"ประชัย เลี่ยวไพรัตน์"เปรียบเทียบ"ค่าเงินบาทไทย"กับ"ค่าเงินดองเวียดนาม"ในรอบ 20 ปี ส่งผลสินค้าไทยแพ้ยับ
เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567 นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แสดงวิสัยทัศน์เรื่อง "ค่าเงินบาท" ระบุว่า ความเกี่ยวโยงระหว่างดอกเบี้ยเงินบาท/อัตราแลกเปลี่ยน/การดำเนินกิจการ/การว่าจ้างแรงงาน/การจับจ่ายใช้สอยของคนงาน/การค้าการลงทุน/การธนาคาร หนี้สิน/GDP/การลงทุนทางเศรษฐกิจ
GDP = Government Spending (G) + (Export - Import) (DE) + Investment . I + Domestic Consumption (D)
ถ้าดอกเบี้ยเงินตราดอลลาร์ลดลงแต่ดอกเบี้ยเงินบทเพิ่มขึ้น เงินบาทจะแข็งขึ้น อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์ ถ้าสูงขึ้น 10% และอัตราแลกเปลี่ยนของคู่แข่ง ดอลลาร์ ลดลง 10% รวมแล้วต้นทุนของเราจะสูงขึ้น 20% ราคาสินค้าที่มีต้นทุนเท่ากับคู่แข่งจะแพงกว่าคู่แข่ง 20%ทำให้เราสู้คู่แข่งไม่ได้ ผลทำให้ราคาของสินค้าขั้นปฐมต้องลดลง 20% สินค้าขั้นทุติยภูมิและตติยภูมิต้องเลิกผลิต
1.ทำให้โรงงานปิดหมด (Factory Closures)
2.ทำให้คนงานตกงาน (Unemployment) เพิ่ม
3.คนงานขาดเงินจับจ่ายใช้สอย (Consumption) ลด
4.การลงทุนขยายโรงงานไม่เกิด (No Investment)
5.หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น
6.การธนาคารต้องสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับเงินปล่อยกู้ธนาคารให้สูงขึ้นอีก
7.ธนาคารเลิกปล่อยกู้ให้ NPL's ธุรกิจซบเซาหนักขึ้น
8.รัฐเก็บภาษีเงินได้ , VAT , ค่าธรรมเนียมลดลง ทำให้งบประมาณลดลง
9.Government Spending ถูกตัดให้ลดลง
10.GDP ถูกลดลง
11.เงินสำรองเงินตราต่างประเทศ ต้องลดลง ไปเรื่อยๆ
ถ้ารายได้ Export หายไปมากๆ และโรงงานปิดมากๆ ประเทศต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจ ทำให้ไม่มี เงินสำรอง เงินตราต่างประเทศ พอที่จะออกบัตร ได้อาจจะนำไปสู่ เหตุการณ์ต้มยำกุ้งซ้ำรอย ที่เวิลด์แบงค์ต้องการ เพราะเขาจะได้ ทำสัญญาให้ไทยกู้เงินตราต่างประเทศแล้วรีดไถทรัพย์สิน ตาม เงื่อนไข ในสัญญาที่ เอา สมบัติของชาติยกไปให้ ในราคาถูกให้แก่พวกฉลามนิวยอร์ก ซึ่ง เจ้าของเป็นนายของ World Bank ได้(เรื่องนี้ท่านผู้ว่าฯน่าจะรู้ดีเพราะเป็นผู้ช่วย world bank มาคุมคุณธารินทร์ปฏิบัติตามสัญญา)
12.สำหรับต้มยำกุ้งครั้งที่แล้วอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศของเงินบาทตกลงมามากทำให้การส่งออกการว่าจ้างแรงงาน พืชผลทางการเกษตรราคาดีขึ้น แลกกับ การสูญเสีย ทรัพย์สิน และกิจการ ของ นายทุน เล็กใหญ่ใหญ่น้อยตั้งแต่ SME จนถึง นายทุนใหญ่ทั้งหลายที่ไปกู้ดอลลาร์มา และการที่จะต้อง โอนสมบัติโรงงาน ใหม่ๆไปให้กับ คนต่างชาติในราคาถูก รวมทั้งระบบการธนาคารของประเทศไทยด้วย ซึ่งทำให้ธนาคารของสิงคโปร์ มาเป็นเจ้าของธนาคารใหญ่ๆในประเทศไทย เกือบทุกแห่ง อนึ่งผู้ใช้แรงงาน ไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนมากมายเท่าไหร่เพราะปัจจัยการผลิตโรงงาน เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ มีเทคโนโลยี ที่สูงกว่า เพื่อนบ้าน และสินค้า ก็ขายได้ Export ก็ขายได้เป็นเทน้ำเทท่าแต่ผู้ได้รับความกระทบกระเทือนมากที่สุดก็คือนายทุนที่ไปกู้เงินดอลลาร์มาลงทุนใน โรงงานอุตสาหกรรม และ SME ทั้งหลายซึ่งทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็ว แต่สำหรับ ในครั้งนี้ เหตุการณ์จะไม่เหมือนกันเพราะเครื่องจักรล้าสมัยหมดแล้ว และโรงงานก็ปิดไปมากแล้วเหตุการณ์ก็ได้ยืดเยื้อมานาน หลายปี ตามแผนอเมริกา ซึ่งวางแผนให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ย้ายไปอยู่ ในประเทศเพื่อนบ้านของเราเช่นเวียดนาม เพื่อที่จะ สร้างแนวต้านทาน อิทธิพลจากจีน หนี้ครัวเรือนก็เพิ่มขึ้น ที่สุดสถานการณ์ก็ฟื้นไม่ได้ ประเทศล่มจมอย่างเดียว
13.ก่อนจะไปถึงข้อ 12 เรายังมีเงินสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ 2 แสนกว่าล้านเหรียญสรอ.และเงินดอลลาร์ล่วงหน้าอีก 8,000 ล้านดอลลาร์ ถ้าผู้ว่าฯ เป็นคนไทยไม่อยากให้ประเทศแตกสลายต้องการให้ประเทศไทยเจริญเติบโตประชาชนอยู่ดีกินดีไม่ต้องวิ่งไปของานทำในอเมริกาหรือเวียตนาม ประเทศโชติช่วงชัชวาล
ยังไม่สายเกินไปที่จะเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนให้เงินบาทอ่อนลง 10 - 20% เป็น 38 บาทต่อดอลลาร์ ทุกอย่างจะได้กลับมารุ่งเรืองอีกทั้งการว่าจ้างแรงงานการค้าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวการลงทุนการศึกษาการพัฒนาคุณภาพของประชาชนชาวไทยความอยู่ดีกินดีของคนไทย
14.ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถทำให้เงินบาทแข็งที่ 38 บาทต่อดอลลาร์ได้ไม่ว่าผู้ก่อการร้ายที่จะมาปั่นค่าเงินบาทให้แข็งยังไงเราก็สามารถที่จะทำให้เงินบาทอ่อนถึงอัตรา 38 บาทต่อดอลลาร์ ได้ง่ายนิดเดียว สมมุติว่าผู้ก่อการร้ายพวกนี้ มันเอาดอลลาร์เข้ามาขาย 1 ล้านล้านเหรียญประเทศไทยก็สามารถพิมพ์ธนบัตรออกมา 38 ล้านล้านบาท ไปแลกซื้อดอลลาร์ของมันแล้วเราก็เอาดอลลาร์มาเก็บเป็นเงินสำรองเงินตราต่างประเทศเพื่อมาสำรองการออกบัตร 38 ล้านล้านบาทเพื่อเอาไปใช้ซื้อดอลล่าร์จากมัน และถ้ามันเอาเงินมามากกว่านี้ มันก็ยิ่งดี ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะเอามาเป็นเงินสำรองเงินตราต่างประเทศของไทนเป็นดอลลาร์แลกกับเงินบาทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกบัตร M One Money Supply ให้มันไป
เพราะฉะนั้น ถ้ามันเอาเงินเข้ามา Infinity Dollars เราก็สามารถออกบัตร Infinity Bahts เป็นเงินบาทไทยให้มัน ไม่ต้องกลัวว่าเราไม่มีความสามารถในการป้องกัน ไม่ให้เงินบาทอ่อน ถ้าเราต้องการให้เงินบาทอ่อนมันง่ายนิดเดียวอยู่แล้วที่ 38-40 บาท/ดอลล่าร์ ผลที่ตามมาสำหรับระบบการเงินของประเทศไทยก็คือธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีเงินสำรองเงินตราต่างประเทศขึ้นมามากมาย ซึ่งจะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถออกบัตร M1 money supply ได้เพิ่มขึ้นอีกด้วยและธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถกำไรจากการเพิ่มขึ้นของเงินตราต่างประเทศและเงินบาทที่ออกเพิ่มขึ้น M1 money supply จากดอกเบี้ยทำให้สามารถลดดอกเบี้ยเงินกู้สภาพคล่อง M2 Money Supply ก็จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาล แล้วแต่นโยบายการคลังจะปล่อยออกมาเท่าไหร่ ผู้ส่งออกก็สามารถส่งออกสินค้าได้ มีกำไรอย่างสบาย การว่าจ้างแรงงานก็จะเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจก็จะรุ่งเรือง โชติช่วงชัชวาลศรีวิไล รัฐบาลจะมีโอกาสใช้เงินพวกนี้เอาไปทำโครงสร้างพื้นฐานให้ชาวไร่ชาวนาสามารถทำการเพาะปลูกต้นทุนถูกลงไปอย่างมากในแง่การทำประโยชน์ให้กับประชาชนรัฐบาลสามารถพัฒนาการรักษาพยาบาลให้เป็นชั้น 1 ของโลก และการศึกษาก็สามารถพัฒนาให้เป็นการศึกษาชั้น 1 ของโลกพร้อมด้วยการศึกษาการวิจัย Research and Development สำหรับวิทยาการใหม่ๆ เป็นแหล่งการศึกษาที่ 1 ของโลกได้อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 60 ปีที่แล้วในขณะที่เงินเยนอยู่ที่ประมาณ 250 ถึง 300 เยน ต่อดอลลาร์ เป็นช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นเจริญเติบโตมากที่สุด ทุกอย่างพัฒนาไปอย่างสวยงาม
จีนก็เช่นกัน ตอนที่จีนมีอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน มีค่าต่ำ เป็นช่วงเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานี้ก็ทำให้ประเทศจีนเจริญเติบโตมาก ถ้าเราต้องการให้ประเทศไทยเจริญเติบโตเราไม่ควรจะให้ เงินบาทมีอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทแข็งเกินไป อย่างเช่นปัจจุบันนี้ซึ่งจะยับยั้งการเจริญเติบโตของไทยและในทางตรงกันข้ามจะทำให้ประเทศไทยล่มจมฉิบหายกันหมดทั้งประเทศ แต่ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของ เงินบาทอ่อนไปถึง 38 หรือ 40 บาทต่อดอลลาร์ ประเทศไทยจะอยู่ในสภาวะที่ปรับตัวให้แข็งแรงและก็มีเงินตราต่างประเทศเข้ามามากมายที่จะพัฒนาประเทศได้ ซึ่ง World Bank ไม่สนับสนุนเรื่องนี้เพราะมันเป็นการขัดกับผลประโยชน์ของรัฐบาลอเมริกา ซึ่งต้องการให้ทุกประเทศ ยากจน และต่ำต้อยกว่าคนอเมริกัน
นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังสามารถสั่งให้สมาคมธนาคารและธนาคารทุกแห่งใช้วิธี arbritage ชั่วคราวให้ 1 ดอลลาร์ถ้ามาซื้อขายล่วงหน้าให้แบงค์ชาติแบงค์ชาติจะให้ค่าพรีเมี่ยม เดือนละ 1 บาทต่อดอลลาร์ จนกว่าจะถึงค่า 40 บาทต่อดอลลาร์แล้วหลังจากนั้นค่อยเปลี่ยน อัตราพรีเมี่ย ต่อไป เพื่อสร้างเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนที่ 38 บาทถึง 40 บาทต่อดอลลาร์
15.ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์อ่อนจนถึง 40 บาทต่อดอลลาร์ น่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนไปได้ และก็ทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองกับประเทศ เพราะมันสามารถแก้ปัญหาตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 11 ได้ถึงระดับดี แต่ว่าถ้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ต่ำมากกว่านี้คือ 1 ดอลลาร์มากกว่า 40 บาทอาจทำให้เกิดเงินเฟ้อมากเกินไปก็ได้
ถ้าเรามองภาพ
1.ค่าเงินบาท
2.ค่าเงินดอลล่าร์
และ 3.พลังสร้างความเจริญรุ่งเรืองอยู่ดีกินดีของประชาชน
เปรียบเทียบกับเขื่อนปั่นไฟฟ้าดังนี้
1.ค่าเงินบาท = ระดับของ turbine ปั่นไฟ
2.ค่าเงินดอลล่าร์ = ระดับของน้ำในเขื่อน
และ 3.พลังสร้างความเจริญบ้านเมืองการอยู่ดีกินดีของประชาชน = พลังงานไฟฟ้าที่ปั่นออกมาเป็นโมเดลของอัตราแลกเปลี่ยน กับ น้ำในเขื่อนไฟฟ้าและการปั่นไฟฟ้า
เราจะเห็นว่า ระดับน้ำในเขื่อนยิ่งสูงเหมือนกับค่าเงินดอลล่าร์ยิ่งสูงกว่าบาท (บาทอ่อน) ก็สามารถปั่นไฟได้ยิ่งมากขึ้น (เพิ่มพลังสร้างความเจริญ) แต่ถ้าระดับน้ำต่ำกว่าระดับของเครื่องปั่นไฟก็จะไม่สามารถปั่นไฟออกมาได้เลย (ความเจริญเติบโตไม่เกิด) ถ้าระดับน้ำ สูงเกินไปหรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอ่อนมากเกินไปก็จะทำให้เกิดน้ำท่วม (เศรษฐกิจเจิญร้อนแรงเกินหรือเงินเฟ้อมากเกินไป) ซึ่งมีผลร้ายก็คือน้ำจะท่วมพืชไร่ต่างๆ ในที่ต่ำ
เพราะฉะนั้น ธนาคารประเทศไทยต้องใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง (optimization policy) เพื่อคุมระดับ Exchange rate อย่าให้ต่ำเกินกว่า เท่าที่จำเป็นที่ต้องการที่จะเอาพลังออกมาใช้หรือเท่าที่จำเป็นที่เศรษฐกิจของประเทศต้องการตามนโยบายเศษฐกิจการเมือง (political economics) เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศและความอยู่ดีกันดีของประชาชน
หน่วยราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเศรษฐกิจการเมืองการคลังของประเทศไทยไม่ควรจะเป็นหุ่นกระบอก หรือ humanoid หุ่นเชิดรับคำสั่งจาก world bank ฃึ่งรับคำสั่งจาก รมว.คลัง สรอ.ฃึ่งรับคำสั่งอีกต่อหนี่งจากฉลามนิวยอร์กเพื่อผลประโยชน์ของอเมริกัน เราควรมีระบบการควบคุมระบบการเงินการคล้งของเราเอง ใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง (optimization policy) เพื่อความเจริญเติบโตของประเทศ ความอยู่ดีกินดีของประชาชนชาวไทย สร้างแผ่นดินนี้ให้เป็นแผ่นดินรุ่งเรืองศิวิไลซ์อย่างแท้จริง
ข้อ 16 ปัจจุบันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังอ้างกลไกตลาด ในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลล่าร์ และปล่อยให้ลอยละลิ่วไปตามธรรมชาติของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราซื่งอยู่ในอำนาจหน้าที่อันสำคัญยิ่งที่ผู้ว่าฯได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระเจ้าอยู่ห้ว และได้ถวายสัตย์ต่อพระองค์ท่านในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนและ GDP Growth 3-10% ตามนโยบายของประเทศ
ดังที่ได้อธิบายในข้อ 1 ถึงข้อ 15 บทบาทและความสัมพันธ์เกี่ยวโยงระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและกลไกเศรษฐกิจการเงินการคลังพอสรุปได้ว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนการเงินประกอบด้วยคนหลากหลายประเภทไม่ใช่เป็นไปตามธรรมชาติอย่างเดียว ยังมีนักปั่นเก็งกำไรและมีผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กที่หวังกำไรระดับประเทศหลายฝ่ายที่มีความต้องการไม่เหมือนกัน ปะปนอยู่
ในประเทศไทย ธปท.มีหน้าที่ดูแลตวามเรีบยร้อย และเสถียรภาพการเงินเพื่อผลประโยขน์ของประเทศไทย และความอยู่ดีกินดีของประชาชาน น่าจะสามารถรักษาเสถียรภาพเงินบาทอ่อนอยู่ที่ระดับ 40 บาท/ดอลลาร์ได้ เพราะ ธปท.สามารถออกเงินบาทมาจ่ายให้ผู้ก่อการร้ายที่จะเอาเงินดอลลาร์เข้ามาปั่นขายในตลาด ธปท.ก็สามารถเข้าแทรกแซงได้เพราะมีเงินบาทพอ เพราะฉะนั้น สำหรับการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนของบาท/ดอลลาร์ให้อ่อนที่ 40/ดอลลาร์ มันก็อยู่ในความรับผิดชอบของ ธปท.ที่จะเป็นคนควบคุมให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทต่อดอลลาร์ได้เพราะมันเป็นอธิปไตยของประเทศไทย ไม่ใช่อยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารโลก
จากการวิเคราะห์ที่ว่า ธปท.สามารถทำให้บาทอ่อนได้ แต่ไม่สามารถทำให้บาทแข็งได้ และบาทอ่อนมีประโยชน์เพราะว่าจะทำให้การส่งออกดี การว่าจ้างแรงงานดี การทำธุรกิจต่าง ๆ มีสภาพคล่องดีทำให้ ธุรกิจใหญ่น้อยมีกำไรดี การลงทุนเพิ่มขื้นประชาชนอยู่ดีกินดี ทุกอย่างมันดีไปหมด จนถึงระดับจุดหนึ่งที่อัตราแลกเปลี่ยน 40 บาทต่อดอลลาร์ เลยจากระดับจุดนี้ไปอาจจะเกิดสภาพสภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไปซึ่งอาจจะทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อมากเกินว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ของประเทศ ฉะนั้นมันก็เป็นระด้บจุดที่เสถียรภาพของเงินบาทที่ต้องรักษาไว้ แต่ถ้าเงินเฟ้อมากเกินไป เราก็อาจจะต้องเพิ่มดอกเบี้ย แล้วก็ทำให้เงินบาทแข็งขึ้น ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้ว่า ธปท.ที่จะทำ
ในแง่ทำให้เงินบาทอ่อนลง หรือทำให้ค่าเงินตราดอลลาร์มีค่าสูงขื้นเทียบกับค่าเงินบาท ทั้งหมดที่ได้อธิบายมาก็เหมือนกับ ธปท.มีหน้าที่และสามารถเพิ่มระดับน้ำในเขื่อนให้สูงขึ้น เมี่อผู้ว่าฯเมื่อมีดอลล่าร์ที่นักปั่นค่าเงินบาทเอาขายให้ธปท.อยู่ในมือ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปอย่างเจริญเติบโต GDP อาจจะโต 3-10% ได้อย่างที่จีนได้ทำมาก่อนหน้านี้แล้ว 20 ปี และญี่ปุ่นก็เคยทำมาแล้วเมื่อ 60 ปีที่แล้ว เพราะฉะนั้น ธปท.ไม่ควรที่จะปล่อยให้ค่าบาท/ดอลล่าร์ลอยไปตามยถากรรมในเมื่อผู้ว่าแบงค์ชาติมีความสามารถที่จะควบคุมระดับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาท/ดอลล่าร์ให้อ่อนถึง 40 บาทได้ (แต่ถ้าจะให้แข็งไปเรื่อยๆไม่ได้ เพราะว่าแบงค์ชาติไม่สามารถพิมพ์ดอลลาร์มาสู้กับพวกผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กได้) เราสามารถที่จะพิมพ์เงินบาทเข้ามาสู้กับผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กได้
อำนาจของการที่จะให้ระดับน้ำในเขื่อนสูงขึ้น เป็นอำนาจของผู้ว่าแบงค์ชาติซึ่งสามารถควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนได้ ถ้าปล่อยให้เงินบาทอ่อน เงินดอลลาร์สูงขึ้นก็คือระดับน้ำในเขื่อนสูงขึ้นก็จะเหมือนกับเทวดาที่สามารถดลบันดาลให้ระดับน้ำในเขื่อนสูงได้ เพราะนี่เป็นหน้าที่รับผิดชอบของ ธปท.โดยตรง ไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรมปล่อยให้ผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กมารังแกประเทศไทย หรือทำตาม World Bank ต้องการ เพราะ world Bank ไม่ได้หว้งดีกับประเทศไทย เขาต้องการให้ประเทศทุกประเทศอยู่ได้แต่จะต้องยากจน เป็นเด็กรับใช้ของเขาและของผู้ก่อการร้ายนิวยอร์ก
อนึ่ง อัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับ 40 บาท/ดอลลาร์ นอกจากการเพิ่มพลังงานข้บเคลื่อนกระตุ้นเศรษฐกิจท้ังระบบทำให้ GDP โต 3%- 10% ได้แล้ว ธปท.ยังสามารถเก็บและได้ส่วนต่าง (กำไร) เงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นได้ ถ้า ธปท.กลัวว่าค่าเงินดอลลาร์จะตกเสื่อมค่า เราก็สามารถที่จะเก็บเงินสำรองเงินตราต่างประเทศนี้เป็นทอง และธปท.ก็สามารถเก็บทองเองได้ไม่จำเป็นต้องเอาไปฝากไว้ที่ Fort Knox ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าทองเก่าที่ ธปท.ได้นำไปฝากที่ Fort Knox เดี๋ยวนี้ละลายไปอยู่ใน printed circuit boards ที่ไหน แลัวเราจะเอาทองก้อนกลับมาตามเบอร์ของทองก้อนที่เราเอาไปฝากได้หรือไม่
ฉะนั้นเราควรเป็นที่พึ่งของตัวเราเอง เก็บทองไว้ในประเทศน่าจะปลอดภัยกว่า เพราะว่าแม้แต่ประธานาธิบดีอเมริกาชื่อ Thomas Jefferson เขียนจารึกไว้ในรัฐสภาอเมริกันบอกว่า อเมริกาถือว่าทุกประเทศเป็นมิตรเสมอภาคกันหมด ไม่ใช่ทาสรับใช้เพราะฉะนั้นเพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทยและประชาชนชาวไทย
นอกจากเราจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจากการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ให้อ่อนที่ 40 บาท/ดอลลาร์ ธปท.ยังได้ผลประโยชน์จากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับเงินสำรองเงินตราต่างประเทศที่ธปท.มีอยู่ 260,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นส่วนต่างเงินบาท (กำไร) ได้ 260,000×(40-32.5)=1.95 ล้านล้านบาท รวมดอลลาร์รับล่วงหน้า 26,000 ล้านเหรียญ ซึ่งนักปั่นค่าเงินบาทขายล่วงหน้าให้แก่ ธปท.คิดเป็นส่วนต่าง (กำไร) 26,000 (40-32.5)=195,000 ล้านบาท
ถ้าธปท.เข้า แทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนจาก 32.5 บาท/ดอลลาร์ เป็น 40 บาท/ดอลลาร์ ในขณะที่ ธปท.อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ และเป็นหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงของ ธปท. เพื่อให้การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทยและเสถียรภาพทางการเงินการคลังและวินัยทางการเงินการคลังที่ดี
ขอพระสยามเทวาธิราชขอดลบันดาลให้ ธปท.มีสติทำการเป็นมงคลอย่าให้ประเทศไทยเป็นต้มยำกุ้งซ้ำอย่าง 20 ปีที่แล้วที่ผู้ก่อการร้ายนิวยอร์คต้องการ
ข้อ 17 บทสรุปรัฐบาลไทย ในฐานะผูัคุมนโยบายเศรษฐกิจ การเมือง รวมถึงนโยบายการคล้ง (politico economics including fiscal policy) และผู้ว่าแบงค์ชาติในฐานะผู้ควบคุมนโยบายการเงิน (monetary policy) น่าจะถามประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันว่า อยากจะให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 38 บาท ถึง 40 บาทต่อดอลลาร์ แทนที่จะปล่อยให้มันแข็งอยู่ที่ 32.40 - 34.0 บาท อย่างทุกวันนี้หรือไม่ เพราะถ้า ธปท.รักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 38 - 40 บาท/ดอลลาร์ รัฐบาล และ ธปท.ก็จะสามารถแก้ไขความทุกข์ร้อนของประชาชน และความเสื่อมสลายของบ้านเมือง สร้างความมั่นคงและความเจริญเติบโตของชาติ และความอยู่ดีกินดีของประชาชนได้ ดังต่อไปนี้
1.จะทำให้ราคาพืชผลทางเกษตรเพิ่มขึ้น 10 - 20%
2.จะทำใหัสินค้าส่งออก Export สามารถเพิ่มปริมาณส่งออกได้ 10% และมีกำไรในธุรกิจต่างๆ ในขณะเดียวกันก็สามารถลดปริมาณการนำเข้าของสินค้า ซึ่งเป็นคู่แข่งของเราได้โดยไม่ต้องขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
3.จะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ และไม่มีความจำเป็นต้องปิดโรงงาน แต่มีโอกาสที่จะขยายโรงงานเพิ่มกำลังผลิต
4.จะทำให้คนงานไม่ตกงาน ค่าแรงก็จะทยอยกันเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน
5.จะทำให้ประชาชนมีเงินจับจ่ายใช้สอยได้ตามอัตภาพไม่ขัดสน และไม่ต้องไปขายบ้านขายช่อง ขายที่ขายนา มาชำระหนี้
6.จะทำให้หนี้ครัวเรือนและหนี้สินบริษัทต่างๆ เป็นหนี้ที่ดี เป็นการลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
7.จะทำให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้ได้ตามปรกติ และลดดอกเบี้ยให้ลูกหนึ้ได้ เพราะไม่ต้องสำรองหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้
8.จะทำให้โรงงานมีกำไร ผู้ประกอบการมีกำไรก็มีการลงทุนเพิ่มขึ้น การว่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น ต่างชาติก็จะแห่ผสมโรงตามมาลงทุนเพิ่มด้วย
9.จะทำให้มีการว่าจ้างแรงงานเพิ่มรายรับประชาชน การจับจ่ายใช้สอยภาคประชาชนมากขึ้น รัฐบาลสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น ทำให้มีงบประมาณแผ่นดินเพิ่มขึ้น
10.Gdp เพิ่มขึ้นเป็น 3 - 10% แทนที่จะเป็น 2.5% ตาม world bank พยากรณ์
11.เงินสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้แบงค์ชาติสามารถตั้งกองทุนพัฒนาประเทศ ให้กู้สำหรับเงินงบประมาณพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ได้ทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองศรีวิลัยเป็นประเทศชั้นนำของโลก ประชาชนอยู่ดีกินดี หากินโดยสุจริตได้โดยไม่ต้องมีมิจฉาทิฐิ
ถ้าประชาชนมีความเห็นต้องการความอยู่ดีกินดี ประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นประเทศชั้นนำของโลก และลูกหลานมีอนาคตที่ดีไม่ต้องไปของานทำที่อเมริกา หรือเวียดนาม รัฐบาลโดย กนง.และธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ต้องมีหน้าที่รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ไว้ที่ 38 - 40 บาท/ดอลลาร์ ไม่ใช่ปล่อยให้แข็งอยู่ที่ 32.4 - 34บาท/ดอลลาร์ อย่างทุกวันนี้
การรักษาเสถียรภาพของเงินบาทไว้ที่ 38 บาท ถึง 40 บาทต่อดอลลาร์ แทนที่จะเป็น 32.50 บาทต่อดอลลาร์ ก็เหมือนกับว่าเป็นการกระจายรายได้ ให้กับประชาชนผู้มีส่วนร่วมในการทำให้การค้าการชำระเงินของประเทศเกินดุล (wealth distribution) จากเงินที่ผู้จะส่งเงินตราออกไปนอกประเทศ เช่น ผู้นำเข้าสินค้า หรือผู้ว่าจ้างเหมาคนต่างประเทศโดยผ่านระบบการเงิน ที่ ธปท.มีหน้าที่เป็นกรรมการดูแลรักษา เพราะเงินสำรองเงินตราต่างประเทศเหล่านี้ ซึ่งให้พลังกับ ธปท.สามารถรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนได้มาจากการส่งออกสินค้า การให้การบริการชาวต่างชาติ การชักชวนให้ต่างชาติมาลงทุน ซึ่งล้วนมาจากหยาดเหงื่อแรงงานมันสมองความสามารถของคนไทย ที่ทำให้เกิดผลการค้าและการชำระเงินเกินดุล กลายมาเป็นเงินสำรองเงินตราต่างประเทศในรูปของดอลลาร์ หรือทองคำ มอบให้ ธปท.ดูแลตามกฎหมาย แต่เมื่อทรัพย์สมบัตินี้มีมากขึ้นถึงสองแสนหกหมื่นล้านเหรียญ หรือ 8.7 ล้านล้านบาท - 10.4 ล้านล้านบาท (33.5 บาท - 40 บาท/ดอลลาร์) หรือ 60% ของ gdp กลับมาทำร้ายประชาชนผู้มีพระคุณ โดย World Bank สั่งให้ ธปท.ผู้มีหน้าที่เฝ้าดูแลเสถียรภาพเงินบาทปล่อยให้บาทแข็งตามหลักกลไกตลาดของ commodity trading เป็น 32.4 บาท/ดอลลาร์ เพื่อไม่ให้ไทยดีกว่าชาติอื่นที่เขาต้องการสนับสนุน เช่น เวียดนาม แต่มันจะทำให้ไทยตกต่ำ และประชาชนผู้มีส่วนร่วมทำให้เงินเกินดุลเดือดร้อนอย่างทุกวันนี้ ฉะนั้น ธปท.ควรดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้สามารถผลิตสินค้าแข่งขันกับต่างชาติได้ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจการเงิน เป็นประเทศชั้นนำของโลก แทนที่จะมาทำร้ายคนไทยด้วยกัน ทำให้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศร่อยหรอไปพร้อมกับความเดือดร้อนของคนไทยและความเสื่อมโทรมของประเทศ
ทั้งนี้ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ยังได้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบค่าเงินบาทของไทย กับเงินดองของเวียดนาม ตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้แสดงกราฟเปรียบเทียบค่าเงินบาทของไทยที่แข็งขึ้น ขณะที่เงินดองของเวียดนามได้อ่อนลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ธุรกิจภาคการส่งออกของไทยต้องพ่ายแพ้เวียดนามอย่างยับเยิน ผิดกันมหาศาล ท้ังๆ ที่ในอดีตประเทศไทยเคยมีงบที่เกินดุลเป็นเงิน 260,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยได้แสดงกราฟเปรียบเทียบ ดังนี้
ดูจากการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินดอง ต่อดอลลาร์กับเงินบาทต่อดอลลาร์ของวันนี้ กราฟ 2 กราฟนี้จะเห็นได้ชัดว่า ในขณะที่ อัตราแลกเปลี่ยน ของ เวียดนามดอง อ่อนตัวลง ในขณะที่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทของไทยกับแข็งตัวขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์ แล้วสินค้าไทยจะไปสู้กับสินค้าเวียดนามได้อย่างไร
อย่าลืมนะครับเศรษฐกิจญี่ปุ่น พังเพราะว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยน แข็งขึ้นจาก 300 กว่าเยนมาเป็น 80 เยนต่อดอลลาร์เพราะถูกอเมริกันบังคับ ด้วยสัญญาแพ้สงครามโลกของญี่ปุ่น ในปี 1985 แต่ประเทศไทยไม่มีสัญญา แพ้สงครามโลก กับอเมริกาเพราะฉะนั้นจะไปถูกอเมริกาบังคับไม่ได้นอกเสียจากคนของเรา ไปยอมเขาเอง
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี