• การลงทุนจากกองทุน Cool Japan (CJF) นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่สำคัญในโอกาสครบรอบ 10 ปี ที่ Funding Societies ให้บริการ SME ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
• การลงทุนนี้ช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SME ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยส่งเสริมการขยายธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นไปยังตลาดต่างประเทศ
Funding Societies | Modalku (Funding Societies) แพลตฟอร์มการเงินดิจิทัลแบบครบวงจรสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก (SME) ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ประกาศถึงความสำเร็จในการระดมทุนกว่า 846 ล้านบาท (25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งการลงทุนในครั้งนี้ ถือเป็นการลงทุนครั้งแรกของ CJF (กองทุน Cool Japan คือ กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น) ในบริษัทฟินเทคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Funding Societies จะจัดสรรการลงทุนนี้เพื่อเสริมความแข็งแกร่งกับธุรกิจหลักด้านการให้บริการสินเชื่อแก่ธุรกิจ SME ในห้าประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม พร้อมทั้งขยายธุรกิจด้านการชำระเงิน ที่เริ่มให้บริการในบางตลาดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565
ด้วยการให้บริการ SME ในการเติมเต็มศักยภาพทางธุรกิจมาเป็นเวลาหนึ่งทศวรรษ Funding Societies จะยังคงเดินหน้าสนับสนุนธุรกิจต่างๆ ให้ได้รับเงินเร็วขึ้นผ่านโซลูชั่นการจัดการลูกหนี้และการเงินที่เป็นนวัตกรรมอันทันสมัย รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เสริมกระบวนการอนุมัติสินเชื่อให้เป็นดิจิทัลและอัตโนมัติที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายในการบรรลุความเติบโตและสร้างผลกำไรของบริษัทฯ ในประเทศไทย Funding Societies ให้บริการ สินเชื่อหมุนเวียนจากลูกหนี้การค้า (invoice financing) และสินเชื่อเพื่อการหมุนเวียนธุรกิจต่างๆ สำหรับผู้ประกอบการ SME โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ด้วยการใช้เทคโนโลยี ทำให้บริษัทสามารถอนุมัติและปล่อยสินเชื่อได้รวดเร็วกว่าสถาบันการเงินทั่วไป
การลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นมายังภูมิภาคอาเซียนมีมูลค่าเฉลี่ยสูงถึงประมาณ 6.29 หมื่นล้านบาท (18.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต่อปี และมีบริษัทญี่ปุ่นประมาณ 15,000 แห่ง ได้ก่อตั้งขึ้นในภูมิภาคนี้ ซึ่งผลสำรวจในปี 2567 โดยธนาคารเพื่อการเงินระหว่างประเทศญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation) ที่ได้ทำการสอบถามบริษัทญี่ปุ่น 500 แห่ง เกี่ยวกับ 10 ประเทศที่มีศักยภาพสูงสุดในการพัฒนาธุรกิจในต่างประเทศ พบว่าประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีจำนวนถึงครึ่งหนึ่งของรายชื่อทั้งหมด
ด้วยการลงทุนนี้ Funding Societies จะเริ่มดำเนินการเป็นพันธมิตรกับ CJF โดยใช้ประโยชน์จากประวัติอันยาวนานในการให้บริการแก่ SME ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้บริการทางการเงินในการสนับสนุนบริษัทญี่ปุ่นต่างๆ ความร่วมมือนี้จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีระหว่างบริษัทญี่ปุ่นและ SME ในภูมิภาคนี้ และเร่งขยายตลาดต่างประเทศสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการที่สะท้อนวัฒนธรรมญี่ปุ่น ผ่านการสนับสนุนการขยายธุรกิจในต่างประเทศของบริษัทญี่ปุ่น
ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Cool Japan Fund (กองทุน Cool Japan), นาย เคนอิจิ คาวาซากิ กล่าวว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุน Funding Societies ผ่านการลงทุนครั้งนี้ ด้วยผลงานที่โดดเด่นในการสนับสนุนธุรกิจ SME ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสิ่งยืนยันถึงขีดความสามารถในการช่วยเหลือบริษัทญี่ปุ่นในการเอาชนะความท้าทายเมื่อเข้าสู่ตลาดต่างประเทศใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคนี้ จากแนวโน้มทางความสนใจของบริษัทญี่ปุ่นที่มุ่งสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากยิ่งขึ้น ทำให้เราเชื่อว่าความร่วมมือระหว่างเรากับ Funding Societies ผ่านการลงทุนนี้ จะช่วยเพิ่มความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการของญี่ปุ่นในต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและ SME ท้องถิ่นในภูมิภาคนี้ที่ทำธุรกิจกับบริษัทญี่ปุ่น”
นายเคลวิน เตียว ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม Funding Societies กล่าวว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน Cool Japan ในการร่วมมือและสนับสนุนบริษัทญี่ปุ่นเพื่อขยายธุรกิจมาสู่ภูมิภาคนี้ ซึ่งธุรกิจหลายแห่งที่เราให้บริการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นบริษัทญี่ปุ่น หรือเป็นซัพพลายเออร์ และลูกค้าของบริษัทเหล่านี้ และด้วยความร่วมมือกับ CJF เรามีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ดังกล่าวให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการเร่งการเติบโตของบริษัท”
นายวิกาส เจน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำ Funding Societies ประเทศไทย กล่าว “การระดมทุนครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างความสามารถของเราในการลงทุนเพิ่มเติม และสร้างข้อเสนอที่ดียิ่งขึ้นให้กับธุรกิจไทย ผ่านรูปแบบสินเชื่อเพื่อสร้างความเติบโต และเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ เราจะยังคงดำเนินบทบาทที่สำคัญของเราในระบบนิเวศการให้กู้ยืมทางการเงิน (Fintech) พร้อมส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจผ่านการให้บริการ SME ในประเทศ”
ทั้งนี้ตัวเลขรายได้จากการบริการทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวมคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยสินเชื่อในรูปแบบดิจิทัลจะเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตดังกล่าว นับเป็นสัดส่วนถึง 65% ของรายได้โดยรวม และยอดสินเชื่อโดยรวม4มีอัตราการเติบโตปีต่อปีมากกว่า 20% โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.41 ล้านล้านบาท (71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากปี พ.ศ. 2566 - 2567 (แต่ครอบคลุมเพียง 1% ของช่องว่างการเข้าถึงสินเชื่อมูลค่า 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในภูมิภาคฯ) ซึ่งตัวเลขดังกล่าวคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องประมาณ 6.77 ถึง 10.16 ล้านล้านบาท (200-300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในปี พ.ศ. 2573
การอัดฉีดเงินทุนครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากความสำเร็จครั้งสำคัญของ Funding Societies ในปี 2567 เช่น การประกาศการลงทุนเชิงกลยุทธ์ ของ Maybank ใน Funding Societies และการลงนามวงเงินสินเชื่อครั้งที่ 3 กับธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) ภายใต้กองทุน “อาเซียน โกรท ฟันด์ (ASEAN Growth Fund) โดยธุรกรรมนี้มีมูลค่ารวมกว่า 3.4 พันล้านบาท (100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
ณ ปัจจุบัน Funding Societies ได้ให้เงินทุนสนับสนุนธุรกิจมากกว่า 1.4 แสนล้านบาท (4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อธุรกิจ SME มากกว่า 100,000 แห่ง และยังได้ดำเนินการชำระเงินที่มีมูลค่ารวม (GTV) เป็นประจำปีถึง 48.8 พันล้านบาท (1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) นับตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ตลาดการชำระเงินในปลายปี 2565
*ในประเทศไทย Funding Societies ดำเนินธุรกิจ 2 ส่วนที่ต่างกันคือ FS Siam Co., Ltd. ได้รับความเห็นชอบการระดมทุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และ FS Capital Co., Ltd. เชี่ยวชาญในการให้กู้ยืมโดยตรงแก่ธุรกิจขนาดเล็ก โครงสร้างนี้ช่วยให้ Funding Societies สามารถตอบสนองความต้องการทางการเงินที่หลากหลายภายในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี