นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ระบุว่า เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ CLMV (ประกอบด้วย กัมพูชาสปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) มีแนวโน้มขยายตัวสูงท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดย IMF ได้คาดการณ์เศรษฐกิจโลก ปี 2567จะขยายตัว 2.9% (ชะลอตัวจากที่คาดการณ์การขยายตัวในปี 2566 ที่ 3.0% โดย กัมพูชา ขยายตัว 6.1% สปป.ลาว ขยายตัว 4.0% เมียนมา ขยายตัว 2.6% และเวียดนาม ขยายตัว 5.8%) ซึ่งกลุ่มประเทศ CLMV มีความสัมพันธ์กับไทยทั้งในมิติเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และมิติทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน อย่างไรก็ตามแม้จะมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ใกล้กันแต่ทุกประเทศมีนโยบายทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่มีลักษณะเฉพาะตัว การศึกษาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศจะช่วยสร้างโอกาสในการส่งออกสินค้าไทย ตลอดจนขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับภาครัฐและเอกชนในการจัดทำนโยบายและตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
สำหรับกัมพูชา ธนาคารโลกเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจของกัมพูชาขึ้นมาอยู่ในกลุ่มประเทศ Lower-Middle Income ในปี 2559 และ สหภาพยุโรปได้เริ่มกระบวนการเพิกถอนกัมพูชาจากสิทธิพิเศษทางการค้าEverything But Arms (EBA) รวมทั้งการจัดทำแผนแม่บทโลจิสติกส์เพิ่มขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ผ่าน 3 ระเบียงเศรษฐกิจ ส่วน สปป.ลาว มุ่งสู่เป็น Battery ofAsia ปัจจุบัน สปป.ลาว มีโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการแล้ว42 แห่ง มีรถไฟ สปป.ลาว-จีน เป็นจุดเปลี่ยนลักษณะภูมิประเทศจาก Land-locked เป็น Land-link เชื่อมต่อกับจีน และสหประชาชาติรับรองให้ สปป.ลาว หลุดพ้นจากประเทศด้อยพัฒนา
ขณะที่ เมียนมา ปี’62 ธนาคารกลางเมียนมาประกาศออกใบอนุญาตให้แก่ธนาคารต่างประเทศจํานวน 5-10 แห่งแต่การรัฐประหารเมื่อปี 2564 เป็นปัจจัยจำกัดการเติบโตที่สำคัญทำให้นักลงทุนต่างชาติย้ายฐานการผลิตจากเมียนมาไปยังประเทศจีนในช่วงปลายปี 2565 ส่วนเวียดนามมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมูลค่ากว่า 435,000 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในกลุ่ม CLMV มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของ e-Commerce ปี’65 มียอดการค้าบน e-Commerce กว่า 13,358 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีประชากรมากเป็นลำดับที่ 15 ของโลก (96.2 ล้านคน) โดย 70% อยู่ในวัยทำงาน การเมืองมีเสถียรภาพ ได้ประโยชน์จากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของตลาดแรงงาน
สำหรับโอกาสการค้าการลงทุนของไทยในกัมพูชา คือใช้ประโยชน์จากแผนแม่บทโลจิสติกส์ 2025ผ่านการส่งออกสินค้าไปยังกัมพูชาและประเทศที่ 3 เช่นเวียดนาม ซึ่งไทยสามารถลดต้นทุนทางการเงินและเวลาได้เฉลี่ย 20% โอกาสส่งออกผลไม้แปรรูปของไทยเพิ่มขึ้นความได้เปรียบจากการมีค่าแรงต่ำสุดในกลุ่มประเทศ CLMV จึงเหมาะกับอุตสาหกรรมที่เป็น Labor-Intensive ธุรกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ การแพทย์ พลังงาน เกษตรกรรม อสังหาริมทรัพย์ สำหรับเวียดนามนั้น การที่เวียดนามมุ่งหมายเป็นศูนย์กลางไอทีของ CLMV และ เป็นประเด็นที่ควรศึกษาความเป็นไปได้ เวียดนามเป็นตลาดขนาดใหญ่ ส่งผลให้มีกำลังซื้อสูงที่สุดในกลุ่มประเทศ CLMV และความท้าทายสำหรับการค้าและการลงทุนในเวียดนาม ได้แก่ ชาวเวียดนามไม่ได้มองว่าสินค้าไทยมีคุณภาพดีกว่าสินค้าที่ผลิตภายในประเทศหรือที่ซื้อจากประเทศอื่น ซึ่งแตกต่างกับ สปป.ลาว เมียนมา และกัมพูชา ที่มองว่า สินค้าไทยเป็นสินค้าระดับกลาง-ระดับบน
ส่วนสปป.ลาว คือการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานของ สปป.ลาว โดยใช้พื้นที่บริเวณจังหวัดมุกดาหารและจังหวัดหนองคายเชื่อมโยงไทยไปยังจีน ผ่านรถไฟ สปป.ลาว-จีน ทำให้การขนส่งผลไม้จากไทยไปจีนสะดวกขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลง รวมทั้งเป็นโอกาสของไทยในการขยายการลงทุนสาขาบริการธนาคารใน สปป.ลาว ผู้บริโภคมีความนิยมในสินค้าไทยโดยมองว่าเป็นสินค้าระดับบนที่มีคุณภาพ และนิยมข้ามพรมแดนมาจับจ่ายใช้สอยบริเวณชายแดนขณะที่ เมียนมา การเร่งส่งเสริมการค้าชายแดน เนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรงภายในประเทศส่งผลให้สินค้าอุปโภค-บริโภคขาดแคลน ชาวเมียนมาจึงเลือกข้ามแดนมาใช้จ่ายบริเวณตะเข็บชายแดน โอกาสของไทยในการเป็นตัวเลือกลำดับต้นหากนักลงทุนพิจารณาจะย้ายฐานการผลิตออกจากเมียนมา โดยไทยอาจให้สิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับนักลงทุนที่ย้ายฐานการผลิตจากเมียนมา
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี