ตลาดนักท่องเที่ยว Digital Nomad หรือนักท่องเที่ยวที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและอินเทอร์เน็ตในการทำงานและท่องเที่ยวไปพร้อมกัน
เป็นอีกหนึ่งโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะ Digital Nomad ชาวรัสเซีย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนสูงเกือบ 73,000 บาท และมีระยะเวลาพำนักในไทยเฉลี่ยมากกว่า 9 เดือน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย Digital Nomad สัญชาติอื่นๆ เช่น ชาวอเมริกัน เยอรมัน และอังกฤษ อย่างเห็นได้ชัด
ประเมินว่า Digital Nomad รัสเซียที่เดินทางมายังไทยจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2573 คาดว่าจะมี Digital Nomad ชาวรัสเซียในไทยกว่า 8 หมื่นคน หรือเติบโตขึ้นกว่า 40.7% เมื่อเทียบกับปัจจุบัน และมีโอกาสสร้างรายได้ให้ภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการได้ถึง1.34 แสนล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับตลาด Digital Nomad รัสเซีย ภาคธุรกิจควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการทำงานระยะไกล ส่งเสริมทักษะด้านภาษาและดิจิทัลให้กับบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ รวมถึงติดตามเทรนด์ของ Digital Nomad ชาวรัสเซีย เพื่อปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสม และออกแพ็คเกจที่มีความยืดหยุ่น ขณะที่ภาครัฐควรสนับสนุนการพัฒนานโยบายและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ
เพื่อดึงดูด Digital Nomad ชาวรัสเซียให้เลือกไทยเป็นจุดหมายหลัก
ในปี 2567 ที่ผ่านมามีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศไทยกว่า 35.5 ล้านคน เติบโตขึ้นกว่า 6.3%YoY หรือคิดเป็นการฟื้นตัวราว 89% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิดในปี 2562 ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบ 40 ล้านคน และยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดย Krungthai COMPASS ประเมินว่าในปี 2568 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ราว 39.0 ล้านคน ซึ่งมีโอกาสกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด
อย่างไรก็ดี พบว่าค่าใช้จ่ายค่าเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2567 ที่ผ่านมายังอยู่ที่ 46,989 บาท/คน/ทริป ซึ่งยังคงต่ำกว่าปี 2562 ที่อยู่ในระดับ 47,895 บาท/คน/ทริป ดังนั้น นอกจากการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้ว การดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายสูงก็ถือเป็นอีกหนึ่งมิติที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวไทยในระยะข้างหน้า
ทั้งนี้ นอกจากนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยทั่วไปที่เข้ามาท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยในไทยแล้ว ยังมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มอื่นๆ ที่ถือเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายสูง เช่น นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ นักท่องเที่ยวเชิงการศึกษา และอีกหนึ่งกลุ่มที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ นักท่องเที่ยวกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและอินเทอร์เน็ตในการทำงานและท่องเที่ยวไปพร้อมกัน หรือที่เราเรียกว่า “Digital Nomad” ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดย Digital Nomad มีจุดเด่นที่การใช้จ่ายเฉลี่ย/คน/ทริป ที่สูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไปถึง 5 เท่า จากระยะเวลาพำนักเฉลี่ยที่นานถึง 3-6 เดือน อีกทั้งยังสามารถเดินทางได้ตลอดทั้งปี ไม่ได้มีฤดูกาลท่องเที่ยวที่ชัดเจน จึงอาจเข้ามาช่วยเติมเต็มรายได้ของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องในช่วง Low Season ของไทยได้อีกด้วย และในบทความนี้จะชวนทุกท่านมาทำความรู้จักกับ Digital Nomad ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่สำคัญของภาคการท่องเที่ยวไทยในอนาคต
- 030
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี