอุตสาหกรรม (Private PPA) เพิ่ม 42 สัญญา หรือเท่ากับ 50 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ยังได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้สิทธิ์เป็นผู้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) เฟส 1 จำนวน 5 โครงการมีกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้น 125.4 เมกะวัตต์ ส่งผลให้ ณ สิ้นปี 2566 บริษัทฯ มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ารวมตามสัดส่วนการถือหุ้นจากโรงไฟฟ้าทุกประเภทอยู่ที่ 858 เมกะวัตต์ สำหรับปี2567 ได้ตั้งเป้าในการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าสะสมที่ลงนามสัญญาแล้วจากโรงไฟฟ้าทุกประเภทเป็น 1,000 เมกะวัตต์ คิดเป็นอัตราการเติบโตกว่า 17% จากปีก่อน ประกอบไปด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจำนวน 453 เมกะวัตต์ โดยเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ Private PPA จำนวน 283 เมกะวัตต์
นอกจากนี้บริษัทฯ วางแผนและทิศทางการดำเนินธุรกิจเพื่อเดินเกมรุกในการพัฒนานวัตกรรม และโซลูชันพลังงาน อาทิ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานไฟฟ้า (Peer-to-Peer Energy Trading) และการซื้อขายใบรับรองเครดิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (I-REC) รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในธุรกิจ New S-Curve เช่น ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ รวมทั้งการทำดีล M&A ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในปีนี้
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี