นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนพฤษภาคม 2567 เท่ากับ 108.84เทียบกับ เมษายน 2567 เพิ่มขึ้น 0.63%เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 เพิ่มขึ้น 1.54% เป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2และสูงสุดในรอบ 13 เดือน สาเหตุสำคัญจากการสูงขึ้นของค่ากระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยชั่วคราวจากฐานราคาที่ต่ำในปีก่อน เพราะเดือนพฤษภาคม 2566 มีมาตรการลดค่าไฟ และราคาน้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์ ปรับขึ้นตามราคาพลังงานในตลาดโลก รวมถึงผักสดและไข่ไก่ เนื่องจากสภาพอากาศร้อนส่งผลให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงส่วนสินค้าและบริการอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก และหากรวมเงินเฟ้อ 5 เดือนของปี 2567 (มกราคม-พฤษภาคม) ลดลง 0.13%
สำหรับเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม 2567 ที่เพิ่มขึ้น 1.54% มาจากการสูงขึ้นของหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1.13% จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญกลุ่มอาหารสด อาทิผักสด (ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ มะเขือ กะหล่ำปลี ขิง ผักชี) ผลไม้สด (มะม่วงองุ่น กล้วยหอม) ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียวไข่ไก่ และไข่เป็ด กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน (กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยวอาหารตามสั่ง ข้าวราดแกง) กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟผงสำเร็จรูปน้ำหวาน) และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำตาลทราย น้ำพริกแกง มะพร้าว (ผลแห้ง ขูด)) ขณะที่ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกรมะนาว ปลาทู น้ำมันพืช และกระเทียม เป็นต้น
ส่วนหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่ม 1.84% จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิง (แก๊สโซฮอล์ 91 95 และE20 น้ำมันเบนซิน 95) กลุ่มเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน) กลุ่มค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล (แป้งทาผิวกาย ยาสีฟัน ค่าแต่งผมสตรี) กลุ่มยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (สุรา บุหรี่ ไวน์)และมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ น้ำมันดีเซล ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว สบู่ถูตัวเสื้อยืดบุรุษและสตรี และเสื้อเชิ้ตบุรุษและสตรี เป็นต้น
ทางด้านเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนพฤษภาคม 2567 เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก เพิ่มขึ้น 0.08% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2567 และเพิ่มขึ้น 0.39%เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 เฉลี่ย 5 เดือน ปี 2567 (มกราคม-พฤษภาคม) เพิ่มขึ้น 0.42%
นายพูนพงษ์กล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 1-1.1% ชะลอตัวลงจากเดือนพฤษภาคม 2567 เพราะผลกระทบจากฐานราคาต่ำของค่าไฟฟ้าลดลง และเดือนพฤษภาคมมีการต่ออายุมาตรการลดค่าไฟของครัวเรือนอีก 4 เดือน(พฤษภาคม-สิงหาคม 2567) ราคาพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะผักสด มีแนวโน้มลดลง หลังสิ้นสุดสภาพอากาศร้อนจัดและเข้าสู่ฤดูฝน ผู้ประกอบการมีข้อจำกัดผ่านต้นทุนไปยังราคาขาย จากเศรษฐกิจที่อยู่ระดับต่ำ และมีการจัดโปรโมชั่นลดราคา
ทั้งนี้ ต้องจับตาราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศ ซึ่งปรับมาอยู่ที่ 33.00บาทต่อลิตร สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุน และต้องดูว่าจะมีการปรับเพดานราคาอีกหรือไม่ เนื่องจากน้ำมันมีสัดส่วน 9% ในการคำนวณเงินเฟ้อ และยังมีความไม่แน่นอนจากผลกระทบของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ อาจทำให้ราคาน้ำมันและค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตามแต่กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 อยู่ระหว่าง0.0-1.0% ค่ากลาง 0.5% เหมือนเดิม ซึ่งสอดคล้องกับหลายสำนักงานทางเศรษฐกิจที่ประเมินไว้
อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนเมษายน 2567 พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยสูงขึ้น0.19% ซึ่งยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 6จาก 129 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลขและอยู่ในระดับต่ำสุดในอาเซียนจาก7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (สปป.ลาวเวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียมาเลเซีย)
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี