เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2568 จากกรณีการต่อสู้ในทางกฏหมายระหว่างกลุ่มเจ้าหนี้การบินไทยกับกระทรวงการคลัง หลังมีกลุ่มเจ้าหนี้สหกรณ์กับเจ้าหนี้หุ้นกู้รายย่อยยื่นเรื่องร้องให้ศาลไต่สวนว่ากระทรวงการคลังมีสิทธิ์ในการโหวตแก้แผนฟื้นฟูกิจการในการประชุมเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมาหรือไม่ โดยศาลมีคำสั่งให้เลื่อนการนัดฟังคำสั่งออกไปเป็นวันที่ 21 มกราคม 2568 เพื่อให้เจ้าหนี้การบินไทยที่ยื่นคัดค้าน เตรียมเอกสารมาให้ครบถ้วนนั้น
สรุปคำร้องของเจ้าหนี้การบินไทยเพื่อขอไต่สวนการประชุมเจ้าหนี้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฉบับลงวันที่ 26 ธันวาคม 2567 และ 10 มกราคม 2568 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 ไม่มีสถานะ ฐานะ สิทธิ และหน้าที่ในฐานะเจ้าหนี้ในวันประชุมเจ้าหนี้ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567
จากข้อเท็จจริงเรื่องการแปลงหนี้ของกระทรวงการคลังเป็นหุ้นสามัญของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (การบินไทย) เพื่อนำหุ้นสามัญดังกล่าวมาดำเนินการชาระหนี้ให้แก่กระทรวงการคลังนั้น เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ (และต่อมาศาลล้มละลายกลางเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการที่เจ้าหนี้ได้เห็นชอบแผน) การลงมติเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการของที่ประชุมเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงเป็นคำเสนอของกระทรวงการคลังต่อลูกหนี้ (หรือการบินไทย)และเมื่อคณะผู้บริหารแผนมีมติให้แปลงหนี้เป็นหุ้นในภาคบังคับสำหรับกระทรวงการคลัง ก็เท่ากับว่าคณะผู้บริหารแผนตอบรับคำเสนอของกระทรวงการคลังเป็นคำสนองทำให้หนี้ของกระทรวงการคลังที่กำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการหมดสิ้นไป ณ วันที่คณะผู้บริหารแผนมีมติให้แปลงหนี้เป็นหุ้นของกระทรวงการคลังภาคบังคับ
ส่วนการแปลงหนี้เป็นหุ้นภาคสมัครใจ กระทรวงการคลังได้มีหนังสือเสนอความประสงค์ที่จะแปลงหนี้ดอกเบี้ยตั้งพักของกระทรวงการคลังทั้งจำนวนให้เป็นหุ้น ดังนั้นตั้งแต่วันที่คณะผู้บริหารแผนมีมติยอมรับคำเสนอโดยสนองรับการแสดงเจตนาขอแปลงดอกเบี้ยตั้งพักของกระทรวงการคลังดังกล่าว จึงทำให้ความเป็นเจ้าหนี้ดอกเบี้ยตั้งพักของกระทรวงการคลังสิ้นสุดลงในวันที่คณะผู้บริหารแผนมีมติยอมรับให้แปลงหนี้ดอกเบี้ยตั้งพักของกระทรวงการคลังเช่นเดียวกัน กล่าวคือ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567
ภายหลังจากที่ที่ประชุมผู้บริหารแผนได้อนุมัติให้แปลงหนี้เป็นทุนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 นายทะเบียนหลักทรัพย์ TSD ก็ได้รับรองบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของการบินไทยที่ระบุกระทรวงการคลังเข้าเป็นผู้ถือหุ้นต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ย่อมมีผลผูกพันตามกฎหมายกับกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นโดยสมบูรณ์แล้ว กระทรวงการคลังจึงมิใช่เจ้าหนี้อีกต่อไป ประกอบกับศาลล้มละลายกลางก็ได้เห็นชอบและมีคาสั่งอนุญาตตามแผนเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นโดยได้รับชาระหนี้ครบถ้วนจากการบินไทยโดยสมบูรณ์แล้ว
การเปลี่ยนแปลงสถานะของกระทรวงการคลังจากเจ้าหนี้เป็นผู้ถือหุ้นที่เป็นผลจากการแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ ไม่จำเป็นที่จะต้องรอการรับจดทะเบียนจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เนื่องจาก พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 วรรคท้าย ระบุไว้ว่า “ไม่ให้นำมาตรา 136 ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาใช้กับการทำแผนฟื้นฟูกิจการ” โดยมาตรา 136 ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จากัด พ.ศ. 2535 กาหนดให้การเพิ่มทุนของบริษัทต้องจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนต่อนายทะเบียน แต่กฎหมายล้มละลายได้ยกเว้นไว้เป็นกรณีพิเศษสาหรับการปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการ
ดังนั้น การแปลงหนี้เป็นทุนซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะของกระทรวงการคลังจากเจ้าหนี้เป็นผู้ถือหุ้นของการบินไทยจึงถือว่ามีผลสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ที่ประชุมผู้บริหารแผนได้อนุมัติให้แปลงหนี้เป็นทุนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงไม่ได้มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของการบินไทยนับตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นมา
นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า กระทรวงการคลังได้มีพฤติการณ์แทรกแซงการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วของการบินไทย ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยการส่งหนังสือแจ้งขอให้ระงับการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วของการบินไทย “จนกว่าการประชุมเจ้าหนี้วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 จะเสร็จสิ้น” ยิ่งพิจารณาเห็นได้ว่า แท้ที่จริงแล้วกระทรวงการคลังก็ไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ในวันประชุมเจ้าหนี้แล้ว แต่ก็พยายามดาเนินการด้วยวิธีการที่แทรกแซงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียน เพื่อให้กระทรวงการคลังยังคงมีสิทธิเข้าประชุมเจ้าหนี้ได้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อกระทรวงกำรคลังซึ่งไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของการบินไทย นับตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 การเข้ำร่วมประชุมและออกเสียงในฐานะเจ้าหนี้ วันที่ 29 พฤศจิกำยน 2567 ทำให้มีมติอนุมัติการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาตให้กระทรวงการคลังเข้าร่วมประชุมเจ้าหนี้และออกเสียงในมติที่มีผลต่อเจ้าหนี้ทุกรายนั้น ถือเป็นการให้ผู้ที่มิใช่เจ้าหนี้กระทาการออกเสียงในมติสำคัญและมีผลเสียหายต่อเจ้าหนี้ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประเทศชาติ และประโยชน์สาธารณะ
2. การประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอแก้ไขแผน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-meeting) วันที่ 29 พฤศจิกำยน 2567 นั้น เป็นกำรจัดประชุมทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดต่อรูปแบบตามที่กำหนดไว้ตำมกฎหมาย
ในการประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ที่จัดขึ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้จัดให้เจ้าหนี้ที่เข้าร่วมประชุมแสดงตนหรือยืนยันตัวตนเพื่อเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อนการเข้าร่วมประชุมและเข้าไปลงมติผ่านเว็บไซต์ของกรมบังคับคดี Led.go.th ตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
จากการที่ไม่มีขั้นตอนการยืนยันตัวตนในการประชุมเจ้าหนี้ทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการประชุม อาทิ เช่น (1) มีบุคคลกลุ่มหนึ่งที่เข้าร่วมประชุมด้วยอีเมลที่ไม่สามารถยืนยันตัวตนว่าเป็นเจ้าหนี้รายใด (2) มีบุคคลมากกว่า 1 คนเข้าร่วมประชุมแทนเจ้าหนี้แต่ละราย ทั้งที่เงื่อนไขการเข้าร่วมประชุม วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เจ้าหนี้ 1 รายเข้าร่วมประชุมด้วยอีเมล 1 อีเมล จึงทำให้ไม่อาจทราบได้ว่า บุคคลที่ลงมติแต่ละวาระ (ทั้งสามวาระ) เป็นเจ้าหนี้ที่แท้จริง หรือเป็นบุคคลที่ได้รับมอบอานาจจากเจ้าหนี้ที่แท้จริงหรือไม่ ประการใด
นอกจากนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้เก็บข้อมูลการยืนยันตัวตนพร้อมข้อมูลจราจรทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กฎหมายกาหนด ซึ่งข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางอิเล็กทรอนิกส์มีความสาคัญที่ต้องตรวจสอบและเก็บรักษาไว้ เพราะจะสามารถตรวจสอบและยืนยันตัวตนได้ว่า เจ้าหนี้แต่ละรายใช้ โครงข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ IP Address ใดเข้าประชุม และประชุมจริงหรือไม่ ซึ่งเป็นหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สาคัญ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามคาแถลงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่แถลงว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้เก็บข้อมูลจราจรทางอิเล็กทรอนิกส์ในวันประชุม จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีการตรวจสอบว่าบุคคลที่เข้าร่วมแต่ละรายเป็นเจ้าหนี้จริงหรือไม่ และใช้ IP Address ใดเข้าประชุมทาให้มติการประชุมเจ้าหนี้ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 จึงเป็นการประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขัดต่อหลักการประชุมทางอิเล็กทรอนิกส์ ทาให้การประชุมอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวมีผลเป็นโมฆะต่อไปได้
3. คะแนนเสียงของเจ้าหนี้ที่ลงมติล่วงหน้าไม่ถูกนำมาคำนวณรวมเป็นมติในที่ประชุมในวันที่ 29 พฤศจิกำยน 2567
จากการตรวจสอบมติในที่ประชุมของเจ้าหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นต่อศาลล้มละลาย ประกอบกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับเจ้าหนี้บางรายที่ได้ส่งมติล่วงหน้าให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนวันประชุม เจ้าหนี้ที่ร้องขอให้ไต่สวนพบว่ามติการประชุมของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กล่าวคือ การลงมติล่วงหน้าของเจ้าหนี้บางรายกลับไม่ถูกนำมาคำนวณรวมในมติของเจ้าหนี้ เช่น
(1) บริษัท แบงค์คอก ไรเตอร์ จากัด เจ้าหนี้รายที่ 1963 ได้ส่งมติล่วงหน้าให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทางไปรษณีย์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567
4 อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบจากผลลงมติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (ตามเอกสารที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งต่อศาลตามหมายเรียกพยานเอกสาร) กลับไม่ปรากฏว่า บริษัท แบงค์คอก ไรเตอร์ จากัด ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 แต่อย่างใด
(2) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน บริษัทการบินไทย จากัด (มหาชน) เจ้าหนี้รายที่ 6856 ได้โหวตโดยส่งมติล่วงหน้า ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตอบรับยืนยันว่าได้รับอีเมลดังกล่าวทางอีเมล เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เมื่อได้ตรวจสอบจากผลลงมติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (ตามเอกสารที่ส่งต่อศาลตามหมายเรียกพยานเอกสาร) กลับไม่ปรากฏว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน บริษัทการบินไทย จากัด (มหาชน) ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 แต่อย่างใด
จากกรณีตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่า มติล่วงหน้าที่เจ้าหนี้ได้ส่งแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้นำมาคำนวณรวมในมติพิจารณาข้อเสนอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงเป็นการนับคะแนนมติในที่ประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และส่งผลให้การประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เป็นการประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีผลผูกพันการบินไทย เจ้าหนี้ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อไป
4. คะแนนเสียงของเจ้าหนี้ที่ลงมติล่วงหน้าถูกเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ ไม่ตรงกับมติที่เจ้าหนี้ออกคะแนนเสียง
เจ้าหนี้ที่ร้องขอให้ไต่สวนได้ตรวจสอบเพิ่มเติม และพบว่าคะแนนเสียงของเจ้าหนี้บางรายที่ลงมติล่วงหน้าถูกเปลี่ยนแปลง ไม่ตรงกับมติที่เจ้าหนี้ออกคะแนนเสียงจริง อาทิเช่น มติของนางกิติมา โดยนางกิติมาฯ ได้ส่งมติล่วงหน้าทางอีเมล ให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งนางกิติมาฯ ได้ลงมติในวาระการแก้ไขแผนฉบับที่ 3 ว่า “ไม่ยอมรับ” แต่ในมติพิจารณาข้อเสนอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผน ฉบับที่ 3 ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กลับปรากฏว่า นางกิติมาฯ ลงมติในวาระการแก้ไขแผนฉบับที่ 3 ว่า “ยอมรับ”
จากข้อเท็จจริงข้างต้น จึงเห็นได้ว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้สรุปมติการประชุมของนางกิติมาฯ ผิดพลาดอย่างเป็นสาระสาคัญ กล่าวคือ ระบุมติไม่ยอมรับของนางกิติมาฯ เป็นมติยอมรับการแก้ไขแผน
ด้วยเหตุดังกล่าว การประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ครั้งนี้จึงเป็นการประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมติการประชุมมีความผิดพลาดจากมติที่เจ้าหนี้แสดงเจตนาลงมติจริง และไม่มีผลผูกพันการบินไทย เจ้าหนี้หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
5. เรื่องการลงมติในที่ประชุมเจ้าหนี้ทำพร้อมทั้งสามวาระในคราวเดียว ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ทราบถึงรายละเอียดการลงมติทั้งสามวาระในคราวเดียว ส่งผลให้เจ้าหนี้ไม่ได้ลงมติในวาระการประชุมอย่างครบถ้วน
ในการประชุมเจ้าหนี้ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ประกอบไปด้วยวาระในการพิจารณา จำนวน 3 วาระ ซึ่งโดยปกติ การลงคะแนนเสียงของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ผ่านมา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะจัดให้ที่ประชุมเจ้าหนี้ดำเนินการโหวตทีละวาระ และประกาศผลทีละวาระ เรียงวาระไปตามหนังสือเชิญประชุมเจ้าหนี้
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมเจ้าหนี้ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กลับจัดให้มีการลงคะแนนเสียงทั้งสามวาระในคราวเดียว ซึ่งเป็นการลงคะแนนเสียงที่แตกต่างไปจากการประชุมเจ้าหนี้ที่เคยจัดก่อนหน้านี้ของการบินไทย ทั้งนี้ เจ้าหนี้ก็ไม่ได้แจ้งรายละเอียดการเปลี่ยนรูปแบบการลงคะแนนเสียงดังกล่าวให้แก่เจ้าหนี้ทราบก่อนการประชุมแต่อย่างใด
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้เจ้าหนี้ลงคะแนนเสียงทั้งสามวาระในคราวเดียว ก่อให้เกิดความสับสนต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างมาก กล่าวคือ เจ้าหนี้หลายรายที่เข้าใจว่า การลงมติในที่ประชุมจะเป็นการลงมติในแต่ละวาระ เจ้าหนี้รายดังกล่าวก็ได้ลงคะแนนเสียงเพียงแค่วาระที่ 1 เพียงวาระเดียว และกดส่งผลการลงคะแนนเข้าไปในระบบ ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่า เจ้าหนี้รายดังกล่าวไม่ได้ลงคะแนนเสียงในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 อันส่งผลให้คะแนนในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 เป็น “การงดออกเสียง” ซึ่งไม่ใช่เจตนาในการลงคะแนนเสียงที่แท้จริงของเจ้าหนี้รายดังกล่าว
ทั้งนี้ ปรากฏว่ามีเจ้าหนี้รายหนึ่งที่ไม่ทราบว่าจะต้องลงมติใน 3 วาระในคราวเดียว ในวันประชุมดังกล่าว เมื่อถึงเวลาให้ลงมติในเว็บไซต์ของกรมบังคับคดี ปรากฏว่า ในหน้าเว็บไซต์ของกรมบังคับคดีปรากฏให้เจ้าหนี้รายดังกล่าว ลงคะแนนเพียงวาระที่ 1เพียงวาระเดียว และไม่ปรากฏช่องหรือข้อความใดๆ ให้ลงมติในวาระที่ 2 และ 3 ดังนั้น เจ้าหนี้รายดังกล่าว จึงมีโอกาสลงมติแค่วาระที่ 1 เท่านั้น
นอกจากนี้ เมื่อเจ้าหนี้รายดังกล่าวได้ทักท้วงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า เจ้าหนี้ไม่ได้ลงคะแนนเสียงในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 เนื่องจากระบบการลงคะแนนเสียงที่เปลี่ยนรูปแบบ และเจ้าหนี้ไม่รับทราบการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการลงคะแนนเสียงมาก่อนการประชุม โดยเจ้าหนี้ประสงค์ที่จะลงคะแนนเสียงในวาระที่ 2 และ 3 อีกครั้ง ปรากฏว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กลับปฏิเสธไม่ให้เจ้าหนี้เข้าไปในระบบเพื่อลงคะแนนเสียงใหม่ โดยอ้างว่า “สิ้นสุดเวลาการลงคะแนน” และปิดระบบการลงคะแนนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ภายหลัง เมื่อเจ้าหนี้รายข้างต้นได้กลับมาตรวจสอบมติการประชุมของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กลับปรากฏข้อผิดพลาดในมติการประชุมข้างต้น กล่าวคือ ในมติการประชุมระบุว่า เจ้าหนี้รายนั้นได้ลงมติในวาระที่ 1 เป็น “ยอมรับ” และวาระที่ 2 และ 3 เป็น “งดออกเสียง” ซึ่งการระบุมติของเจ้าหนี้รายนั้นๆ เป็นการระบุมติที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก เจ้าหนี้รายดังกล่าวไม่ได้ออกคะแนนเสียงในวาระที่ 2 และ 3 เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของระบบการลงคะแนนเสียงของกรมบังคับคดี ไม่ใช่มติที่เจ้าหนี้ข้างต้นประสงค์จะลงมติที่แท้จริงแต่อย่างใด
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี