นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เข้ามอบนโยบายให้กับผู้บริหารกรมสรรพสามิต โดยระบุว่าปรับนโยบายแนวทางจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิต ซึ่งหลังกระแสความนิยมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามติน้ำมันและรถยนต์ที่จากเดิมมีสัดส่วนรวมกันถึง 60% ของภาษีทั้งหมดของกรมสรรพสามิตจะค่อยๆ ลดลงและหดหายไป จึงมีนโยบาย “สรรพสามิต หัวหอก นำเศรษฐกิจสีเขียว” ด้วยการใช้ภาษีสรรพสามิตขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ เช่น การจัดเก็บภาษีความเค็ม ความหวาน จากอาหาร หรือขนม เครื่องดื่ม เพื่อดูแลสุขภาพ ช่วงที่ผ่านมาเก็บภาษีความหวาน ทำให้ผู้บริโภคลดอาหาร เครื่องดื่มความหวานลดลง จึงเดินหน้าพิจารณาจัดเก็บภาษีจากความเค็มเพิ่มเติม
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังส่งเสริมการจัดเก็บ ภาษี Carbon Tax จากผู้ประกอบการ หากสินค้าใดปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่อากาศจำนวนมาก จะเก็บภาษีมากขึ้น หากสินค้าใดช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม ช่วยรักษ์โลก สอดคล้องกับกระแสโลก จะเก็บภาษีลดลง รัฐบาลเตรียมเพิ่มเก็บภาษีเฟสแรก ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า แบ่งจัดเก็บเป็นแบบ ภาคสมัครใจ และภาคบังคับยืนยันประชาชน ผู้บริโภคทั่วไปไม่ได้รับผลกระทบเพื่อรองรับกระแสโลกยุคใหม่ดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดเก็บภาษีในรูปแบบใหม่
“ยังมอบหมายให้ กรมสรรพสามิตศึกษาแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามนโยบาย ครม.เศรษฐกิจ เบื้องต้น มุ่งขับเคลื่อนนโยบายสุราชุมชน ผลักดันการแก้ไขกฎหมาย โดยแบ่งกลุ่มตามขนาดการผลิต ทั้งผู้ผลิตสุรา รายใหญ่ เอกชนระดับกลาง ระดับเล็ก และสุราชุมชม ให้สามรถพัฒนาเป็นสินค้าส่งออกได้ รวมทั้งเพื่อใช้เป็นอีกกลไกรองรับนโยบายซอฟต์ พาวเวอร์ ของรัฐบาลในการส่งเสริมการท่องเที่ยว สุราชุมชนจึงมีโอกาสสร้างรายได้ในท้องถิ่น ขณะนี้มีร่างกฎหมายอีกหลายฉบับค้างอยู่ในสภา จึงเป็นเรื่องทุกฝ่ายร่วมกันพัฒนาชุมชน”นายจุลพันธ์กล่าว
ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศอธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า การใช้มาตรการภาษีสรรพสามิต Carbon Tax เพื่อรองรับกระแสโลกยุคใหม่ เตรียมใช้นโยบายดังกล่าว เป็นประเทศที่ 2 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ กรมสรรพสามิตสามารถออกมาตรการได้ ไม่ต้องยกร่างกฎหมายฉบับใหม่ เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลสุขภาพผู้บริโภค เนื่องจากกลุ่มยุโรป เตรียมเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษจาก CBAM ประมาณ 80 ยูโร/ตันคาร์บอน จากสินค้าที่ใช้วัตถุดิบจากเหล็ก อะลูมิเนียม ปุ๋ย
รวมถึงการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าโรงงานแบตเตอรี่ ธุรกิจรีไซเคิล ในประเทศ หากอุตสาหกรรมใดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะปรับลดภาษี เพื่อส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อม เช่น เดิมเก็บภาษีตามกระบอกสูบ (CC) เปลี่ยนมาเป็น รถปล่อยควันจำนวนมากเก็บภาษีสูงขึ้น หากเป็นรถไฟฟ้า เก็บภาษีน้อยลง เพื่อหวังใช้ภาษีเป็นแรงขับเคลื่อนอุตสาหกรรม เนื่องจากรถไฟฟ้าเติบโตสูงมากรถใช้น้ำมันจะลดน้อยลง เห็นได้จากค่ายรถยนต์ไฟฟ้ามาลงนาม MOU กับกรมสรรพสามิตผ่านมาตรการของรัฐ ทำให้มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในปี’66 จำนวน 76,000 คันอนาคตจึงใช้นโยบายภาษีดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นกลไกส่งเสริมภาคเอกชน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี