นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า บีโอไอ ได้ร่วมกับคณะผู้แทนการค้าไทย เอกอัครราชทูตไทยและกงสุลใหญ่ประจำประเทศญี่ปุ่น จัดคณะโรดโชว์การลงทุนไปเยือนญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19 - 21 มิถุนายน2567 เพื่อจัดงาน“Thailand - JapanInvestment Forum 2024” ร่วมกับธนาคาร MUFG ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียวและนครโอซากา โดยมีนักลงทุนญี่ปุ่นเข้าร่วมงานกว่า 400 ราย จากหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ ดิจิทัล อุตสาหกรรมชีวภาพ และกลุ่มการเงินการธนาคาร นอกจากนี้ ยังได้จัดประชุมเจาะลึกรายอุตสาหกรรม และกิจกรรมให้คำปรึกษารายบริษัท (BOI Clinic) รวมทั้งการพบหารือกับบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
ทั้งนี้ปัจจุบันมีบริษัทญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยกว่า 6,000 บริษัท นับว่ามากที่สุดในอาเซียน และมีบทบาทสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมาตลอด ในช่วงเวลาที่โลกเผชิญความท้าทายใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างขั้วมหาอำนาจ ที่นำไปสู่สงครามการค้าและการปรับโครงสร้างซัพพลายเชนครั้งใหญ่ และวิกฤตโลกร้อนที่ทำให้ทุกฝ่ายมุ่งสู่การลดคาร์บอน ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งรองรับการลงทุนที่มีความโดดเด่นและเหมาะสมสำหรับนักลงทุนญี่ปุ่น เพราะสามารถตอบโจทย์ทิศทางใหม่เหล่านี้ได้ ด้วยข้อได้เปรียบ 10 ด้าน ได้แก่ 1. ระบบสาธารณูปโภค โลจิสติกส์ และนิคมอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ 2. โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ทั้งเครือข่าย 5G ดาต้าเซ็นเตอร์ระดับโลก และอัตราใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในระดับสูง 3.ซัพพลายเชนครบวงจร โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ 4.การเข้าถึงตลาดโลกผ่าน FTA ต่างๆ 5.บุคลากรที่มีคุณภาพ พร้อมพัฒนาทักษะไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ 6.การเปิดกว้างและอำนวยความสะดวกกลุ่มบุคลากรทักษะสูงจากต่างประเทศ 7.แหล่งพลังงานสะอาดที่มีศักยภาพ 8.ความเป็นกลาง เป็นพื้นที่ไร้ความขัดแย้ง 9.มีต้นทุนการประกอบธุรกิจที่เหมาะสม
10.ความน่าอยู่ของประเทศไทย
“บีโอไอมุ่งมั่นที่จะดูแลและสนับสนุนนักลงทุนญี่ปุ่น ให้เติบโตและขยายการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในเทคโนโลยีขั้นสูงหรืออุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เป็นเป้าหมายของประเทศ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ดิจิทัล และอุตสาหกรรมชีวภาพ รวมทั้งการดึงบริษัทญี่ปุ่นรายใหม่ๆ เข้ามาลงทุนเพิ่มเติม โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งกำลังมองหาฐานการผลิตแห่งใหม่ นอกจากนี้ เรายังสนับสนุนให้ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัยและพัฒนา และสำนักงานภูมิภาคอีกด้วย” นายนฤตม์ กล่าว
ทั้งนี้ ในงาน Investment Forum ครั้งนี้ บีโอไอ ได้นำเสนอมาตรการใหม่ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนญี่ปุ่นด้วย เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งครอบคลุมทั้งรถยนต์ ICE, HEV, PHEV และ BEV มาตรการส่งเสริมการย้ายฐานธุรกิจแบบครบวงจร มาตรการกระตุ้นการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ มาตรการยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่ Smart and Sustainable Industry มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เป้าหมาย เช่น EEC, ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาครวมทั้งการจัดตั้ง Startup Matching Fund ภายใต้กองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนความร่วมมือระหว่าง Startup ไทยกับญี่ปุ่นได้ด้วยในส่วนของกิจกรรมประชุมเจาะลึกรายอุตสาหกรรม(Roundtable Meeting) สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์มีผู้เข้าร่วมกว่า 80 ราย และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กว่า 30 ราย นอกจากนี้ ยังมีบริษัทที่มีแผนจะเข้ามาลงทุนในไทย ได้เข้าร่วม BOI Clinic เพื่อสอบถามข้อมูลเชิงลึกอีกกว่า 20 ราย แสดงให้เห็นถึงความสนใจอย่างจริงจังของการลงทุนในไทย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี