นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ประจำเดือนพฤศจิกายน 2567 เกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยวไทยปลายปี 2567 พบว่า ประชาชนที่มีแผนการท่องเที่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2567 มีสัดส่วนค่อนข้างทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับผลการสำรวจของปี 2566ภาคเหนือยังเป็นจุดมุ่งหมายหลักที่ประชาชนวางแผนไปท่องเที่ยว ปัญหาทางการเงินและค่าใช้จ่ายยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการแผนการท่องเที่ยวโดยมีรายละเอียดผลการสำรวจ ดังนี้
• พฤติกรรมและแผนการท่องเที่ยวในประเทศไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2567 ภาพรวมของการสำรวจพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 32.28% มีแผนการท่องเที่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2567 ซึ่งค่อนข้างทรงตัวหรือปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากผลสำรวจปี 2566 (32.19%) ภาคเหนือยังคงเป็นจุดหมายที่ได้รับความนิยมสูงเช่นเดิม สัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถาม 67.72% ที่ไม่มีแผนการท่องเที่ยวส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับปัญหาทางการเงินซึ่งเป็นเหตุผลที่มีสัดส่วนสูงสุดที่ 38.55% และตามมาด้วยความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่สูง 32.12%
เมื่อพิจารณาการจำแนกตามกลุ่มอาชีพพบว่ากลุ่มผู้ไม่ได้ประกอบอาชีพและเกษียณอายุมีสัดส่วนการวางแผนท่องเที่ยวมากที่สุดที่ 46.40% รองลงมาคือกลุ่มนักธุรกิจและเจ้าของกิจการที่ 42.52% กลุ่มพนักงานบริษัทมีสัดส่วนน้อยสุดที่ 17.54% การจำแนกตามรายได้ต่อเดือนพบว่ากลุ่มผู้มีรายได้มากกว่า 40,000-50,000 บาท มีสัดส่วนการวางแผนท่องเที่ยวมากที่สุดที่ 48.77% ตามมาด้วยกลุ่มผู้มีรายได้ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป ที่ 45.00% เห็นได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีรายได้ค่อนข้างสูงจึงจัดสรรงบประมาณสำหรับการท่องเที่ยวได้มากกว่ากลุ่มรายได้อื่น ขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้ 5,001-10,000 บาท มีสัดส่วนน้อยสุดที่ 25.95%
กิจกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การท่องเที่ยวธรรมชาติ ผจญภัย และกีฬา รองลงมาคือ การท่องเที่ยวร้านกาแฟและร้านอาหารยอดฮิต
สำหรับการวางแผนการท่องเที่ยวประชาชนยังมีปัจจัยที่กังวลอยู่หลายประการ โดยความกังวลด้านความปลอดภัยและอุบัติเหตุเป็นปัจจัยหลักที่มีสัดส่วนสูงที่ 51.48% นอกจากนี้ ประชาชนยังมีความกังวลในเรื่องความแออัดของสถานที่ท่องเที่ยวคิดเป็น 50.00% และกังวลด้านการจราจรที่ 47.49%
• การคาดการณ์ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในภาพรวม ผู้ตอบแบบสอบถาม 44.59% คาดว่าจะใช้จ่าย 5,001-10,000 บาท/คน/ทริป เพื่อเป็นค่าเดินทาง อาหาร และที่พัก โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผลการสำรวจของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 42.07% รองลงมาคือ ใช้จ่ายไม่เกิน 5,000 บาท 31.79% และใช้จ่าย 10,001-30,000 บาท ประมาณ 19.54% ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าประชาชนมีแผนใช้จ่ายลดลงในวงเงินที่สูงสะท้อนถึงการปรับตัวและการควบคุมงบประมาณที่มากขึ้น ประเภทของค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะมีการใช้จ่ายมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รองลงมา คือค่าอาหาร และค่าที่พักตามลำดับ
การสำรวจครั้งนี้ว่า แม้ประชาชนจะกังวลกับสถานการณ์เศรษฐกิจสถานะทางการเงิน และภาระค่าใช้จ่าย แต่คาดว่าการท่องเที่ยวในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2567 จะยังคงมีบรรยากาศที่คึกคักทั่วทุกภูมิภาค โดยภาครัฐมีการออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมให้การท่องเที่ยวมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะภาคเหนือที่ได้รับความนิยมสูง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี