นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าบีโอไอได้หารือร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เพื่อส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น โดยการจูงใจให้ใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศ ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นคนไทย (ไทยคอนเทนต์) จากเดิมมีเพียงข้อกำหนดการใช้ชิ้นส่วนสำคัญในประเทศ ถ้าต่อไปใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตโดยเอสเอ็มอีคนไทย จะได้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมขึ้นไปอีก คาดว่า ภายใน 2 เดือนนี้จะได้ข้อสรุป ก่อนเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างมาก ต้องการเห็นไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) ในทุกประเภท ทั้งไอซีอี อีวีซึ่ง 3 ปีที่ผ่านเหตุที่เน้นการส่งเสริมอีวี เนื่องจากอีวี ยังเป็นเรื่องใหม่ของประเทศไทย จึงต้องออกมาตรการส่งเสริมออกมาต่อเนื่อง เพราะไทย
ต้องการเปลี่ยนสถานะจากผู้นำเข้าเป็นผู้ผลิตแทนเพื่อรักษาความเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ของโลก จึงต้องออกมาตรการสนับสนุนผูกเงื่อนไขต้องผลิตในประเทศ ไม่เช่นนั้นไทยจะมีสถานะเป็นเพียงผู้นำเข้า และนำเข้าจากจีน ภาษี 0%ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน-จีนซึ่งปัจจุบันนี้ถือว่า ประสบความสำเร็จที่มีนักลงทุนหลายแบรนด์ หลายประเทศ เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย
“สิ่งที่เราทำเพิ่มเติมในการสร้างสมดุลทั้งอุตฯยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และอุตสาหกรรมรถไอซีอี เป็นการดำเนินการควบคู่กันทั้ง 2 ประเภทล่าสุดได้หารือร่วมกับส.อ.ท. และสมาคมชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อออกมาตรการส่งเสริมให้ใช้ไทยคอนเทนต์ เป็นมาตรการอีกชั้นหนึ่งออนท็อปเพิ่มเติม ตอนนี้กำลังหารือกับส.อ.ท. และสมาคมชิ้นส่วนฯ เพื่อออกแบบกลไกว่ามีวิธีการดูอย่างไรเพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีคนไทยตัวจริงได้ประโยชน์ เมื่อตกผลึกแล้วจะเสนอบอร์ดพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ จะมีกิจกรรมส่งเสริมการเชื่อมโยงซัพพลายเชนในประเทศต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่งทางบีโอไอจะหาแนวทาง หรือมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมที่สุด เพื่อเป้าหมายให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์อันดับ 1 ในอาเซียนและติด 1 ใน 10 ของโลก” นายนฤตม์กล่าว
นายนฤตม์กล่าวว่า ในส่วนของการส่งเสริมอุตสาหกรรมอีวี ต้องทำให้อุตสาหกรรมแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดย
ต้นน้ำ ต้องสนับสนุนการลงทุนแบตเตอรี่ในระดับเซลล์ ขนาดใหญ่ให้เกิดในประเทศไทย คาดหวังให้เกิดขึ้นในปี’68 และปลายน้ำ ต้องมีธุรกิจบริหารจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้วและโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่ โดยต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด และต้องมีระบบติดตามได้ว่าแบตเตอรี่อยู่ที่ไหน นำมารีไซเคิลให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่
“ที่ผ่านมามาตรการอีวีที่เราเสนอบอร์ด เป็นการหารือร่วมกับผู้ประกอบการทุกค่ายของทุกประเทศ เพราะฉะนั้นมาตรการที่ออกมา ถือว่า
ตอบโจทย์แผนการลงทุน เพื่อให้ทุกค่ายแข่งขันได้นำไปสู่ให้ฐานอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเข้มแข็ง ส่วนกรณีจะมีค่ายรถญี่ปุ่น ปิดอีกหรือไม่ ผมเชื่อมั่นว่า จะไม่มีการปิดอีก หลังจากเราได้พูดคุยทั้งมาตรการไฮบริด มายด์ไฮบริด ครอบคลุมทุกค่ายจะสามารถแข่งขันในประเทศไทย และเติบโตต่อไปได้” นายนฤตม์กล่าว
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี