นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ในปัจจุบันของประเทศไทย การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสงครามต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผลกระทบวงกว้างต่อภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) และบทบาทของเศรษฐกิจดิจิทัลที่ก้าวกระโดด การปรับตัวให้เข้ากับกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้ฐานวิถีชีวิตใหม่ภาคอุตสาหกรรมจึงต้องเร่งพัฒนาศักยภาพตนเองโดยการเสริมสร้าง ยกระดับศักยภาพที่จำเป็นต่อเศรษฐกิจในอนาคต กระทรวงฯจึงกำหนดนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย ให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่จะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก
อีกทั้งยังเห็นถึงความสำคัญของการกระจายโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการในการเข้าถึงบริการการพัฒนาของกระทรวงฯให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ เสริมแกร่ง เพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และทุนทางวัฒนธรรมการเสริมสร้างศักยภาพและบริการผ่านระบบดิจิทัล เพื่อก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่านโครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ สู่การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้มีศักยภาพรองรับเศรษฐกิจวิถีใหม่ โดยนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมมูลค่าเพิ่ม โอกาสด้านการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในยุคเศรษฐกิจวิถีใหม่ สามารถสร้างรายได้ให้สูงขึ้นสู่การขับเคลื่อนเป็นฐานเศรษฐกิจใหม่ของประเทศได้อย่างแท้จริง
ที่ผ่านมากระทรวงฯสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 264 ล้านบาท ผ่าน 3 กิจกรรม ประกอบด้วย 1. กิจกรรมการพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ ความสามารถที่จำเป็น เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัล และสอดคล้องกับภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ ให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่เป้าหมาย ผ่านการอบรมที่มุ่งเน้นในสาขาและประเด็นที่สอดรับกับการพัฒนาในเชิงพื้นที่ มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม 849 คน โดยสร้างแบรนด์และจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ให้เป็นเอกลักษณ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลิตภัณฑ์แต่ละท้องถิ่นการฝึกฝนแนะนำสินค้าและการบริการให้ผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม การสร้างกลยุทธ์การสื่อสารกับลูกค้า (เชิงบวก) และการใช้กลยุทธ์การโฆษณาให้เหมาะสมกับธุรกิจตนเอง โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนากว่า 42 รายสร้างมูลค่าเศรษฐกิจได้กว่า 849,000 บาท
2. การให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจทั้งห่วงโซ่อุปทาน เช่น การจัดทำแผนธุรกิจ การปรับปรุงกระบวนการผลิตที่สอดคล้องแนวทางการพัฒนาและกับศักยภาพของ อุตสาหกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่เป้าหมาย โดยให้คำปรึกษาแนะนำวิสาหกิจ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ โดยมีเข้าร่วม 72 กิจการ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจได้กว่า 239 ล้านบาท และสร้างรายได้ได้กว่า 86 ล้านบาท
3. การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์หรือต้นแบบวัสดุอุตสาหกรรมของสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมศักยภาพในพื้นที่ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมให้เข้าสู่เศรษฐกิจวิถีใหม่ผ่านผู้เชี่ยวชาญ โดยมีผลิตภัณฑ์ได้รับการพัฒนา 55 ผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจได้กว่า 23 ล้านบาท และสร้างรายได้ได้กว่า 8 ล้านบาท
“กระทรวงฯจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความรู้และทักษะในการประกอบการเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจวิถีใหม่ ยกระดับอุตสาหกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่ ให้เกิดมูลค่าเพิ่มสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย” นายณัฐพลกล่าว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี