นายจุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์กรมหาชน) กล่าวว่า สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์กรมหาชน)หรือ สทร. ได้ร่วมมือกับ สถาบันยานยนต์(สยย.) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางรางครั้งใหญ่ในรอบหลายทศวรรษไม่ว่าจะเป็นเป็นการขยายเส้นทางโครงข่ายและ การเพิ่มเส้นทางรางคู่ขนาด 1 เมตร การพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงและการพัฒนาระบบไฟฟ้ารางเบาในจังหวัดหัวเมืองโดยโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวจะกลายเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยในอนาคต
ทั้งจึงก่อให้เกิดบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์กรมหาชน) กับ สถาบันยานยนต์ ฉบับนี้ขึ้น เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างทั้งสองหน่วยงานในการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย
โดยมีวัตถุประสงค์หลักร่วมกันดังนี้
1. สร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบรางเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์ภายในประเทศ
2. ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาระหว่างสองหน่วยงาน โดยเฉพาะกรอบและวิธีการ ทำงานเครื่องมือที่ใช้สนับสนุนพัฒนาเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ
3. พัฒนาศักยภาพและทักษะของบุคลากรจากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง
4. จัดทำมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองชิ้นส่วนอุปกรณ์และระบบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการขับเคลื่อน
5. ประเมินศักยภาพและพัฒนาผู้ประกอบการให้เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิตรถรถไฟในประเทศไทย
นายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า การส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตรถไฟภายในประเทศ นอกจากจะส่งผลดีต่อการคมนาคมขนส่งแล้ว ยังมีผลต่ออุตสาหกรรมเดิมในประเทศ เนื่องจากในปัจจุบัน อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยนั้น กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการผลิตยานยนต์จากการใช้รถเครื่องยนต์สันดาปภายใน เป็นการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ที่กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ต้องรับมือกับการดิสรัปชั่นที่เกิดขึ้น สู่การปรับตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยเพื่อรองรับการเติบโตของการขนส่งทางรางของประเทศ
ดังนั้น การมีทางเลือกอื่นจะทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ ด้วยความพร้อมและความสามารถในการผลิต เมื่อเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย จะสามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจ
ทำให้ยังคงสถานะธุรกิจและการจ้างงานในประเทศ และยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศมีศักยภาพผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนรถไฟไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้น การส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตระบบรางในประเทศ จึงก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจในหลายมิติอีกด้วย
“ครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสที่ดี ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์กรมหาชน) กับ สถาบันยานยนต์ จะเข้ามาพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมระบบราง โดยมีกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยหน่วยงานพันธมิตร นักวิชาการ จากภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกันสนับสนุนต่อไป”นายเกรียงศักดิ์กล่าว
-031
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี