เขตนำร่องทดลองเศรษฐกิจท่าอากาศยานเจิ้งโจว พร้อมต้อนรับพันธมิตรทางธุรกิจจากทั่วทุกมุมโลก
ที่มณฑลเหอหนานในภาคกลางของจีน มีพื้นที่แห่งหนึ่งซึ่งเปี่ยมไปด้วยความคึกคักและโอกาสทางธุรกิจ นั่นคือเขตนำร่องทดลองเศรษฐกิจท่าอากาศยานเจิ้งโจว (Zhengzhou Airport Economic Comprehensive Experimental Zone) เขตนี้เป็นพื้นที่นำร่องด้านเศรษฐกิจการบินแห่งแรกที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีจีนในปี 2556 และปัจจุบันได้กลายเป็นจุดสนใจสำหรับนักลงทุนจากทั่วโลก
สำหรับเขตนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ “การเชื่อมโยงท่าทั้ง 4” เป็นศูนย์กลางระดับโลก ประกอบด้วยท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ ศูนย์ขนส่งทางถนน และท่าเรือ พร้อมเครือข่ายคมนาคมที่แผ่ขยายไปทุกทิศทาง ช่วยให้ธุรกิจสามารถเชื่อมต่อกับห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานได้ทั่วโลก ทางฝ่ายงานพรรคและมวลชน ประจำเขตนำร่องทดลองเศรษฐกิจท่าอากาศยานเจิ้งโจว เปิดเผยว่า ปัจจุบันปริมาณการขนส่งสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ของสนามบินเจิ้งโจวติด 40 อันดับแรกของโลก โดยมีเส้นทางขนส่งสินค้าเชื่อมโยง 28 ประเทศ และ 62 เมืองทั่วโลก ครอบคลุมเขตเศรษฐกิจสำคัญทั่วทุกมุมโลก ทั้งนี้ โซนปฏิบัติการฝั่งตะวันตกของศูนย์ท่าเรือบกนานาชาติได้ก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้งานแล้ว ในฐานะศูนย์รวมรถไฟขนส่งสินค้าจีน-ยุโรประดับชาติเพียงแห่งเดียวในภาคกลางและตะวันออกของจีน และคาดการณ์ว่าภายในปี 2578 จะมีศักยภาพรองรับการกระจายสินค้าครอบคลุม “รถไฟ 10,000 ขบวนและสินค้า 10 ล้านตัน”
ทั้งนี้เขตนี้ตั้งเป้าพัฒนาเป็นศูนย์รวมอุตสาหกรรมการผลิตชั้นสูงระดับโลก โดยมีทั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์มูลค่าระดับล้านล้านที่นำโดยฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) เอ็กซ์ฟิวชัน (xFusion) และลุงซัน (Loongson) อีกทั้งยังมีคลัสเตอร์อุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่มูลค่าแสนล้านที่นำโดยบีวายดี (BYD) สกายเวิร์ท (Skyworth) และจี๋ลี่ (Geely) รวมถึงคลัสเตอร์อุตสาหกรรมชีวการแพทย์มูลค่าแสนล้านที่มีศูนย์กลางอยู่ที่นครวิทยาศาสตร์การแพทย์จงหยวน (Zhongyuan Medical Science City) นอกจากนี้ โครงการศูนย์ประมวลผลขนาด 10000P ที่วางแผนและก่อสร้างโดยศูนย์การคำนวณอัจฉริยะที่ใหญ่ที่สุดในจีนตอนกลางกำลังจะเปิดดำเนินการเต็มรูปแบบในไตรมาสแรกนี้ ในขณะเดียวกัน เขตนี้ยังให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมเกิดใหม่เชิงยุทธศาสตร์ เช่น เทคโนโลยีดาวเทียมอวกาศ การจัดแสดงสินค้า และวัสดุนวัตกรรม พร้อมทั้งวางรากฐานสำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต อาทิ เทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานใหม่และปัญญาประดิษฐ์
อย่างไรก็ตามข้อมูลแสดงให้เห็นว่า นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 2555 นั้น โรงงานฟ็อกซ์คอนน์ที่เจิ้งโจวได้ผลิตสมาร์ตโฟนไปแล้วกว่า 1.2 พันล้านเครื่อง จนกลายเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์อัจฉริยะที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเมื่อปีที่ผ่านมา ยอดการผลิตรถยนต์พลังงานใหม่ของบีวายดีพุ่งสูงแตะ 545,000 คัน เพิ่มขึ้นถึง 169.8% นอกจากนี้ สายการผลิตเซิร์ฟเวอร์ที่ใหญ่ที่สุดของจีนยังตั้งอยู่ที่นี่ โดยมีมูลค่าการผลิตรวมต่อปีสูงถึง 4.95 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้น 75%
เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินแดนแห่งการลงทุนแห่งนี้ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เขตท่าอากาศยานเจิ้งโจวได้ดำเนินการปฏิรูปสภาพแวดล้อมทางธุรกิจผ่านมาตรการ “รวม 10 ประการ” มอบสภาพแวดล้อมทางธุรกิจชั้นเยี่ยมที่ขับเคลื่อนด้วยกลไกตลาด มีรากฐานทางกฎหมายที่มั่นคง และได้มาตรฐานสากล พร้อมบริการสนับสนุนแบบครบวงจรที่รวดเร็วและสะดวกสบายให้กับนักธุรกิจจากทั่วทุกมุมโลก ในอนาคต เขตท่าอากาศยานเจิ้งโจวมีเป้าหมายที่จะสร้างศูนย์การผลิตขั้นสูง ศูนย์กลางโลจิสติกส์เพื่อธุรกิจ ศูนย์นวัตกรรมและการประกอบการ ศูนย์แฟชั่นเชิงสร้างสรรค์ และศูนย์พัฒนาทรัพยากรบุคคล พร้อมเปิดรับนักธุรกิจจากทั่วโลกให้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคลื่นการพัฒนาใน “ทศวรรษทอง” รอบที่สองของท่าอากาศยานแห่งนี้ และร่วมรับผลประโยชน์จากการเติบโตไปด้วยกัน
- 030
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี