IBERD หารือคณะผู้บริหารจังหวัดชิซุโอะกะ และ JPHRI ประเทศญี่ปุ่น เดินหน้าขับเคลื่อนความร่วมมือการพัฒนาการท่องเที่ยวน้ำพุร้อน สร้างเศรษฐกิจชุมชน ด้วย Wellness Tourism และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก
ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจการพาณิชย์ (Institute of Business Economics Research and development : IBERD) ร่วมให้การต้อนรับและเลี้ยงรับรอง คณะผู้แทนจากสภาจังหวัดและเจ้าหน้าที่รัฐบาลจังหวัดชิซุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2568 พร้อมพบปะหารือแนวทางความร่วมมือการพัฒนาการท่องเที่ยวน้ำพุร้อน ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOC) (เมื่อ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา) ระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD) กับสถาบันสุขภาพและวิจัยของประเทศญี่ปุ่น (Japan Health and Research Institute : JPHRI) ในการส่งเสริมการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านสุขภาพ (Health and wellness) กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และเรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงานด้านการพัฒนาโครงการน้ำพุร้อน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ เปิดเผยว่า การเดินทางมาประเทศไทยของคณะจังหวัดชิซุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น นำโดย JPHRI ในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 เป็นความมุ่งมั่นจริงจังในการที่จะขับเคลื่อนงานการสร้างเครือข่าย การแสวงหาความร่วมมือด้านต่างๆ การพัฒนาการท่องเที่ยวน้ำพุร้อน และเศรษฐกิจเวลเนส อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีขอบเขตความร่วมมือที่มุ่งเน้นประโยชน์จากการศึกษาแลกเปลี่ยนงานวิจัย งานวิชาการ แนวทางส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำพุร้อนสาธารณะ (Public Bath) เป็นลำดับแรก เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเพิ่มรายได้สร้างเศรษฐกิจของชุมชนในแหล่งน้ำพุร้อนของไทย เพื่อรองรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก (Wellness Tourism)
โอกาสนี้ ผู้บริหารและคณะเจ้าหน้าที่จาก สถาบัน IBERD นำโดยนางนที ชวนสนิท รองประธานกรรมการสถาบัน IBERD พร้อมด้วยผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ประชุมหารือ กับ นายอัสสึยูกิ ราชิ ประธานสมาคมรัฐสภาด้านการส่งเสริมสุขภาพที่ดีด้วยการอาบน้ำร้อนญี่ปุ่น ร่วมกับคณะผู้บริหารภาคราชการ จังหวัดชิซูโอกะ นำโดยนายโยชิกาซู ทากาฮาชิ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการวิจัยและพัฒนา กรมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม รวมถึง ดร.ยาซูอากิ โกโต นักวิจัยของสถาบันสุขภาพและวิจัยของประเทศญี่ปุ่น (Japan Health and Research Institute : JPHRI) เพื่อหารือถึงแนวทางการการขับเคลื่อนงานการสร้างเครือข่าย และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ น้ำพุร้อน การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจเวลเนส ในการเชื่อมโยงความร่วมมืองานวิจัยนวัตกรรม ด้านสุขภาพ (Health and wellness) ระหว่างไทย - ญี่ปุ่น ตามโครงการนำร่องและแผนงานในปี 2568 - 69 ให้เป็นรูปธรรม เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2568 ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกด้วย
นางนที ชวนสนิท รองประธานกรรมการสถาบัน IBERD เปิดเผยว่า ผลจาการหารือ ประสบความสำเร็จเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายอย่างดี ทั้งนี้ ภายใต้ความร่วมมือไทย - ญี่ปุ่น นี้ ได้ริเริ่มโครงการนำร่องความร่วมมือที่สำคัญใน 2 โครงการ คือ 1) การส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำพุร้อนสาธารณะ (Public Bath) และ 2) การสร้างสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง (Sister City) โดยกำหนดเส้นทางน้ำพุร้อนธรรมชาติของไทย 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ 1.เส้นทางอันดามัน (ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง และสตูล) 2.เส้นทางสงกรานต์ (เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน) และ 3.เส้นทางประวัติศาสตร์ (เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี) จับคู่กับจังหวัดของญี่ปุ่น อาทิ Shizuoka Prefecture, Beppu City in Oita Prefecture และ Gumma Prefecture ตามลำดับ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพ (Health & Wellness Industry) ต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ รองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2573 เป็นการสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีตามมาตรฐานสากล
โดยแผนงานสำคัญ คือ การศึกษาวิจัยนวัตกรรมร่วมกัน รวมถึงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพและสุขภาวะ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ ธุรกิจออนเซนน้ำพุร้อนธรรมชาติ การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ด้วยระบบออนเซนน้ำพุร้อน (Onsen Hot Spring Wellness Tourism Industry) รวมถึงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ด้านการนวดไทย อาหารไทย สมุนไพรไทย เพื่อรองรับการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ ทั้งของประเทศญี่ปุ่น และไทย
- 006
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี