เปิดวิสัยทัศน์"ประชัย เลี่ยวไพรัตน์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) วิเคราะห์สถานการณ์ค่าเงินบาทตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมข้อเสนอแนะเทียบให้ดูชัดๆถึง 23 ข้อใหญ่ฉายภาพให้เห็นชัดๆกับผลประโยชน์อย่างมหาศาลทางเศรษฐกิจ หากอัตราแลกเปลี่ยนบาทอ่อนจนถึง 40 บาทต่อดอลลาร์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สามารถทำได้
โดย นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ได้เปิดฉากแสดงวิสัยทัศน์ชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวโยงระหว่างดอกเบี้ยเงินบาท/อัตราแลกเปลี่ยน/การดำเนินกิจการ/การว่าจ้างแรงงาน/การจับจ่ายใช้สอยของคนงาน/การค้าการลงทุน/การธนาคาร หนี้สิน/GDP/การลงทุนทางเศรษฐกิจ
ถ้าดอกเบี้ยเงินตราดอลลาร์ลดลงแต่ดอกเบี้ยเงินบาทเพิ่มขึ้น เงินบาทจะแข็งขึ้น อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์ ถ้าสูงขึ้น 10% และอัตราแลกเปลี่ยนของคู่แข่ง ดอลลาร์ ลดลง 10% รวมแล้วต้นทุนของเราจะสูงขึ้น 20% ราคาสินค้าที่มีต้นทุนเท่ากับคู่แข่งจะแพงกว่าคู่แข่ง 20%ทำให้เราสู้คู่แข่งไม่ได้ ผลทำให้ราคาของสินค้าขั้นปฐมต้องลดลง 20% สินค้าขั้นทุติยภูมิและตติยภูมิต้องเลิกผลิต
1.ทำให้โรงงานปิดหมด (Factory Closures)
2.ทำให้คนงานตกงาน (Unemployment) เพิ่ม
3.คนงานขาดเงินจับจ่ายใช้สอย (Consumption) ลด
4.การลงทุนขยายโรงงานไม่เกิด (No Investment)
5.หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น
6.การธนาคารต้องสำรองหนี้สูญเพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับเงินปล่อยกู้ธนาคารให้สูงขึ้นอีก
7.ธนาคารเลิกปล่อยกู้ให้ NPL's ธุรกิจซบเซาหนักขึ้น
8.รัฐเก็บภาษีเงินได้, VAT, ค่าธรรมเนียมลดลง ทำให้งบประมาณลดลง
9.Government Spending ถูกตัดให้ลดลง
10.GDP ถูกลดลง
11.เงินสำรองเงินตราต่างประเทศ ต้องลดลง ไปเรื่อยๆ
ถ้ารายได้ Export หายไปมากๆ และโรงงานปิดมากๆ ประเทศต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจ ทำให้ไม่มี เงินสำรอง เงินตราต่างประเทศ พอที่จะออกบัตร ได้อาจจะนำไปสู่ เหตุการณ์ต้มยำกุ้งซ้ำรอย ที่เวิลด์แบงค์ต้องการ เพราะเขาจะได้ ทำสัญญาให้ไทยกู้เงินตราต่างประเทศแล้วรีดไถทรัพย์สิน ตาม เงื่อนไข ในสัญญาที่ เอา สมบัติของชาติยกไปให้ ในราคาถูกให้แก่พวกฉลามนิวยอร์ก ซึ่ง เจ้าของเป็นนายของ World Bank ได้(เรื่องนี้ท่านผู้ว่าฯน่าจะรู้ดีเพราะเป็นผู้ช่วย world bank มาคุมคุณธารินทร์ปฏิบัติตามสัญญา)
12.สำหรับต้มยำกุ้งครั้งที่แล้วอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศของเงินบาทตกลงมามากทำให้การส่งออกการว่าจ้างแรงงาน พืชผลทางการเกษตรราคาดีขึ้น แลกกับ การสูญเสีย ทรัพย์สิน และกิจการ ของ นายทุน เล็กใหญ่ใหญ่น้อยตั้งแต่ SME จนถึง นายทุนใหญ่ทั้งหลายที่ไปกู้ดอลลาร์มา และการที่จะต้อง โอนสมบัติโรงงาน ใหม่ๆไปให้กับ คนต่างชาติในราคาถูก รวมทั้งระบบการธนาคารของประเทศไทยด้วย ซึ่งทำให้ธนาคารของสิงคโปร์ มาเป็นเจ้าของธนาคารใหญ่ๆในประเทศไทย เกือบทุกแห่ง อนึ่งผู้ใช้แรงงาน ไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนมากมายเท่าไหร่เพราะปัจจัยการผลิตโรงงาน เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆมีเทคโนโลยี ที่สูงกว่า เพื่อนบ้าน และสินค้า ก็ขายได้ Export ก็ขายได้เป็นเทน้ำเทท่าแต่ผู้ได้รับความกระทบกระเทือนมากที่สุดก็คือนายทุนที่ไปกู้เงินดอลลาร์มาลงทุนใน โรงงานอุตสาหกรรม และ SME ทั้งหลายซึ่งทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็ว แต่สำหรับ ในครั้งนี้ เหตุการณ์จะไม่เหมือนกันเพราะเครื่องจักรล้าสมัยหมดแล้ว และโรงงานก็ปิดไปมากแล้วเหตุการณ์ก็ได้ยืดเยื้อมานาน หลายปี ตามแผนอเมริกา ซึ่งวางแผน ให้ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆย้ายไปอยู่ ในประเทศเพื่อนบ้านของเราเช่นเวียดนาม เพื่อที่จะ สร้างแนวต้านทาน อิทธิพลจากจีน หนี้ครัวเรือนก็เพิ่มขึ้น ที่สุดสถานการณ์ก็ฟื้นไม่ได้ ประเทศล่มจมอย่างเดียว
13.ก่อนจะไปถึงข้อ 12 เรายังมีเงินสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ 2 แสนกว่าล้านเหรียญสรอ.และเงินดอลลาร์ล่วงหน้าอีก 26000 ล้านดอลลาร์ ถ้าผู้ว่าฯเป็นคนไทยไม่อยากให้ประเทศแตกสลายต้องการให้ประเทศไทยเจริญเติบโตประชาชนอยู่ดีกินดีไม่ต้องวิ่งไปของานทำในอเมริกาหรือเวียตนาม ประเทศโชติช่วงชัชวาล ยังไม่สายเกินไปที่จะเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนให้เงินบาทอ่อนลง 10-20% เป็น ฿38: us$1 ทุกอย่างจะได้กลับมารุ่งเรืองอีกทั้งการว่าจ้างแรงงานการค้าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวการลงทุนการศึกษาการพัฒนาคุณภาพของประชาชนชาวไทยความอยู่ดีกินดีของคนไทย
14.ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถทำให้เงินบาทแข็งที่ 38 บาทต่อดอลลาร์ได้ไม่ว่าผู้ก่อการร้ายที่จะมาปั่นค่าเงินบาทให้แข็งยังไงเราก็สามารถที่จะทำให้เงินบาทอ่อนถึงอัตรา 38 บาทต่อดอลลาร์ ได้ง่ายนิดเดียว สมมุติว่าผู้ก่อการร้ายพวกนี้ มันเอาดอลลาร์เข้ามาขาย 1 ล้านล้านเหรียญประเทศไทยก็สามารถพิมพ์ธนบัตรออกมา 38 ล้านล้านบาท ไปแลกซื้อดอลลาร์ของมันแล้วเราก็เอาดอลลาร์มาเก็บเป็นเงินสำรองเงินตราต่างประเทศเพื่อมาสำรองการออกบัตร 38 ล้านล้านบาทเพื่อเอาไปใช้ซื้อดอลล่าร์จากมัน และถ้ามันเอาเงินมามากกว่านี้ มันก็ยิ่งดี ธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะเอามาเป็นเงินสำรองเงินตราต่างประเทศของไทยเป็นดอลลาร์แลกกับเงินบาทที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกบัตร M One Money Supply ให้มันไป
เพราะฉะนั้น ถ้ามันเอาเงินเข้ามา Infinity Dollars เราก็สามารถออกบัตร Infinity Bahts เป็นเงินบาทไทยให้มัน ไม่ต้องกลัวว่าเราไม่มีความสามารถในการป้องกัน ไม่ให้เงินบาทอ่อน ถ้าเราต้องการให้เงินบาทอ่อนมันง่ายนิดเดียวอยู่แล้วที่ 38-40 บาท/ดอลล่าร์ ผลที่ตามมาสำหรับระบบการเงินของประเทศไทยก็คือธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีเงินสำรองเงินตราต่างประเทศขึ้นมามากมาย ซึ่งจะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถออกบัตร M1 money supply ได้เพิ่มขึ้นอีกด้วยและธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถกำไรจากการเพิ่มขึ้นของเงินตราต่างประเทศและเงินบาทที่ออกเพิ่มขึ้น M1 money supply จากดอกเบี้ยทำให้สามารถลดดอกเบี้ยเงินกู้สภาพคล่อง M2 Money Supply ก็จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาล แล้วแต่นโยบายการคลังจะปล่อยออกมาเท่าไหร่ ผู้ส่งออกก็สามารถส่งออกสินค้าได้ มีกำไรอย่างสบาย การว่าจ้างแรงงานก็จะเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจก็จะรุ่งเรือง โชติช่วงชัชวาลศรีวิไล รัฐบาลจะมีโอกาสใช้เงินพวกนี้เอาไปทำโครงสร้างพื้นฐานให้ชาวไร่ชาวนาสามารถทำการเพาะปลูกต้นทุนถูกลงไปอย่างมากในแง่การทำประโยชน์ให้กับประชาชนรัฐบาลสามารถพัฒนาการรักษาพยาบาลให้เป็นชั้น 1 ของโลก และการศึกษาก็สามารถพัฒนาให้เป็นการศึกษาชั้น 1 ของโลกพร้อมด้วยการศึกษาการวิจัย Research and Development สำหรับวิทยาการใหม่ๆ เป็นแหล่งการศึกษาที่ 1 ของโลกได้อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 60 ปีที่แล้วในขณะที่เงินเยนอยู่ที่ประมาณ 250 ถึง 300 เยน ต่อดอลลาร์ เป็นช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นเจริญเติบโตมากที่สุด ทุกอย่างพัฒนาไปอย่างสวยงาม
จีนก็เช่นกัน ตอนที่จีนมีอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวน มีค่าต่ำ เป็นช่วงเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานี้ก็ทำให้ประเทศจีนเจริญเติบโตมาก ถ้าเราต้องการให้ประเทศไทยเจริญเติบโตเราไม่ควรจะให้ เงินบาทมีอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทแข็งเกินไป อย่างเช่นปัจจุบันนี้ซึ่งจะยับยั้งการเจริญเติบโตของไทยและในทางตรงกันข้ามจะทำให้ประเทศไทยล่มจมฉิบหายกันหมดทั้งประเทศ แต่ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของ เงินบาทอ่อนไปถึง 38 หรือ 40 บาทต่อดอลลาร์ ประเทศไทยจะอยู่ในสภาวะที่ปรับตัวให้แข็งแรงและก็มีเงินตราต่างประเทศเข้ามามากมายที่จะพัฒนาประเทศได้ ซึ่ง World Bank ไม่สนับสนุนเรื่องนี้เพราะมันเป็นการขัดกับผลประโยชน์ของรัฐบาลอเมริกา ซึ่งต้องการให้ทุกประเทศ ยากจน และต่ำต้อยกว่าคนอเมริกัน
นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังสามารถสั่งให้สมาคมธนาคารและธนาคารทุกแห่งใช้วิธี arbritage ชั่วคราวให้ 1 ดอลลาร์ถ้ามาซื้อขายล่วงหน้าให้แบงค์ชาติแบงค์ชาติจะให้ค่าพรีเมี่ยม เดือนละ 1 บาทต่อดอลลาร์ จนกว่าจะถึงค่า 40 บาทต่อดอลลาร์แล้วหลังจากนั้นค่อยเปลี่ยน อัตราพรีเมี่ย ต่อไป เพื่อสร้างเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนที่ 38 บาทถึง 40 บาทต่อดอลลาร์
15.ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์อ่อนจนถึง 40 บาทต่อดอลลาร์ น่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนไปได้ และก็ทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองกับประเทศ เพราะมันสามารถแก้ปัญหาตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 11 ได้ถึงระดับดี แต่ว่าถ้าอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์ต่ำมากกว่านี้คือ 1 ดอลลาร์มากกว่า 40 บาทอาจทำให้เกิดเงินเฟ้อมากเกินไปก็ได้
ถ้าเรามองภาพ
1.ค่าเงินบาท
2.ค่าเงินดอลล่าร์
และ 3.พลังสร้างความเจริญรุ่งเรืองอยู่ดีกินดีของประชาชน
เปรียบเทียบกับเขื่อนปั่นไฟฟ้าดังนี้
1.ค่าเงินบาท = ระดับของ turbine ปั่นไฟ
2.ค่าเงินดอลล่าร์ = ระดับของน้ำในเขื่อน
และ 3.พลังสร้างความเจริญบ้านเมืองการอยู่ดีกินดีของประชาชน = พลังงานไฟฟ้าที่ปั่นออกมาเป็นโมเดลของอัตราแลกเปลี่ยน กับ น้ำในเขื่อนไฟฟ้าและการปั่นไฟฟ้า
เราจะเห็นว่า ระดับน้ำในเขื่อนยิ่งสูงเหมือนกับค่าเงินดอลล่าร์ยิ่งสูงกว่าบาท (บาทอ่อน) ก็สามารถปั่นไฟได้ยิ่งมากขึ้น (เพิ่มพลังสร้างความเจริญ) แต่ถ้าระดับน้ำต่ำกว่าระดับของเครื่องปั่นไฟก็จะไม่สามารถปั่นไฟออกมาได้เลย (ความเจริญเติบโตไม่เกิด) ถ้าระดับน้ำ สูงเกินไปหรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอ่อนมากเกินไปก็จะทำให้เกิดน้ำท่วม (เศรษฐกิจเจริญร้อนแรงเกินหรือเงินเฟ้อมากเกินไป) ซึ่งมีผลร้ายก็คือน้ำจะท่วมพืชไร่ต่างๆ ในที่ต่ำ
เพราะฉะนั้น ธนาคารประเทศไทยต้องใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง (optimization policy) เพื่อคุมระดับ Exchange rate อย่าให้ต่ำเกินกว่า เท่าที่จำเป็นที่ต้องการที่จะเอาพลังออกมาใช้หรือเท่าที่จำเป็นที่เศรษฐกิจของประเทศต้องการตามนโยบายเศษฐกิจการเมือง (political economics) เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศและความอยู่ดีกันดีของประชาชน
หน่วยราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเศรษฐกิจการเมืองการคลังของประเทศไทยไม่ควรจะเป็นหุ่นกระบอก หรือ humanoid หุ่นเชิดรับคำสั่งจาก world bank ฃึ่งรับคำสั่งจาก รมว.คลัง สรอ.ฃึ่งรับคำสั่งอีกต่อหนี่งจากฉลามนิวยอร์กเพื่อผลประโยชน์ของอเมริกัน เราควรมีระบบการควบคุมระบบการเงินการคลังของเราเอง ใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง (optimization policy) เพื่อความเจริญเติบโตของประเทศ ความอยู่ดีกินดีของประชาชนชาวไทย สร้างแผ่นดินนี้ให้เป็นแผ่นดินรุ่งเรืองศิวิไลซ์อย่างแท้จริง
ข้อ 16. ปัจจุบันนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังอ้างกลไกตลาด ในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลล่าร์ และปล่อยให้ลอยละลิ่วไปตามธรรมชาติของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่อันสำคัญยิ่งที่ผู้ว่าฯได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้ถวายสัตย์ต่อพระองค์ท่านในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาทเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนและ GDP Growth 3-10% ตามนโยบายของประเทศ
ดังที่ได้อธิบายในข้อ 1 ถึงข้อ 15 บทบาทและความสัมพันธ์เกี่ยวโยงระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและกลไกเศรษฐกิจการเงินการคลังพอสรุปได้ว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนการเงินประกอบด้วยคนหลากหลายประเภทไม่ใช่เป็นไปตามธรรมชาติอย่างเดียว ยังมีนักปั่นเก็งกำไรและมีผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กที่หวังกำไรระดับประเทศหลายฝ่ายที่มีความต้องการไม่เหมือนกัน ปะปนอยู่
ในประเทศไทย ธปท.มีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย และเสถียรภาพการเงินเพื่อผลประโยขน์ของประเทศไทย และความอยู่ดีกินดีของประชาชน น่าจะสามารถรักษาเสถียรภาพเงินบาทอ่อนอยู่ที่ระดับ 40 บาท/ดอลลาร์ได้ เพราะ ธปท.สามารถออกเงินบาทมาจ่ายให้ผู้ก่อการร้ายที่จะเอาเงินดอลลาร์เข้ามาปั่นขายในตลาด ธปท.ก็สามารถเข้าแทรกแซงได้เพราะมีเงินบาทพอ เพราะฉะนั้น สำหรับการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนของบาท/ดอลลาร์ให้อ่อนที่ 40/ดอลลาร์ มันก็อยู่ในความรับผิดชอบของ ธปท.ที่จะเป็นคนควบคุมให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทต่อดอลลาร์ได้เพราะมันเป็นอธิปไตยของประเทศไทย ไม่ใช่อยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารโลก
จากการวิเคราะห์ที่ว่า ธปท.สามารถทำให้บาทอ่อนได้ แต่ไม่สามารถทำให้บาทแข็งได้ และบาทอ่อนมีประโยชน์เพราะว่าจะทำให้การส่งออกดี การว่าจ้างแรงงานดี การทำธุรกิจต่าง ๆ มีสภาพคล่องดีทำให้ ธุรกิจใหญ่น้อยมีกำไรดี การลงทุนเพิ่มขึ้นประชาชนอยู่ดีกินดี ทุกอย่างมันดีไปหมด จนถึงระดับจุดหนึ่งที่อัตราแลกเปลี่ยน 40 บาทต่อดอลลาร์ เลยจากระดับจุดนี้ไปอาจจะเกิดสภาพสภาวะเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไปซึ่งอาจจะทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อมากเกินว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ของประเทศ ฉะนั้นมันก็เป็นระด้บจุดที่เสถียรภาพของเงินบาทที่ต้องรักษาไว้ แต่ถ้าเงินเฟ้อมากเกินไป เราก็อาจจะต้องเพิ่มดอกเบี้ย แล้วก็ทำให้เงินบาทแข็งขึ้น ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้ว่า ธปท.ที่จะทำ
ในแง่ทำให้เงินบาทอ่อนลง หรือทำให้ค่าเงินตราดอลลาร์มีค่าสูงขึ้นเทียบกับค่าเงินบาท ทั้งหมดที่ได้อธิบายมาก็เหมือนกับ ธปท.มีหน้าที่และสามารถเพิ่มระดับน้ำในเขื่อนให้สูงขึ้น เมี่อผู้ว่าฯเมื่อมีดอลล่าร์ที่นักปั่นค่าเงินบาทเอาขายให้ธปท.อยู่ในมือ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปอย่างเจริญเติบโต GDP อาจจะโต 3-10% ได้อย่างที่จีนได้ทำมาก่อนหน้านี้แล้ว 20 ปี และญี่ปุ่นก็เคยทำมาแล้วเมื่อ 60 ปีที่แล้ว เพราะฉะนั้น ธปท.ไม่ควรที่จะปล่อยให้ค่าบาท/ดอลล่าร์ลอยไปตามยถากรรมในเมื่อผู้ว่าแบงค์ชาติมีความสามารถที่จะควบคุมระดับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาท/ดอลล่าร์ให้อ่อนถึง 40 บาทได้ (แต่ถ้าจะให้แข็งไปเรื่อยๆไม่ได้ เพราะว่าแบงค์ชาติไม่สามารถพิมพ์ดอลลาร์มาสู้กับพวกผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กได้) เราสามารถที่จะพิมพ์เงินบาทเข้ามาสู้กับผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กได้
อำนาจของการที่จะให้ระดับน้ำในเขื่อนสูงขึ้น เป็นอำนาจของผู้ว่าแบงค์ชาติซึ่งสามารถควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนได้ ถ้าปล่อยให้เงินบาทอ่อน เงินดอลลาร์สูงขึ้นก็คือระดับน้ำในเขื่อนสูงขึ้นก็จะเหมือนกับเทวดาที่สามารถดลบันดาลให้ระดับน้ำในเขื่อนสูงได้ เพราะนี่เป็นหน้าที่รับผิดชอบของ ธปท.โดยตรง ไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรมปล่อยให้ผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กมารังแกประเทศไทย หรือทำตาม World Bank ต้องการ เพราะ world Bank ไม่ได้หวังดีกับประเทศไทย เขาต้องการให้ประเทศทุกประเทศอยู่ได้แต่จะต้องยากจน เป็นเด็กรับใช้ของเขาและของผู้ก่อการร้ายนิวยอร์ก
อนึ่ง อัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับ 40 บาท/ดอลลาร์ นอกจากการเพิ่มพลังงานข้บเคลื่อนกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบทำให้ GDP โต 3%- 10% ได้แล้ว ธปท.ยังสามารถเก็บและได้ส่วนต่าง (กำไร) เงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นได้ ถ้า ธปท.กลัวว่าค่าเงินดอลลาร์จะตกเสื่อมค่า เราก็สามารถที่จะเก็บเงินสำรองเงินตราต่างประเทศนี้เป็นทอง และธปท.ก็สามารถเก็บทองเองได้ไม่จำเป็นต้องเอาไปฝากไว้ที่ Fort Knox(ฟอร์ทน็อกซ์) ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าทองเก่าที่ ธปท.ได้นำไปฝากที่ Fort Knox (ฟอร์ทน็อกซ์)เดี๋ยวนี้ละลายไปอยู่ใน printed circuit boards ที่ไหน แล้วเราจะเอาทองก้อนกลับมาตามเบอร์ของทองก้อนที่เราเอาไปฝากได้หรือไม่
ฉะนั้นเราควรเป็นที่พึ่งของตัวเราเอง เก็บทองไว้ในประเทศน่าจะปลอดภัยกว่า เพราะว่าแม้แต่ประธานาธิบดีอเมริกาชื่อ Thomas Jefferson เขียนจารึกไว้ในรัฐสภาอเมริกันบอกว่า อเมริกาถือว่าทุกประเทศเป็นมิตรเสมอภาคกันหมด ไม่ใช่ทาสรับใช้เพราะฉะนั้นเพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทยและประชาชนชาวไทย
นอกจากเราจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจากการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ให้อ่อนที่ 40 บาท/ดอลลาร์ ธปท.ยังได้ผลประโยชน์จากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับเงินสำรองเงินตราต่างประเทศที่ธปท.มีอยู่ 260,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นส่วนต่างเงินบาท (กำไร) ได้ 260,000×(40-32.5)=1.95 ล้านล้านบาท รวมดอลลาร์รับล่วงหน้า 26,000 ล้านเหรียญ ซึ่งนักปั่นค่าเงินบาทขายล่วงหน้าให้แก่ ธปท.คิดเป็นส่วนต่าง (กำไร) 26,000 (40-32.5)=195,000 ล้านบาท
ถ้าธปท.เข้า แทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนจาก 32.5 บาท/ดอลลาร์ เป็น 40 บาท/ดอลลาร์ ในขณะที่ ธปท.อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ และเป็นหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงของ ธปท. เพื่อให้การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทยและเสถียรภาพทางการเงินการคลังและวินัยทางการเงินการคลังที่ดี
ขอพระสยามเทวาธิราชขอดลบันดาลให้ ธปท.มีสติทำการเป็นมงคลอย่าให้ประเทศไทยเป็นต้มยำกุ้งซ้ำอย่าง 20 ปีที่แล้วที่ผู้ก่อการร้ายนิวยอร์คต้องการ
เทียบให้ดูชัดๆ 'ค่าบาท'กับผลประโยชน์มหาศาลทาง ศก.ในกำมือ'แบงก์ชาติ'
ข้อ17. บทสรุปรัฐบาลไทย ในฐานะผู้คุมนโยบาย เศรษฐกิจการเมือง รวมนโยบายการคลัง (politico economics including fiscal policy โพลิติโค่ อีโคโนมิกส์ อินคลูดดิ้ง ฟิสเคิ่ล โพลิซี่) และผู้ว่าแบงค์ชาติในฐานะผู้ควบคุมนโยบาย การเงิน (monetary policy มอเนตทารี่ โพลิซี่) น่าจะถามประชาชน ผู้ได้รับความเดือดร้อน
จากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันว่า อยากจะ ให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 38 บาท ถึง 40 บาทต่อดอลลาร์ แทนที่จะปล่อยให้มันแข็งอยู่ที่ 32.40 - 34.0 บาท อย่างทุกวันนี้หรือไม่ เพราะถ้าธปท.รักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 38 – 40 บาทต่อดอลลาร์ รัฐบาลและธปท.ก็จะสามารถแก้ไขความทุกข์ร้อนของประชาชนและความเสื่อมสลายของบ้านเมืองสร้างความมั่นคงและความเจริญเติบโตของชาติและความอยู่ดีกินดีของประชาชนได้ดังต่อไปนี้
1. จะทำให้ราคาพืชผลทางเกษตรเพิ่มขึ้น 10-20 %
2. จะทำให้สินค้า ส่งออก Export สามารถเพิ่มปริมาณส่งออกได้ 10% และมีกำไร ในธุรกิจต่างๆ ในขณะเดียวกันก็สามารถลดปริมาณการนำเข้าของสินค้า ซึ่งเป็นคู่แข่งของเราได้ โดยไม่ต้องขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
3. จะทำให้โรงงานอุตสาหกรรมดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ และไม่มีความจำเป็นต้องปิดโรงงาน แต่มีโอกาสที่จะขยายโรงงานเพิ่มกำลังผลิต
4. จะทำให้คนงานไม่ตกงาน ค่าแรงก็จะทยอยกันเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน
5. จะทำให้ประชาชนมี เงิน จับจ่าย ใช้สอยได้ตามอัตภาพไม่ขัดสนและ ไม่ต้องไปขายบ้านขายช่อง ขายที่ ขายนา มาชำระหนี้
6.จะทำให้หนี้ครัวเรือนและหนี้สินบริษัทต่างๆ เป็นหนี้ที่ดี เป็นการลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
7.จะทำให้ธนาคารสามารถปล่อยกู้ได้ตามปรกติ และลดดอกเบี้ยให้ลูกหนี้ได้ เพราะไม่ต้องสำรองหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้
8. จะทำให้โรงงานมีกำไร ผู้ประกอบการมีกำไร ก็มีการลงทุนเพิ่มขึ้น การว่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น ต่างชาติก็จะแห่ผสมโรงตามมาลงทุนเพิ่มด้วย
9. จะทำให้มีการว่าจ้างแรงงานเพิ่มรายรับประชาชน การจับจ่ายใช้สอยภาคประชาชนมากขึ้นรัฐบาลสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น ทำให้มีงบประมาณแผ่นดินเพิ่มขึ้น
10.GDP เพิ่มขึ้นเป็น 3-10 % แทนที่จะเป็น 2.5 % ตาม world bank พยากรณ์
11. เงินสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้แบงก์ชาติสามารถตั้งกองทุนพัฒนาประเทศ ให้กู้สำหรับเงินงบประมาณพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ได้ ทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองศรีวิลัยเป็นประเทศชั้นนำของโลก ประชาชนอยู่ดีกินดีหากินโดยสุจริตได้โดยไม่ต้องมีมิจฉาทิฐิ
ถ้าประชาชนมีความเห็นต้องการความอยู่ดีกินดีประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นประเทศชั้นนำของโลก และลูกหลานมีอนาคตที่ดีไม่ต้องไปของานทำที่อเมริกาหรือเวียตนาม
รัฐบาลโดย กนง.และ ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ต้องมีหน้าที่รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ (฿/us$) ไว้ที่ 38-40 บาทต่อดอลลาร์ ไม่ใช่ปล่อยให้แข็งอยู่ที่32.4-34 บาทต่อดอลลาร์ อย่างทุกวันนี้.
การรักษาเสถียรภาพของเงินบาทไว้ที่ 38 บาท ถึง 40 บาทต่อดอลลาร์ แทนที่จะเป็น 32.50 บาท ต่อดอลลาร์ก็เหมือนกับว่าเป็นการกระจายรายได้ ให้กับประชาชนผู้มีส่วนร่วมในการทำให้การค้าการชำระเงินของประเทศเกินดุลย์ (wealth distribution เวลท์ ดิสทริบิวชั่น)
จากเงินที่ผู้จะส่งเงินตราออกไปนอกประเทศ เช่นผู้นำเข้าสินค้าหรือผู้ว่าจ้างเหมาคนต่างประเทศโดยผ่านระบบการเงินที่ธปท.มีหน้าที่เป็นกรรมการดูแลรักษาเพราะ เงินสำรองเงินตราต่างประเทศเหล่านี้ ซึ่งให้พลังกับธปท.สามารถรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนได้มาจากการส่งออกสินค้า การให้การบริการชาวต่างชาติ การชักชวนให้ต่างชาติมาลงทุนซึ่งล้วนมาจากหยาดเหงื่อแรงงานมันสมองความสามารถของคนไทยที่ทำให้เกิดผลการค้าและการชำระเงินเกินดุลย์กลายมาเป็นเงินสำรองเงินตราต่างประเทศในรูปของดอลลาร์หรือทองคำ มอบให้ธปท.ดูแลตามกฎหมาย
แต่เมื่อทรัพย์สมบัตินี้มีมากขึ้นถึง สองแสนหกหมื่นล้านเหรียญสรอ. หรือ8.7 ล้านล้านบาท -10.4ล้านล้านบาท (ex.33.5บาท-40บาทต่อดอลลาร์$) หรือ60 % ของGDP
กลับมาทำร้ายประชาชนผู้มีพระคุณโดย World Bank สั่งให้ธปท.ผู้มีหน้าที่เฝ้าดูแลเสถียรภาพเงินบาทปล่อยให้บาทแข็งตามหลักกลไกตลาดของ (commodity trading คอมมอดิตี้ เทรดดิ้ง) เป็น 32.4 บาทต่อดอลลาร์$ เพื่อไม่ให้ไทยดีกว่าชาติอื่นที่เขาต้องการสนับสนุนเช่นเวียดนาม แต่มันจะทำให้ไทยตกต่ำและประชาชนผู้มีส่วนร่วมทำให้เงินเกินดุลย์เดือดร้อนอย่างทุกวันนี้
ฉะนั้นธปท.ควรดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้สามารถผลิตสินค้าแข่งขันกับต่างชาติได้เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจการเงินเป็นประเทศชั้นนำของโลกแทนที่จะมาทำร้ายคนไทยด้วยกันทำให้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศร่อยหรอไปพร้อมกับความเดือดร้อนของคนไทยและความเสื่อมโทรมของประเทศ
แบงก์ชาติอย่าลืมบทเรียน บทบาททการเมืองกับวิกฤตต้มยำกุ้ง
ข้อ 18. บทเรียนจากต้มยำกุ้งสมัยเมื่อ 25 ปีที่แล้ว ได้สรุปไว้แล้วใน 17 ข้อ ที่แล้วโดยมีรายละเอียดที่น่าสังเกตุเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทบาทของการเมือง ที่สั่งการธปท.เป็นส่วนที่ก่อให้เกิดต้มยำกุ้ง ดังนี้ :
1.ในขณะนั้น ธปท.รักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแข็งเกินไป เป็นเหตุให้การส่งออกมีปัญหาดุลย์การค้าการชำระเงิน เงินสำรองเงินตราต่างประเทศมีน้อยทำให้
2.อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศสูงกว่าต่างประเทศมาก ทำให้นักลงทุนและนักธุรกิจต้องไปกู้เงินต่างประเทศมาเพื่อลดต้นทุน
3.เงินกู้ต่างประเทศเข้ามามาก ยิ่งทำให้ค่าเงินบาทแข็งส่งออกสินค้าลด นำเข้าสินค้าเพิ่ม เป็นเหตุให้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศร่อยหรอ เศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วในอดีตทำให้เกิดสภาวะอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นเป็นฟองสบู่แตก ขาดสภาพคล่องภายในประเทศ ดอกเบี้ยเงินบาทสูงกว่าดอกเบี้ยเงินดอลล่าร์มาก สถาบันการเงินบางแห่งขาดสภาพคล่อง ธปท. ออกระเบียบให้มาขอยืมเงินกู้จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงิน (FIDF)
โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเต็ม 100 % และคิดดอกเบี้ยถูกกว่าตลาดการเงิน1-2 % ทำให้สถาบันการเงินแห่ไปกู้ยืมมาเพื่อลดต้นทุน
4.รัฐบาลซึ่งถูกครอบงำโดยผู้ทรงอิทธิพล นักครอบงำสั่งธปท.รักษาเสถียรภาพเงินบาท ให้แข็งที่ 25 บาทต่อดอลล่าร์ โดยที่ธปท.มีเงินสำรองเงินตราต่างประเทศไม่กี่ล้านดอลล่าร์ เป็นเหตุใหัผู้ก่อการร้ายกลุ่ม Soros(โซรอส) นิวยอร์ก เชิญชวนผู้ทรงอิทธิพลไทยที่ครอบงำรัฐบาลและรัฐบาลสิงคโปร์ร่วมมือกันโจมตีค่าเงินบาทอย่างรุนแรง และรัฐบาลไทยสั่งเอาดอลล่าร์ไปสู้ให้เงินบาทแข็ง
ช่วงไม่กี่วันเงินดอลล่าร์ในธปท.ก็เหลือไม่ถึง 30,000 ล้านเหรียญ แล้วยังเป็นหนี้กลุ่มผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กและพวกอีก 30,000 ล้านเหรียญ ทำให้รัฐบาลซึ่งถูกผู้ทรงอิทธิพลครอบงำสั่งประชุมครม.ฉุกเฉิน ให้มีมติครมสั่งให้ธปท.ทำการดังต่อไปนี้
1.ลอยค่าเงินบาททำให้อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตามกลไกตลาด (ตามความต้องการของผู้ก่อการร้ายนิวยอร์ก ซึ่งพวกมันก็ปั่นลงมาทะลุ 52 บาทต่อดอลล่าร์) แล้วผู้ครอบงำก็ทำกำไรไปเกือบ 80,000 ล้านบาท
2.ธปท.ถูกคำสั่งโดยมติครม. (ครอบงำโดยผู้ครอบงำรัฐปัจจุบัน)ให้แช่แข็งสถาบันการเงินไปมากกว่า 55 แห่ง (80 % ของสถาบันฯ) อย่างกระทันหันด้วยการใช้ข้ออ้างว่ากู้เงินจากกองทุนฟื้นฟู (FIDF) ทั้งๆที่มี collateral (คอลแลทเทอรัล) 100 % ของเงินยืม (กฎระเบียบปิดแช่แข็งสถาบันการเงินออกมา
โดยมติ ครม.ในวันที่สั่งปิดแช่แข็งสถาบันการเงินซึ่งเป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังตามอำเภอใจ หลังมีคำสั่งตามมติครม.ให้ปิดและแช่แข็งสถาบันการเงินทันที55แห่ง) ทั้งๆที่พวกสถาบันการเงินที่ถูกปิดแช่แข็งไม่ได้ทำผิดกฎระเบียบเดิมที่มีอยู่พร้อมด้วยธนาคารอีก 4-5 ธนาคาร ในภายหลังในข้อหาว่ายืมเงินจากกองทุนฟื้นฟู (FIDF) ทั้งๆที่มี collateral (คอลแลทเทอรัล) เต็ม100%ของเงินกู้ยืม. ทำให้การไหลเวียนของการเงินของประเทศชะงัก
เหมือนการสกัดการหมุนเวียนของโลหิตในร่างกายเพราะเส้นเลือดถูกสกัดกั้นไป80กว่าเปอร์เซนต์ ในเวลาที่ร่างกายต้องการความช่วยเหลือ แล้วหมอใหญ่(ธปท.) กลับสั่งให้ส่งเข้าห้องดับจิตแช่แข็งร่างกาย ผิดกับที่อเมริกาเวลามีปัญหา เขาให้นำเข้าห้อง ICU และให้ออกซิเจนและเลือด(QE.1,2)ทันทีแต่อเมริกาโดย IMF กลับสั่งให้ไทยปฎิบัติตรงข้ามกันเพื่อให้เกิดต้มยำกุ้งให้พวกฉลามนิวยอร์คมาชำแหละอวัยวะของคนเป็นๆไปขายทำกำไร
ในการนี้ รัฐบาลภายใต้การครอบงำของท่านผู้ทรงอิทธิพลยังสั่งให้รัฐกู้เงิน 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐจาก IMF ภายใต้เงื่อนไขมหาโหด ให้ประเทศต้องชำแหละอวัยวะของร่างที่ถูกแช่แข็งขายในราคาถูกแบบเศษเนื้อทิ้ง ให้ผู้ก่อการร้ายนิวยอร์คไปทำกำไรบนสมบัติของชาติ และนักธุกิจที่ทำงานมาตลอดชีวิต มันสั่งให้ธนาคารทั่วโลกเรียกเงินกู้ต่างประเทศคืนหมดจากประเทศไทยทำให้ทุกบริษัทเหล่านี้ต้องเข้า credit bureau(เครดิต บูโร) เสมือนเข้าห้องดับจิตใหัมันใช้กฎหมายฟื้นฟูซึ่งมันบังคับให้รัฐบาลไทยออกกฎหมายให้อำนาจ
เจ้าหนี้เป็นผู้แต่งตั้งผู้ทำแผน/ผู้บริหารแผนมาทำแผนให้เจ้าหนี้อนุมัติมาชำแหละลูกหนี้ (ผิดกับกฎหมายฟื้นฟูกิจการอเมริกา chapter 11 (แชปเตอร์11) ซึ่งกำหนดให้ลูกหนี้เป็นผู้บริหารแผน/ผู้ทำแผนให้เจ้าหนี้อนุมัติซึ่งทำให้ลูกหนี้ของพวกเขาสามารถฟื้นฟูกิจการได้โดยง่าย) และเพื่อให้คนไทยต้องปฎิบัติการตามเงื่อนไขมหาโหดอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ World Bank ยังส่งคนไทยลูกน้องของเขามาคุม รมว.คลังธารินทร์ ให้ปฎิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัด
หลังจากปฎิบัติการต้มยำกุ้งชำแหละร่างไปขายสด ๆ และทำกำไรอย่างมหาศาลให้พวกมัน โดยไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้รัฐบาลไทยแม้แต่บาทเดียวสำเร็จ พวกมันรวมทั้งรมว.คลังไทย และผู้ครอบงำฯ แสดงความยินดีกันอย่างเอิกเกริก คึกโครม มโหฬารในความสำเร็จของพวกมัน บนความขมขื่น หยาดเลือด และน้ำตาของคนไทย ซึ่งคนไทยคงจะไม่มีวันลืม
เมื่อ6เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่พฤษภาคมถึงพฤศจิกายนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นมา 6%ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินดองเวียตนามต่อดอลลาร์สหรัฐแทบไม่เปลี่ยน(แข็งขึ้น0.279%)
ทุกคนมีความหวังว่าท่านผู้ว่าธปท.ต้องมีหน้าที่รักษาเสถียรภาพเงินบาทเพื่อทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรืองศิวิไลซ์
Dollar Index คืออะไร อ่านค่าอย่างไร
เมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นที่ต้องการอย่างกว้างขวาง จึงมีระบบการวัดความต้องการนั้น ๆ ภายใต้สมมติฐานว่า ถ้าค่าเงินสกุลใดเป็นที่ต้องการมาก เงินสกุลดังกล่าวก็จะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลอื่น ๆ ซึ่งการวัดความแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นี้เอง ถูกจัดทำเป็นดัชนีที่เรียกว่า Dollar Index
การที่ผู้ว่าแบงค์ชาติมาอ้างตลอดบอกว่าจะให้เงินบาท มี ความสัมพันธ์ กับดอลลาร์ หรือมีอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาท จ กับดอลลาร์ เป็น อัตราเดียวกับ ประเทศ ใหญ่ในเครือ ข่ายอเมริกาโดยใช้ Dollar index เป็นหลัก ฟังดูแล้วก็มีเหตุมีผลดี ถ้าเราไม่พิจารณาว่าคู่แข่งทางการค้าของเรา คือ พวกที่ไม่ใช่ กลุ่ม ประเทศที่อยู่ในรายการ Dollar Index อันมี 6 ประเทศได้แก่ยุโรป อังกฤษสวีเดน แคนาดา ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์
คู่แข่งของสินค้าเกษตรเรา ได้แก่ประเทศ จีน อินเดีย เวียดนาม เขมร
ส่วน อุตสาหกรรมหนักเช่นเหล็กก็ได้แก่ อินเดียและ จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน
สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยคู่แข่งคือ จีน อินเดีย สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้
สำหรับคู่แข่ง อุตสาหกรรมปูนและ clinker ของไทยก็คือ จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย
สำหรับอุตสาหกรรม รถยนต์แบตเตอรี่ อุปกรณ์เหล็กและเครื่องจักร์ อื่นๆ คู่แข่งของเราก็คือจีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย
ในขณะที่แบงค์ชาติ ปรับอัตราแลกเปลี่ยนของเรา ให้เท่ากับ กลุ่ม ประเทศทั้ง 6 คือให้เงินบาทแข็งกว่าดอลลาร์ ประมาณ 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ประเทศคู่แข่งทางการค้าexportของเราซึ่งไม่ได้อยู่ใน กลุ่ม 6 ประเทศนี้เขากลับลดค่าเงินของเขาเมื่อเทียบกับดอลลาร์ 10% สรุปแล้วเรามี handicap อยู่ 20% ทำให้ต้นทุนสินค้าเราสูงกว่าเขา20%สินค้า Export ของเราไม่มีทางที่จะสู้กับสินค้านอกกลุ่ม 6 ประเทศนี้ได้เลย อันนี้เป็นเหตุให้โรงงานใหญ่น้อยทยอยกันปิดโรงงานหมด แล้วประเทศจะอยู่ได้ยังไงตอนนี้มันลามมาจนถึงโรงงานใหญ่ๆแล้ว SME ถูกปิดไปแล้วสินค้าเกษตรก็ราคาตกต่ำไปแล้วก็ต่อไปนี้กำลังจะลามโรงงานใหญ่ๆซึ่งโรงงานรถยนต์ก็ปิดไปแล้วโรงเหล็กก็ปิดไปแล้ว ต่อไปอุตสาหกรรมไทยจะอยู่ได้ยังไง ถ้ายังใช้ US Dollar index เป็นหลัก เพราะฉะนั้น แบงค์ชาติ ต้อง อย่างน้อย ควบคุม อัตราแลกเปลี่ยน ให้ 1 ดอลลาร์เท่ากับ 37 บาท ซึ่ง เรายังมี handy cap อยู่ 10% แต่ถ้าจะให้ดีก็ ก็ลดให้เต็ม เท่ากับคู่แข่งเราคือ 20%
ใน6เดือนตั้งแต่24เดือนพฤษภาคมถึง19เดือนพฤศจิกายนอัตราแลกเปลี่ยนเงินดองเวียตนาม/$แทบไม่เปลี่ยนในขณะที่เงินบาท/$แข็งขึ้นจาก36.69บาทเป็น34.55บาทหรือแข็งขึ้น
จี้แบงก์ชาติคุมค่าบาท 37 บาทต่อดอลลาร์ เทียบ'ไทย-เวียดนาม'ตอนนี้แพ้เขายับเยิน
สำหรับในข้อที่ 19 นายประชัย ชี้ว่า การที่ผู้ว่าแบงก์ชาติมาอ้างตลอดบอกว่า จะให้เงินบาทมีความสัมพันธ์กับดอลลาร์ หรือมีอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับดอลลาร์เป็นอัตราเดียวกับประเทศใหญ่ในเครือข่ายอเมริกา โดยใช้ Dollar index เป็นหลัก ฟังดูแล้วก็มีเหตุมีผลดี ถ้าเราไม่พิจารณาว่าคู่แข่งทางการค้าของเราคือ พวกที่ไม่ใช่กลุ่มประเทศที่อยู่ในรายการ Dollar Index อันมี 6 ประเทศได้แก่ ยุโรป อังกฤษ สวีเดน แคนาดา ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์
คู่แข่งของสินค้าเกษตรเรา ได้แก่ประเทศจีน อินเดีย เวียดนาม เขมร ส่วนอุตสาหกรรมหนักเช่นเหล็กก็ได้แก่ อินเดียและจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกของไทยคู่แข่งคือจีน อินเดีย สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ สำหรับคู่แข่ง อุตสาหกรรมปูนและ clinker ของไทยก็คือ จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ แบตเตอรี่ อุปกรณ์เหล็กและเครื่องจักรอื่นๆ คู่แข่งของเราก็คือ จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย
ในขณะที่แบงค์ชาติ ปรับอัตราแลกเปลี่ยนของเราให้เท่ากับกลุ่มประเทศทั้ง 6 คือให้เงินบาทแข็งกว่าดอลลาร์ ประมาณ 24.44% เมื่อเทียบกับ 20 ปีที่แล้ว ประเทศคู่แข่งทางการค้า export ของเราซึ่งไม่ได้อยู่ในกลุ่ม 6 ประเทศนี้ เขากลับลดค่าเงินของเขาเมื่อเทียบกับดอลลาร์ 77.53% สรุปแล้วเรามี handicap อยู่ 101.97% ทำให้ต้นทุนสินค้าเราสูงกว่าเขา 101.97 สินค้า Export ของเราไม่มีทางที่จะสู้กับสินค้านอกกลุ่ม 6 ประเทศนี้ได้เลย อันนี้เป็นเหตุให้โรงงานใหญ่น้อยทยอยกันปิดโรงงานหมด แล้วประเทศจะอยู่ได้ยังไง
ตอนนี้มันลามมาจนถึงโรงงานใหญ่ๆ แล้ว SME ถูกปิดไปแล้ว สินค้าเกษตรก็ราคาตกต่ำไปแล้ว ก็ต่อไปนี้กำลังจะลามโรงงานใหญ่ๆ ซึ่งโรงงานรถยนต์ก็ปิดไปแล้ว โรงเหล็กก็ปิดไปแล้ว ต่อไปอุตสาหกรรมไทยจะอยู่ได้ยังไงถ้ายังใช้ US Dollar Index เป็นหลัก เพราะฉะนั้นแบงค์ชาติต้องอย่างน้อยควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน ให้ 1 ดอลลาร์เท่ากับ 37 บาท ซึ่งเรายังมี handicap อยู่ 10% แต่ถ้าจะให้ดีก็ลดให้เต็มเท่ากับคู่แข่งเราคือ 20%
ใน 6 เดือนตั้งแต่ 24 เดือนพฤษภาคม ถึง 19 เดือนพฤศจิกายน อัตราแลกเปลี่ยนเงินดองเวียดนาม / ดอลลาร์ แทบไม่เปลี่ยน ในขณะที่เงินบาท / ดอลลาร์ แข็งขึ้นจาก 36.69 บาท เป็น 34.55 บาท หรือแข็งขึ้น ml 6 เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่พฤษภาคมถึงพฤศจิกายน เงินบาท/ดอลลาร์ แข็งขึ้นมา 6% ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินดองเวียดนาม/ดอลลาร์ แทบไม่เปลี่ยน (แข็งขึ้น 0.279%)
* หมายเหตุ_แม้แต่Dollar Indexก็ขึ้นมา 1.3% แต่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท / ดอลลาร์กลับแข็งขึ้น 6% แทนที่จะอ่อนลง 1.3% ตามที่ธปท.อ้างมาตลอด
ทุกคนมีความหวังว่าท่านผู้ว่า ธปท. จะยังรักษาเสถียรภาพเงินบาท เพื่อทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีและประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรืองศิวิไลซ์
เทียบให้ดูชัดๆ อัตราแลกเปลี่ยนย้อนหลัง 20 ปี จี้'กนง.-ธปท.'ควรลดค่าเงินบาท
ข้อที่ 20 นายประชัย ได้เปรียบเทียบให้ดูจาก charts ของอัตราแลกเปลี่ยน และ Dollar Index ตลอดเวลา 20 ปีที่ผ่านมาปรากฎว่า
1.Dollar Index(ดอลล่าห์อินเด็กซ์) เพิ่มจาก100.9เป็น106.47คิดเป็นการแข็งค่าขึ้น5.57%
2. อัตราแลกเปลี่ยนต่อดอลล่าร์
2.1.ไทย45.7411บาทแข็งขึ้นเป็น34.5บาทคิดเป็นแข็งขึ้น24.5%
2.2.เงินหยวนจีน.8.276หยวนแข็งขึ้นเป็น7.2หยวนคิดเป็นแข็งขึ้น13%
2.3 .เงินดองเวียดนาม.15998.958ดองอ่อนตัวลงเป็น25,400ดองคิดเป็นอ่อนตัวลง58.75%.
สรุปแล้วเงินบาทแข็งตัวมากที่สุดไม่ว่าจะเทียบกับ
ก.ดอลล่ารอินเด็กซ์ บาทไทยแข็งกว่า18.93%.
ข.หยวนจีนบาทไทยแข็งกว่า11.5%.
ค.ดองเวียดนามบาทไทยแข็งกว่า83.26%.
กนง.และ ธปท.ควรจะพิจารณาดูว่าถ้าจะให้อุตสาหกรรมเกษตรกรรมการค้าและการว่าจ้างแรงงานดำเนินการไปได้โดยไม่ให้มีการปิดโรงงานโรงแล้วโรงเล่า และประชาชนไม่ตกงานมีเงินจับจ่ายใชัสอยตามอัตภาพมีความเป็นอยู่สุขสบายอยู่ดี กนง.และธปท.ควรจะลดค่าเงินบาทมาเทียบเท่ากับดอลล่าร์อินเด็กซ์(อ่อนลง18.93%)ตามที่แถลงตลอดเวลาหรือไม่อย่างน้อยก็ต้องเทียบเท่าหยวนจีน(อ่อนลง11.5%)
ดูจากchart (ชาร์ท) อัตราแลกเปลี่ยนดอลล่าร์ต่อเงินวอนเกาหลีใต้จะเห็นได้ว่าเงินวอนอ่อนค่าลงจาก1,200วอนต่อดอลล่าร์เป็น1,400วอนต่อดอลล่าร์หรือคิดเป็นอ่อนค่าลง16.67%
ในขณะที่เงินบาทไทยแข็งค่าขึ้น24.5%ทำให้เกาหลีใต้เป็นประเทศเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลกขอให้ท่านที่มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมเสถียรภาพการเงินการคลังและความอยู่ดีกินดีเศรษฐกิจการเมืองพิจารณาดูอย่าให้สินค้าไทยถูกตีจากสินค้า import (อิมพอต) และสินค้า export (เอ็กซ์พอต) ทำให้เกิดการเลิกจ้างแรงงาน คนตกงาน เนื่องจากการปิดโรงงานโรงแล้วโรงเล่า หนี้สินครัวเรือน หนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ท่วมท้นจนแก้ไม่ไหวอยู่แล้ว
ชาวบ้านเดือดร้อนกันทั่วหน้าหรือจะคอยความช่วยเหลือพร้อมคำสั่ง world bank (เวิลด์แบงค์) มาสั่งให้ประเทศไทยแช่แข็งศพของสถาบันการเงินและปัจจัยการผลิตทั้งประเทศแล้วหั่นศพให้ผู้ก่อการร้ายนิวยอร์คเอาไปรับประทานเหมือนสมัยต้มยำกุ้งที่ท่านผู้ว่าฯมากำกับการแสดงกับรมว.คลังธารินทร์
ชึ่งพวกเราคนไทยหวังว่าท่านจะมีความรับผิดชอบต้องป้องกันไม่ยอมให้มีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นซ้ำอีก
ชง 4 ข้อเสนอ‘ธปท.’คุมค่าบาท ก่อนกลียุคทางเศรษฐกิจ
นายประชัย ยังกล่าวในข้อที่ 21 ว่า ข่าวสารการปิดโรงงานโรงแล้วโรงเล่า ทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพิ่มขึ้นอย่างท่วมท้นยากที่ธปท.และรัฐบาลจะแก้ไขได้ ตามที่เครดิตบูโรและธปท.ได้แถลงไว้นั้น เหตุเนื่องมาจาก ธปท.ปฏิบัติหน้าที่รักษาเสถียรภาพเงินบาทอย่างเสรีนิยมโดยปล่อยให้ค่าเงินบาทขึ้นลงตามธรรมชาติ หรือตามยถากรรมแล้วแต่ผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กจะปั่นขึ้น เท่าที่พวกมันต้องการทั้งๆที่ช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาประเทศคู่แข่งทางการค้าของเรา เช่น จีน เวียดนาม เกาหลีใต้ ต่างปล่อยให้ค่าเงินของเขาอ่อนค่ากว่าเราเป็น 10% ขึ้นไป แม้แต่ค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์อินเด็กซ์ ค่าเงินบาทก็แข็งกว่า 18.93% ทำให้สินค้าส่งออกแพงกว่าของคู่แข่ง
ขณะเดียวกันราคาสินค้านำเข้าจากคู่แข่งทางการค้าราคาคิดเป็นเงินบาท กลับถูกกว่าของเรา เป็นเหตุให้สินค้าส่งออกขาดทุน ขณะเดียวกันสินค้านำเข้าก็ถูกกว่าต้นทุนการผลิตจากโรงงานภายในประเทศ ทำให้ต้องปิดโรงงาน โรงแล้ว โรงเล่า คนงานตกงานเป็นสิบล้านคน
สำหรับสินค้าปฐมภูมิก็เช่นกัน สินค้าต่างประเทศที่มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ด้อยค่ากว่าเงินบาท ทำให้ราคาสินค้าที่เกษตรกรและฟาร์มปศุสัตว์ในประเทศได้รับตกต่ำลง เงินที่จะจับจ่ายซื้อสินค้าหายไปมาก ภาษีที่รัฐบาลเก็บได้ต่ำกว่างบประมาณแผ่นดิน หนี้สินครัวเรือนและหนี้สินไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น ยากแก่การแก้ไข สถาบันการเงินได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ซึ่งธปท.รู้เป็นอย่างดี ตามรายงานของธปท.และเครดิตบูโรที่แนบมา อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยต้มยำกุ้งเมื่อ 20 ปีที่แล้ว โดย world bank อาจสั่งแช่แข็งสถาบันการเงินและปัจจัยการผลิตทั้งประเทศแล้วหั่นศพแยกอวัยวะศพขายให้ผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กและพวก ในราคาเท่าเศษเนื้อไปทำกำไร
แต่ครั้งนี้คงจะเกิดกลียุคเพราะคนจนที่ได้รับผลกระทบมีมาก อาชญากรรมเต็มบ้านเต็มเมือง เพราะคนไม่มีเงินจับจ่ายใช้สอยตามสมควร
ขอวอนให้ ธปท.อย่าประมาท ทำการรักษาเสถียรภาพเงินบาทอย่างจริงจัง อย่างน้อยบาทควรอ่อนลง
ก.11.5%เหมือนเงินหยวนจีน หรือ
ข. 18.93%เหมือนกับดอลลาร์อินเด็กซ์ หรือ
ค. 16.67+24.5=41.17% เหมือนกับเงินวอนเกาหลีใต้ หรือ
ง. 83.26%เหมือนกับเงินดองเวียดนาม
(หมายเหตุ:ข้อ ค.และข้อ ง.อ่อนมากเกินไป)
ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ การปิดโรงงาน การว่าจ้างแรงงาน คนว่างงาน
การบริโภคภายในประเทศ หนี้ครัวเรือนและหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้
GDP โต 3-5%
และอื่นๆตามที่ได้เคยอธิบายในข้อ 17 ( ‘ประชัย’ยกบทสรุป 17 ข้อ ฉายภาพ‘เศรษฐกิจไทย’กับ‘ค่าเงินบาท’ ที่แบงก์ชาติต้องตัดสินใจ) ในแนวหน้าออนไลน์
ผู้เขียนต้องขอชมเชยความฉลาดอัจฉริยภาพและความรักชาติของผู้ว่าการธนาคารเกาหลีใต้ที่กล้าฟันฝ่าสู้รบไม่กลัวเกรงอิทธิพลของผู้ก่อการร้ายนิวยอร์คในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมาทำให้เงินวอนอ่อนค่าลง 16.67 % มีผลทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองติดอันด้บต้นๆของโลก ในขณะที่ธปท.ยอมปล่อยให้เงินบาทแข็งขึ้น 24.5 % ตามยถากรรมไปหลงเชื่อตามคำสั่งเยินยอว่าเก่ง สามารถทำให้บาทแข็งขึ้นได้ แซงหน้า us Index ทั้งๆที่ us Index แข็งขึ้นเพียง 5.57 %โดยไม่สนใจความเจริญของประเทศและความเดือดร้อนของประชาชนชาวไทย
แต่น่าสงสารประเทศญี่ปุ่นซึ่งแพ้สงครามกับอเมริกาเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 300 เยนต่อus$ ประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญมหาศาลประเทศร่ำรวยสามารถไปซื้อกิจการต่างๆในอเมริกาได้แม้แต่ Rockefeller Centre (ร็อคกี้เฟลเลอร์ เซ็นเตอร์)ในนิวยอร์ค พวกผู้ก่อการร้ายนิวยอร์คเลยสั่งให้ญี่ปุ่นเพิ่มค่าเงินเยน ให้แข็งขึ้นเป็น 80 เยนต่อดอลล่าร์ ผวก.ธนาคารญี่ปุ่นแม้จะรักชาติ แต่จำใจต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ก่อการร้ายนิวยอร์ค ซึ่งเป็นเจ้าเข้าครอบครองญี่ปุ่น และผู้ก่อการร้ายก็ทำกำไรไปอย่างมหาศาลในปี 1985 เมื่อ Nixon ลอยค่าดอลล่าร์จาก $32 ต่อทองคำ 1 ทรอย ออนซ์ หลังจากเงินเยนแข็งตัวขึ้น เศรษฐกิจและความเจริญญี่ปุ่นก็ถดถอยไปเรื่อยๆ จนทุกวันนี้กลายเป็นประเทศ soft power ท่องเที่ยวอย่างเดียว
สำหรับจีนช่วงที่ต้องพึ่งอเมริกามาลงทุนในจีนเพื่อดูดซับ Technology และ know -how ต่างๆและเขัาถึงตลาดอเมริกา วิธีการลดต้นทุนแบบ Mass Production เมื่อ 20 ปีก่อนนี้ ก็จำยอมทะยอยแข็งค่าเงินหยวนขึ้นมา 13 % ตามดอลล่าร์อินเด็กซ์ ซึ่งขึ้นมา 5.59 %. ผิดกับไทยซึ่งไม่ได้เป็นอาณานิคมของอเมริกา กลับแข็งค่าเงินบาท 24.5 % แซงหน้า US Indexไป 18.93%โดยประมาทขาดสติ
จากตัวเลขที่สรุปมาจะเห็นถึงผลกระทบที่ร้ายแรงของอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาท ต่อความเจริญมั่นคงของประเทศ และความเดือดร้อนของประชาชน ถ้าปล่อยไปตามยถากรรมไม่รักษาเสถียรภาพให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองและประชาชนอยู่ดีมีสุข
ต้องทำเร่งด่วน!!! ฉายภาพให้ดูชัดๆ ชี้ข้อดีการคุมค่าบาท 38-40 บาทต่อดอลลาร์
ในข้อที่ 22 นี้ นายประชัย ได้ออกมาชี้ถึงข้อดีของการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทไว้อย่างน่าสนใจว่า นักวิชาการยังมีข้อกังวลอยู่ถึงผลกระทบของการทำให้เงินบาทอ่อนถึง38 -40 บาทต่อดอลลาร์ (หรืออ่อนลง10%-20%)ในทางลบ
ความจริงผลกระทบทางมหภาคก็คือ GDP จะโตขึ้น 3% -10% แทนที่จะเป็น 2.5% เพราะผลผลิตของโรงงานจะเพิ่มขึ้นแทนการปิดโรงงานเพราะสามารถผลิตส่งออกและขายภายในประเทศสู้กับสินค้านำเข้าได้ ผลผลิตมวลรวมของประเทศ (GDP) ก็จะเพิ่มขึ้น หนี้สินครัวเรือนลดลง และเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลและธปท.ต้องรีบจัดการกับวิกฤติการณ์ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอยู่ทุกวันนี้อันได้แก่ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณวันนี้ มีอยู่ 1 ล้านล้านบาท จากหนี้ครัวเรือนทั้งหมด 16 ล้านล้านบาท ถ้าไม่รีบแก้ไขสถานการณ์ปล่อยให้โรงงานปิดโรงแล้วโรงเล่า ต่อไปอาจจะไม่เหลือเลยสักโรง แล้วหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่กำลังจะมีปัญหาอีก 3 ล้านล้านบาทกลายเป็นปัญหาและอาจจะขยายลามไปเป็น หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มทั้งหมด เป็น16 ล้านล้านบาท แล้วก็จะกระทบกระเทือนถึงสถานบันการเงินทั้งประเทศจนสถาบันการเงินอาจจะถึงขั้นวิกฤติทำให้สถาบันการเงินต้องเพิ่มทุน ถ้าเพิ่มทุนไม่ได้ก็ต้องปิดกิจการแบบเดียวกับต้มยำกุ้งเมื่อ 27 ปีที่แล้ว แล้ว World Bank ก็คงจะมาสั่งให้แช่แข็งศพ แล้วก็ผ่าศพเอาอวัยวะไปขายทิ้งในราคาถูกๆแบบเศษเนื้อให้กับพวกผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กตามเคย
แต่ถ้าธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงเป็น 38 บาท/ดอลลาร์ถึง 40 บาท/ดอลลาร์ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ก็จะแก้ไขได้ เศรษฐกิจไทยก็จะหายวิกฤติประเทศชาติก็ไม่ต้องมีกลียุคจากความไม่สงบภายในประเทศเนื่องจากความยากจนเดือดร้อนของประชาชน สถาบันการเงินก็จะสามารถปล่อยกู้ได้ตามปรกติดอกเบี้ยปล่อยกู้ลดลง เมื่อไม่มีการปิดโรงงาน คนงานก็จะไม่ตกงาน มีเงินจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้ความสามารถในการชำระหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากการมีกำไรของธุรกิจอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและเกษตรกรรม การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้มากขึ้นงบประมาณแผ่นดินก็จะเพิ่มขึ้น เงินสำรองเงินตราต่างประเทศก็จะเพิ่มขึ้น
แต่สิ่งที่ตามมาก็คือจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเพิ่มเป็น 1.5%-5% ซึ่งเป็นเรื่องปรกติคู่กับความเจริญเติบโตของประเทศที่มี GDP โตระดับ 3%-10% ในส่านผลดีอื่นๆทั้งหมดนั้นได้บรรยายไปหมดแล้วใน ตอนที่ 17
ข้อกังวล ที่บางท่านนำมากล่าวชี้นำต่อต้านการรักษาเสถียรภาพเงินบาทที่ 38-40 บาทต่อดอลลาร์คือประชาชนจะต้องซื้อสินค้าที่จำเป็นที่จะต้องนำเข้าจริงๆ เช่นน้ำมัน นำเข้าแพงขึ้น ทำให้ค่าขนส่งแพงขึ้น แต่ความจริงถ้าธุรกิจดีขึ้นจำนวนสินค้าที่ขนส่งก็มีมากขึ้น แม้ต้นทุนค่าขนส่งที่แพงขึ้น เนื่องจากน้ำมันแพงขึ้นก็สามารถชดเชยได้โดยต้นทุนการเงินเช่นค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยของรถบรรทุก และค่าจ้าง แรงงานคนขับรถและค่าใช้จ่ายบริหารต่อหน่วยซึ่งจะลดลงเทียบกับการไม่มี สินค้าที่จะขน อันเนื่องจากมีการปิดกิจการ ปิดโรงงาน ธุรกิจหดหายเพราะตันทุนการผลิตสู้สินค้าต่างชาติไม่ได้อันเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทแข็งเกินไป เป็นเหตุให้คนตกงานไร้งานทำไม่มีเงินใช้จ่ายไม่สามารถชำระหนี้ครัวเรือน16 ล้านล้านบาทได้ เนื่องมาจาก อัตราแลกเปลี่ยนสูงเกินไป ซึ่งจะทำให้ บริษัทขนส่งขาดทุน จนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัวถูกยึดรถยึดบ้านยึดกิจการ
แต่ถ้าราคาน้ำมันแพงขึ้นแล้วมีการขนส่งสินค้ามากขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยของค่าขนส่งก็อาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่มาก ดีกว่าให้รถบรรทุกจอดอยู่เฉยๆไม่มีงานทำ แม้ค่าขนส่งขึ้นเล็กน้อยแต่มีงานทำและมีเงินที่จะผ่อนใช้คืนเงินผ่อนรถและจ่ายค่าจ้างแรงงานค่าบริหารงานได้
สำหรับสินค้าที่มีผลิตในประเทศไทย ผู้นำเข้าสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยได้ก็สามารถผันตัวไปเป็นเอเย่นต์ขายสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยได้ ทำการค้าปกติ ไม่ได้เสียหาย สำหรับคนงานก็มีงานทำ แม้ว่าค่าครองชีพจะสูงขึ้นเพราะว่าเกิดเงินเฟ้อขึ้นมาไม่เกินความเติบโตของ GDP แต่เมื่อมีงานทำมากขื้น ค่าจ้างแรงงาน และเงินเดือนก็ต้องสูงขึ้น พอที่จะ คนงานสามารถอยู่ได้ พร้อมเงินออมชดเชยกับราคาสินค้าที่แพงขึ้นได้ เพราะฉะนั้นคนจนที่ต้องหาเช้ากินค่ำ ก็ไม่อดตายไปนอนข้างถนนเหมือนที่อเมริกาแล้วยังมีเงินออมเหลือด้วย ถ้ามีการว่าจ้างแรงงานกันขึ้นมามากๆค่าจ้างแรงงานก็จะสูงขึ้น
สำหรับสินค้าเกษตร ราคาก็จะสูงขึ้นเพราะว่าราคาสินค้าเกษตรส่งออกสูงขึ้น เกษตรกรก็ไม่เดือดร้อน เพราะเงินเฟ้อจะไม่เกิน GDP growth. ราคาสินค้าโดยทั่วๆไป เฉลี่ยแล้วก็จะขึ้นบ้างเพราะว่าค่าแรงขึ้นและต้นทุนน้ำมันแพงขึ้น แต่ว่าเนื่องจากทุกคนมีงานทำ โรงงานมีผลผลิตมากขึ้นต้นทุนการผลิตต่อหน่วยก็ลดลง ตามทฤษฎีของ Mass Production ดีกว่าปิดโรงงานแล้วไม่มีงานทำไม่มีปัญญาชำระเงินกู้และดอกเบี้ยทำให้โรงงานถูกยึดไปขายเป็นเศษเหล็ก เพราะฉะนั้นเมื่อคิดโดยรวมแล้วต้นทุนสินค้าก็ขึ้นบ้างไม่ได้มากเกินไป
สำหรับผู้ที่มีเงินออมเหลืออยู่ก็สามารถเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นได้อย่างเช่นทอง เครื่องเพชรหรือสังหาริมทรัพย์ก็ได้ แล้วเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทลดลงเศรษฐกิจดีขึ้นราคาของก็ต้องสูงขึ้นราคาที่ดินและบ้านก็ต้องสูงขึ้น
รัฐบาลเก็บภาษีอากรได้มากขึ้นมีงบประมาณแผ่นดินมากขึ้นสามารถทำรัฐสวัสดิการให้ประชาชนมีการเรียนฟรีรักษาโรคฟรีมีสวัสดิการปลูกบ้านประชาสงเคราะห์ให้เช่าในราคาถูก 99 ปี ซึ่งก็จะทำให้คนไม่เดือดร้อนมีที่อยู่อาศัย
สำหรับคนที่มีเงินอยู่มากและจะไปท่องเที่ยวต่างประเทศก็ถือว่าไม่เดือดร้อน เพียงแต่ ค่าท่องเที่ยวแพงขึ้นและใช้เงินในต่างประเทศซื้อของแบรนด์เนมได้จำนวนน้อยชิ้นลง ก็ไม่ได้เดือดร้อนมากมาย แต่ไปต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรีไม่ต้องไปขอต่างชาติอยู่อาศัยอย่างยาจก
สรุปแล้วการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทให้ เป็น 38-40 บาทเป็นเรื่องเร่งด่วนเพื่อแก้วิกฤติการของประเทศให้พ้นจากกลียุคและจะทำให้ ประเทศเจริญและประชาชนอยู่ดึกินดีปราศจากความเดือดร้อนประเทศร่ำรวย รัฐบาล เก็บภาษีได้มากขึ้น มีเงินงบประมาณแผ่นดินเพิ่มขึ้น และแบงค์ชาติยังสามารถตั้งกองทุนพัฒนาประเทศขึ้นมา จากเงินสำรองเงินตราต่างประเทศ และทองที่เพิ่มขึ้น (ซึ่งทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถออกบัตรได้เพิ่มขึ้น)
กองทุนพัฒนาประเทศนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อให้รัฐบาล กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ย 0.5%ไป พัฒนาประเทศในด้านต่างๆเช่น การศึกษา การแพทย์ศิลปวัฒนธรรมการวิจัยพัฒนาวิทยาการใน แขนงต่างๆกัน เพื่อยกระดับความรู้ ความสามารถของนักศึกษา นักวิชาการนักวิทยาศาสตร์ แพทย์และ วิศวกรในแขนงต่างๆเป็น ระดับชั้นนำของโลก รวมทั้งพัฒนาระบบ สาธารณูปโภค และความเป็นอยูที่ดีของประชาชนให้เป็นรัฐสวัสดิการเพื่อความเจริญของประเทศและความอยู่ดีกินดีของประชาชนชาวไทย
ชี้ประโยชน์การเดินสายกลาง ในนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาท/ดอลล่าร์
และในข้อที่ 23 นี้ นายประชัย สรุปให้เห็นถึงประโยชน์ของการเดินสายกลางในนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาท/ดอลล่าร์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ในอดีตประเทศไทยใช้อัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างแข็ง โดยธนาคารแห่งประเทศไทย Fixed Exchange Rate Policy ( ฟิกซ์ เอ็กซ์เชนจ์ เรท โพริซี )ที่ 23 บาท/ดอลล่าร์ ภายหลังวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งก็เปลี่ยนมาเป็น Free Floating Rate (ฟรีโฟด์ติ้ง เรท)จนเงินบาทอ่อนลงถึง 53 บาท/ดอลล่าร์ จึงเปลี่ยนมาเป็น Managed Floating Rate (เมเนจ โฟด์ติ้ง เรท) อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับตลาดการเงินโดย ธปท. คอยดูแลไม่ให้เงินบาทอ่อนเกินไปหรือแข็งไป จนกระทั่งเงินบาทแข็งขึ้นถึงระดับ 36.5 บาท/ดอลล่าร์
ในขณะที่ดอลล่าร์ต่อยูโร = 1.085 ดอลล่าร์เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว แต่ต่อมาก็เกิดการเก็งกำไรจากผู้ก่อการร้ายนิวยอร์ก ปั่นค่าเงินบาทให้แข็งขึ้นเป็น 32.40 บาท/ดอลล่าร์ (ควรจะเป็น 35.36 บาท/ดอลล่าร์) ในขณะที่ ดอลล่าร์ต่อยูโร = 1.12 และขณะนี้ ดอลล่าร์ต่อยูโร = 1.041 ธปท. ก็ยังปล่อยให้เป็น 34.07 บาท/ดอลล่าร์ ซึ่งถ้าคำนวณตาม ยูโรต่อดอลล่าร์ เงินบาทต่อดอลล่าร์ ควรจะเป็น คูณ 1.085 = 38.04 การที่ ธปท. ปล่อยค่าเงินบาทแข็งขึ้นมามากโดยไม่เข้าแทรกแซงเพราะการที่ไปศึกษาที่อเมริกามา
โดยที่มีแต่การสอนทำให้เงินแข็ง เพราะจะได้มีชื่อเสียง และประชาชนสามารถซื้อของนำเข้าจากอเมริกาได้มากๆ โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนตามหลักการบริหารนโยบายการเงินที่สอนกันในอเมริกา แต่ที่เขาไม่ได้สอนกันในเรื่อง การเดินทางสายกลางมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทำเงินบาทให้อ่อนในระดับกลางเพื่อได้เงินตราต่างประเทศเข้ามา เมื่อได้เงินตราต่างประเทศมามากแล้ว ก็ไม่ปล่อยให้เงินบาทอ่อนเกินไป (อ่อนกว่า 38-40 บาท/ดอลล่าร์) จะมีผลทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองอย่างไร ประชาชน สุขสบายอย่างไร กลับกันจากการที่ปล่อยให้เงินบาทแข็งไปเรื่อยๆ (แข็งกว่า 34 บาท/ดอลล่าร์) แล้วทำให้ส่งออกไม่ได้ นำเงินตราต่างประเทศเข้ามายาก เกิดการขาดดุลการค้า การชำระเงิน โรงงานปิดกันไปทั่ว คนตกงานไม่มีเงินจับจ่ายใช้สอย หนี้ครัวเรือนกลายเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ สถาบันการเงินเลิกปล่อยกู้และต้องเพิ่มทุน ประเทศเกิดกลียุค ประชาชนเดือดร้อนไปทั่ว
ปัจจุบันตำราเรียนที่สอนเกี่ยวกับการควบคุมนโยบายการเงินของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในอเมริกามีองค์ประกอบหลักหลายประการ ดังนี้
1. ธนาคารกลาง: ธนาคารกลางเป็นสถาบันหลักที่รับผิดชอบในการกำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน โดยใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมาย เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ย การดำเนินการในตลาดเปิด และข้อกำหนดการสำรองเงินตรา
2. เงินเฟ้อ: การควบคุมเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายพื้นฐานของนโยบายการเงิน ธนาคารกลางมุ่งหวังที่จะรักษาเสถียรภาพราคาเพื่อให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจทำงานได้อย่างราบรื่น
3. การเติบโตทางเศรษฐกิจ: นโยบายการเงินใช้เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ธนาคารกลางอาจปรับนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือทำให้เศรษฐกิจเย็นลงในช่วงที่เศรษฐกิจตึงตัวเกินไป
4. การจ้างงาน: ระดับการจ้างงานที่สูงมักเป็นเป้าหมายของนโยบายการเงิน ธนาคารกลางบางแห่งมีภารกิจสองประการในการมุ่งเน้นทั้งเสถียรภาพด้านราคาและการจ้างงานสูงสุด
5. อัตราแลกเปลี่ยน: อัตราแลกเปลี่ยนอาจได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงิน โดยเฉพาะในประเทศที่มีการค้าต่างประเทศจำนวนมาก Federal Reserve (เฟดเดอร์เรอ รีเซิร์ฟ) หรือธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาอาจเข้ามาแทรกแซงเพื่อรักษาเสถียรภาพหรือมีอิทธิพลต่อมูลค่าของสกุลเงิน ซึ่งในอเมริกา ไม่มีการปรับเปลี่ยนมาจนถึงปี ค.ศ.1971 เมื่อ NIXON (นิกสัน) ลอยค่าเงินดอลล่าร์จากทองคำ 35ดอลล่าร์/Troy ounce (ทรอยออนซ์ ) เป็นการลดค่าเงินดอลล่าร์จากทองคำ แต่ไม่ยุ่งกับเงินสกุลอื่นทำให้นักศึกษาในอเมริกาเรื่องนโยบายการเงินไม่มีความรู้เรื่องกลไกของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน และผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากเรียนรู้แต่เพียงว่าต้องทำให้เงินแข็งเพื่อชื่อเสียงของประเทศ แต่ไม่รู้ว่าถ้าเงินแข็งเกินไปจะทำให้ประเทศเสียหายล่มจมอย่างไร และทำให้เสียชื่อเหมือนต้มยำกุ้งไทยในที่สุด
6. เสถียรภาพทางการเงิน: การรับประกันเสถียรภาพของระบบการเงินเป็นเป้าหมายอีกประการหนึ่ง ธนาคารกลางตรวจสอบและจัดการความเสี่ยงทางการเงินเพื่อป้องกันวิกฤต
7. นโยบายรัฐบาล: นโยบายการคลังและการตัดสินใจของรัฐบาลสามารถมีอิทธิพลต่อนโยบายการเงิน การประสานงานระหว่างนโยบายการเงินและการคลังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประสิทธิผลทางเศรษฐกิจโดยรวม
8. ภาวะเศรษฐกิจโลก: แนวโน้มทั่วโลก เช่น ความสัมพันธ์ทางการค้าและการไหลเวียนของเงินทุนระหว่างประเทศ ส่งผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงินในประเทศ
9. ความคาดหวังของประชาชน ธนาคารกลางพิจารณาความคาดหวังของประชาชนเกี่ยวกับเงินเฟ้อและประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ เนื่องจากสามารถส่งผลต่อผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่แท้จริงได้
10. กรอบนโยบายการเงิน: การจัดตั้งสถาบันของประเทศ ไม่ว่าจะปฏิบัติตามเป้าหมายเงินเฟ้อ เป้าหมายทางการเงิน หรือกรอบอื่นๆ จะส่งผลต่อการดำเนินนโยบายการเงิน ปัจจัยเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับบริบททางเศรษฐกิจเฉพาะ โครงสร้างทางกฎหมาย และกรอบสถาบัน
ธนาคารกลางในอเมริกาจะไม่สนใจให้อัตราแลกเปลี่ยนของดอลล่าร์อ่อนค่า เพราะความยิ่งใหญ่ของเขา แต่ถ้าเป็นธนาคารประเทศไทย เราต้องศึกษาผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ และความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมากมายทั้งดีและร้ายหลายอย่างแล้วแต่ ธปท. จะมีเป้าหมายอันใด ดังนี้
1. ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน: เมื่อมูลค่าของสกุลเงินของประเทศผันผวน มันสามารถมีอิทธิพลต่ออัตราเงินเฟ้อภายในประเทศและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การแข็งค่าของเงินตราสามารถทำให้ราคาสินค้านำเข้าลดลง ลดอัตราเงินเฟ้อได้ แต่ยังสามารถทำให้การส่งออกมีราคาแพงขึ้นและเป็นอันตรายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศด้วย ในทางกลับกัน การอ่อนตัวของค่าเงินจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก แต่เพิ่มราคานำเข้าซึ่งมีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น
2. การควบคุมเงินเฟ้อ: ธนาคารกลางอาจปรับอัตราดอกเบี้ยหรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพของสกุลเงินและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ เช่น หากการปรับลดค่าเงินราคานำเข้าสูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ธนาคารกลางก็อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรับมือกับอัตราเงินเฟ้อได้
3. นโยบายอัตราดอกเบี้ย: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง การอ่อนตัวของค่าเงินอาจนำไปสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศและสร้างเสถียรภาพให้กับค่าเงิน (แต่ถ้าประเทศมีเงินตราต่างประเทศอยู่เป็นจำนวนมากแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ย) ในขณะที่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจเป็นการกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
4. กระแสเงินทุนไหลมาเทมา: อัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผลกระทบต่อการไหลของเงินทุนที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมของสินเชื่อและการลงทุนในเศรษฐกิจ การไหลเข้าหรือไหลออกของเงินทุนจำนวนมากอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินและบังคับให้ธนาคารกลางต้องปรับนโยบายการเงินตามนั้น แต่ถ้าประเทศมีเงินตราต่างประเทศจำนวนมากอยู่แล้ว เรื่องนี้ก็ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องนำมาพิจารณา
5. ดุลการชำระเงิน: อัตราแลกเปลี่ยนมีบทบาทสำคัญต่อดุลการชำระเงินของประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อดุลการค้า การลงทุนจากต่างประเทศ และเงินสำรอง การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องอาจกดดันค่าเงินและบังคับให้มีการปรับนโยบายการเงินเพื่อแก้ไขความไม่สมดุล
6. สภาพเศรษฐกิจโลก: อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้รับอิทธิพลจากภาวะเศรษฐกิจโลก เช่น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศคู่แข่งสำคัญ ธนาคารกลางจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยภายนอกในการกำหนดนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในประเทศ
7. การคาดการณ์และการเก็งกำไร: ความคาดหวังของตลาดและกิจกรรมเก็งกำไรสามารถผลักดันการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ธนาคารกลางต้องแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศโดยตรง หรือปรับนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
สรุปแล้ว นโยบายการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด โดยแต่ละฝ่ายมีอิทธิพลต่ออีกฝ่าย ผู้กำหนดนโยบายต้องพิจารณาพลวัตของอัตราแลกเปลี่ยนอย่างรอบคอบเมื่อออกแบบนโยบายการเงิน และศึกษาผลดีของการรักษาค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลงมาในระดับกลาง (38-40 บาท/ดอลล่าร์ ไม่ใช่แข็งกว่า 38 บาท/ดอลล่าร์ และไม่อ่อนเกิน 40 บาท/ดอลล่าร์) ให้เสมอภาคกับคู่แข่งทางการค้า เพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เช่น ต้นทุนการส่งออก การว่าจ้างแรงงานเต็มพิกัด ทำให้มีการจับใช้สอย อย่างสะดวกสบาย ลดกลียุค เสริมสร้างสภาพคล่องของการเงิน มีเงินเฟ้อที่แน่นอน มีความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชน การอยู่ดี กินดี ของประชาชน และการเติบโตอย่างยั่งยืน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี