มร.ลาร์ส ไฮบุทสกี้ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า อัคคีภัยและความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง เป็นความกังวลหลักของบริษัทในประเทศไทย เพราะเป็นสาเหตุสำคัญของการหยุดชะงักทางธุรกิจและการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ธุรกิจต้องประเมินและปรับปรุงแนวทางการบรรเทาความเสี่ยงจากอัคคีภัยอย่างรอบคอบและสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความสูญเสียจากเหตุการณ์ใดๆ เมื่อเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรงเกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้น ภัยธรรมชาติและการหยุดชะงักทางธุรกิจจึงกลายเป็นความเสี่ยงอันดับต้นๆ ในประเทศไทย สิ่งนี้ตอกย้ำความสำคัญของห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น รวมถึงมาตรการโอนความเสี่ยงเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากการหยุดชะงักทางธุรกิจที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ทั้งนี้อัคคีภัยและการระเบิดเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจอันดับหนึ่งในประเทศไทย โดยขึ้นจากอันดับ 4 มาเป็นอันดับ 1 ความรุนแรงของภัยนี้ทำให้เกิดการหยุดชะงักอย่างมากและส่งผลให้การฟื้นตัวใช้เวลานานมากขึ้นเมื่อเทียบกับภัยด้านอื่นๆโรงงานที่เสียหายอาจใช้เวลาหลายปีในการสร้างใหม่และกลับมาดำเนินการผลิตได้อย่างเต็มกำลัง ในปี 2567 มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอัคคีภัยและการระเบิดหลายเหตุการณ์ในประเทศไทยที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทรัพย์สินเสียหาย และธุรกิจหยุดชะงัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุเพลิงไหม้ถังเก็บสารเคมีที่นิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกของไทย ระเบิดที่โรงงานเหล็กในจังหวัดระยอง เพลิงไหม้โรงงานสารตั้งต้นพลาสติกในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และระเบิดคลังดอกไม้ไฟในภาคกลาง
อลิอันซ์ คอมเมอร์เชียล วิเคราะห์การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนประกันภัยการหยุดชะงักทางธุรกิจมากกว่า 1,000 ราย ในช่วงห้าปีซึ่งสิ้นสุดลงในปี 2566(มูลค่าเกิน 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และพบว่าอัคคีภัยเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเรียกร้องค่าสินไหมเหล่านี้ และคิดเป็นมูลค่ามากกว่าหนึ่งในสามของมูลค่าการเรียกร้องค่าสินไหมทั้งหมด (36%)
ส่วนภัยธรรมชาติจัดอยู่ในอันดับความเสี่ยงที่สำคัญเป็นอันดับสองในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ประเทศที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมสูงที่สุดในโลก เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงกันยายน2567 ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนมากกว่า 180,000 ครัวเรือนและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคเกษตรกรรมโดยมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 4.34 หมื่นล้านบาท(1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติที่มีหน้าที่ประสานงานการดำเนินงานเพื่อการบรรเทาทุกข์และป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ
สำหรับการหยุดชะงักทางธุรกิจเป็นความเสี่ยงอันดับ 3 ในประเทศไทย โดยธุรกิจต่างๆ เผชิญความเสี่ยงจากหลายด้าน การหยุดชะงักทางธุรกิจสัมพันธ์อย่างมากกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่นน้ำท่วมในเดือนสิงหาคมและกันยายนปี 2567ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรเท่านั้น แต่ยังสร้างความเสียหายอย่างมากต่อภาคการท่องเที่ยว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 491 ล้านบาท(14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และส่งผลให้ไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่ที่สุดของโลกมีปริมาณการผลิตยางพาราลดลง 30% ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน
นอกจากนี้ธุรกิจในประเทศไทยยังเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในระดับโลก เช่น การเข้ามาของสินค้านำเข้าราคาถูกซึ่งส่งผลให้โรงงานปิดตัวเพิ่มขึ้น40% ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ถึงมิถุนายน 2567เมื่อเทียบกับ 12 เดือนก่อนหน้า ผู้ผลิตรายเล็กประสบปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นและค่าแรงที่สูง
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี