‘กกพ.’เปิด 3 ทางเลือก‘ค่าไฟฟ้า’งวดแรกปี 68 ม.ค.-เม.ย. ต่ำสุดตรึงไว้เท่าเดิม 4.18 บาทต่อหน่วย ขณะที่สูงสุดขึ้นเป็น 5.49 บาทต่อหน่วย
8 พฤศจิกายน 2567 นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. มีมติให้สำนักงาน กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) ในการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในงวดเดือนมกราคม-เมษายน 2568 ซึ่งแบ่งเป็น 3 กรณีตามเงื่อนไข วันที่ 8 - 22 พฤศจิกายน ผ่านเว็ปไซต์กกพ. ดังนี้
+ กรณีที่ 1 จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศหไทย หรือ กฟผ. ทั้งหมด) รวมค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าปี 2566 หรือ เอเอฟก๊าซ ค่าเอฟที ขายปลีกจะเท่ากับ 170.71 สตางค์ต่อหน่วย มาจากค่าเอฟทีเดือนมกราคม – เมษายน 2568 จำนวน 16.52 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (เอเอฟ) ของ กฟผ. 85,236 ล้านบาท คิดเป็น 131.01 สตางค์ต่อหน่วย และมูลค่าเอเอฟก๊าซของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ คือ กฟผ. และ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) เดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 ที่ตรึงค่าไฟ 3.99 บาทต่อหน่วย จำนวน 15,083.79 ล้านบาท หรือคิดเป็น 23.18 สตางค์ต่อหน่วย รวมทั้ง 154.19 สตางค์ต่อหน่วย
โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 - สิงหาคม 2567 เมื่อรวมค่าไฟฟ้าฐาน 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.49 บาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 31% จากระดับ 4.18 บาทต่อหน่วยในงวดปัจจุบัน
+ กรณีที่ 2 ปรับค่าเอฟทีจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. ทั้งหมด ค่าเอฟทีขายปลีกเท่ากับ 147.53 สตางค์ต่อหน่วย เป็นการเรียกเก็บค่าเอฟทีเดือนมกราคม – เมษายน 2568 จำนวน 16.52 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเอเอฟของ กฟผ. 85,236 ล้านบาทคิดเป็น 131.01 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมค่าไฟฟ้าฐาน 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5.26 บาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 26% จากระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย โดยกรณีนี้ไม่รวมเอเอฟก๊าซ 15,083.79 ล้านบาท =อานิสงส์บาทแข็ง-ปริมาณก๊าซอ่าวไทยเพิ่ม
+ กรณีที่ 3 ตรึงค่าเอฟทีเท่ากับงวดปัจจุบัน 4.18 บาทต่อหน่วย เป็นข้อเสนอ กฟผ. โดยเอฟทีค่าขายปลีกเท่ากับ 39.72 สตางค์ต่อหน่วย สะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 16.52 สตางค์ต่อหน่วย จะทำให้หนี้กฟผ.เหลือระดับ 70,000 ล้านบาท และทยอยชำระคืนภาระต้นทุนเอเอฟ 15,094 ล้านบาท หรือคิดเป็น 23.20 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม คงที่เท่ากับ 4.18 บาทต่อหน่วย เช่นเดียวกับปัจจุบัน
“จากแนวโน้มเงินบาทแข็งค่าจากงวดก่อนหน้า ระดับ 33.36 บาทต่อเหรียญสหรัฐในงวดหน้า และการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศต้นทุนถูกและพร้อมผลิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาก๊าซธรรมชาติเหลวแบบสัญญาจร หรือแอลเอ็นจีสปอตตลาดโลกปรับตัวลดลงเล็กน้อย และปริมาณก๊าซธรรมชาติอ่าวไทยที่ราคาถูกมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้แรงกดดันการเพิ่มค่าไฟลดลง แต่ปัจจัยที่ค่าไฟลดไม่ได้มาจากภาระหนี้กฟผ.กว่า 2 ปีที่ผ่านมา แม้ลดลงแต่ยังอยู่ในระดับสูง ต้องใช้คืนกฟผ.เพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศด้วย” นายพูลพัฒน์ กล่าว
-005
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี