นายรัฐกร กัมปนาทแสนยากร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ความยั่งยืนองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของทัศน์ของ ปตท. คือ "แข็งแรงร่วมกับสังคมไทย" และ "เติบโตในระดับโลก" อย่างยั่งยืน ดังนั้น กุญแจสำคัญ คือ ความยั่งยืน ปตท.จึงต้องเดินหน้าทำธุรกิจคู่กับเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นการเดินหน้าที่เหมาะสมระหว่างเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการเติบโตและดูแลธุรกิจเกี่ยวกับคาร์บอน ที่ต้องอยู่กับพลังงานฟอสซิลในปริมาณมาก และยังมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ดังนั้น เพื่อสร้างความสมดุลของนโยบาย ESG จะต้องลดและรักษาสิ่งแวดล้อมโดยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งปัจจุบันปตท.กำหนดเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ไว้เร็วกว่าที่ประเทศได้ตั้งไว้
นายรัฐกร กล่าวว่า ปตท. มีกลยุทธ์เพื่อความยั่งยืน ดังนี้ 1. ธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศ Climate-Reilience Business โดยการปรับ portfolio ลดปริมาณการใช้ฟอสซิล ในเวลาที่เหมาะสมและบริหารจัดการด้านต้นทุน พร้อมเพิ่มปริมาณพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ผ่านกลุ่มบริษัทต่างๆ ของปตท.
2. ธุรกิจที่ใส่ใจเรื่องคาร์บอน Carbon Conscious Business ผ่านบริษัทในกลุ่มปตท. รวมถึงผนึกพันธมิตรธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีในการลดคาร์บอน เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าให้เป็น Green Energy
3. การร่วมมือ การสร้างสรรค์ เพื่อทุกคน Coalition, Co-creation & collective Efforts for All ถือเป็นจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายที่จะทำให้กลุ่มปตท. ไปสู่เป้าหมาย โดยเฉพาะโครงการพัฒนาโครงการ การดักจับ และการจัดเก็บคาร์บอน (CCS) และการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเป็นส่วนผสมในกลุ่มอุตสาหกรรมตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) สัดส่วน 5% รวมถึงการปลูกป่า เป็นต้น ซึ่งทั้ง 2 โครงการยอมรับว่าท้าทายมาก
สำหรับโครงการ CCS จะดำเนินการการตั้งแต่ซัพพลายเชนตั้งแต่การค้นหาเทคโนโลยีที่การจะกักเก็บคาร์บอน ซึ่งกลุ่มปตท.มีการปล่อยคาร์บอนประมาณ 50 ล้านตันต่อปี จึงต้องหาเทคโนโลยีในการ เก็บคาร์บอน เบื้องต้นมองว่าจะสามารถกักเก็บประมาณ 10 ล้านตันต่อปี ส่วนจะเชิงพาณิชย์แบบเต็มรูปแบบจะต้องใช้เวลามาก โดยคาดว่าอาจจะเกิดขึ้นหลังปี 2035 นอกจากแผนที่จะกักเก็บสำหรับกลุ่มปตท.เองแล้ว ยังมีแผนบริหารจัดการคาร์บอนให้กับพาร์ทเนอร์ด้วย เพราะอนาคตจะสามารถส่ง Product ไปขายที่ยุโรปหรืออเมริกาจะช่วยทั้งกลุ่มและนอกกลุ่ม โดยปตท. จะสร้างเครือข่ายสู่ Terminal ในการเก็บก่อนจะส่งออกต่อทางท่อโดยเรือไปที่อ่าวไทย ซึ่งจะต้องศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ส่วนโครงการไฮโดรเจนเพื่อภาคอุตสาหกรรมอาจต้องใช้เวลาอีกสักระยะ ซึ่งปัจจุบันกลุ่มปตท. จะยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas) ในปริมาณหลัก หากอนาคตราคาไฮโดรเจนราคาต่ำลงหรือเทียบเท่ากับ Natural Gas วันนั้นจะมีการใช้ไฮโดรเจนมากขึ้น เพราะไฮโดรเจนเผาไหม้โดยไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเลย โดยปัจจุบันต้นทุนเบื้องต้นต่อหน่วยของไฮโดรเจนเมื่อเทียบกับการใช้ Natural Gas อยู่ที่ 4-5 เท่า
"ปตทจะดำเนินการทั้ง 2 เรื่องนี้ในประเทศไทยเพื่อให้กลุ่มปตท.และประเทศไทยไปสู่ Net Zero โดยบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำตลอด Value Chain ดังนั้น เพื่อเป้าหมายจะต้องให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุนให้ต่ำที่สุดโดยเฉพาะการเลือกเทคโนโลยี และการร่วมกันคิด และสุดท้ายแม้จะทำให้ดีที่สุดแค่ไหน หรือต้นทุนต่ำสุดแค่ไหนจะต้องมีมาตรการสนับสนุนจากรัฐบาลที่จะทำให้เราสามารถดำเนินการและศึกษาความเป็นไปได้ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด"นายรัฐกรกล่าว
อย่างไรก็ตามปัญหาของการทำ CCS คือ ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายในการสนับสนุนการวิจัยและศึกษาเพื่อสำรวจพื้นที่ใต้ทะเลจากรัฐบาล ดังนั้น จึงจะต้องออกกฎระเบียบให้ชัดเจนรวมถึงงบประมาณ เพื่อให้เอกชนได้เดินหน้าศึกษาและลงทุน และหลังจากนั้นเมื่อดูโมเดลเสร็จ จึงสามารถเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งขณะนี้ได้มีการหารือทั้งกระทรวงพลังงาน และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้ว
-031
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี