9 เม.ย.68 นายรณกาจ ชินสำราญ ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์อาหารญี่ปุ่นชื่อดัง "MAGURO" และแบรนด์ในเครือรวม 16 สาขาในกรุงเทพฯ ที่กำลังเตรียมตัวจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2566 ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า "ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว ผมพยายามประเมินให้ออกว่า การมาของกำแพงภาษี Trump จะมีผลกระทบมากน้อยขนาดไหน ? และจะเกิดอะไรตามมา ? .
ผมจะเล่าแบบง่ายๆ จากประสบการณ์ของผู้ประกอบการ ที่สนใจเรื่องเศรษฐกิจและการลงทุน เพื่อให้เห็นภาพกันชัดขึ้นครับ [ ความยาวอ่าน 4 นาที ]
เริ่มจากภาพใหญ่ก่อน :
ผมจะไม่พยายามมองว่า Trump ต้องการอะไร (ไม่อยากเดาใจ เพราะมักจะเดาไม่ถูก) จากการปรับภาษีชุดใหญ่ทั่วโลกนี้ แต่จะมองถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเงินในกระเป๋าของพวกเราในอนาคต
เรื่องนี้ การจัดระเบียบใหม่ของโลก (World Order) ทำให้เกิดการเคลื่อนของ Supply Chain ของโลก คือ จากเดิมที่เคยซื้อขายกันแบบนี้ ราคาเท่านี้ อยู่ดีๆ ชั่วข้ามคืน ราคาซื้อขายแพงขึ้นมาก ==> ผลกระทบทันที คือ ต้นทุนเปลี่ยน
ลองคิดตามผมดู ว่าการซื้อขายทั่วโลก มันไม่ใช่มีแค่ ซื้อกันไม่กี่อย่าง แต่ทุกอย่างมันพันกันเป็นห่วงโซ่ทั้งหมด (Supply chain) ดังนั้น เวลามันกระทบ มันกระทบกับต้นทุนแทบทุกสิ่ง
แน่นอน ว่ามีผู้ได้ (ได้ภาษีเพิ่มขึ้น) ก็มีผู้เสีย (ต้องขายของแพงขึ้นจากภาษีแพงขึ้น ทำให้กำลังซื้อลดลง) และในเวลานี้ ข้อเจรจาของแต่ละประเทศยังไม่นิ่ง และยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งกว่าจะได้ข้อสรุปหมด ก็คงอีกหลายเดือน
ดังนั้น ถ้าถามตอนนี้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ? คำตอบของผม และหลายๆคนเองก็คือ.. ยังไม่รู้
เพราะภาพมันพึ่งเริ่ม มันยังไม่ชัด
(เงื่อนที่สำคัญอยู่ตรงนี้ .. แปะไว้ตรงนี้ก่อน)
ผลกระทบจากภาพใหญ่ :
ผมลองคิดต่อในแบบผู้ประกอบการ และคิดแบบประชาชนคนทั่วไปง่ายๆเลย แบบเทียบบัญญัติไตรยางค์พื้นฐาน
"ค่าครองชีพแพงขึ้นแน่"
แต่จะแพงขึ้นเท่าไหร่ล่ะ ? ผมมองตัวเลขขั้นต่ำที่ควรจะเกิดขึ้นเลย อย่างน้อยๆผมมองไปที่ 10-15% ภายใน 3-6 เดือน (ซึ่งตอนนี้ยังคำนวนไม่ออกว่าจะเป็นตัวเลขจริงเท่าไหร่)
ดังนั้น สมมุติว่า ถ้ามันขึ้นประมาณนี้ จะเกิดอะไรชึ้นกับผู้ประกอบการ ?
1. ยอดขายลด เพราะกำลังซื้อลด (คนมีเงินลดลง)
2. ต้นทุนเพิ่ม เพราะของแพงขึ้น (ค่าพลังงาน สาธารณูปโภค, ค่าต้นทุนการผลิต, อื่นๆ)
3. กระแสเงินสดลดลง (โอกาสที่เงินตึง สายป่านลดลง มีสูง)
4. กำไรลดลง (ยอดขายลด 10% ไม่ได้แปลว่ากำไรจะลด 10% นะครับ นู่น อาจจะเจอกำไรลด 20-30% หรือมากกว่าได้)
5. สถาบันการเงิน ปล่อยเงินยากขึ้น ผู้ประกอบการเงินขาด (วันที่ฝนตก คุณแทบจะไม่ได้ร่มจากสถาบันการเงิน)
ผมลอง list มาแค่ 5 ข้อนี้ ก็ควรจะหนาวๆกันหน่อยแล้ว (ใครไม่หนาวไม่เป็นไร ผมขอหนาวก่อนแล้วกัน)
ย่อภาพลงมา ที่เศรษฐกิจในประเทศไทย :
ไทยเนี่ย ไม่ใช่ประเทศที่เศรษฐกิจแข็งแรงอยู่เป็นทุนที่เมื่อเจอผลกระทบเรื่องนี้แล้วจะยืนหยัดได้
แต่ไทยเป็นประเทศที่เปราะบางมาก ในเอเชีย (และในโลก) ที่ถ้าโดนเรื่องนี้เข้า แผลจะแตกระเบิดพร้อมกันเป็น 10 แผล
1. การเมืองในประเทศ ที่ดูแล้วผู้นำ และคณะบริหารประเทศ สร้าง Trust ให้คนร่วมใจกันสู้วิกฤตินี้ไม่ได้ [ฟันธง !]
2. การคอรัปชั่น ที่เงินที่ควรจะเอามาใช้ประโยชน์ให้ประเทศ กลับไปอยู่ในกระเป๋าคนเหี้ยๆ บางกลุ่ม
3. ปัจจัยเศรษฐกิจด้านอื่นๆ เช่น
- ไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักเกินครึ่งของ GDP ประเทศ และสหรัฐเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ที่เราส่งออกไป ปีนึงประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท ==> ภาคส่งออกจะเป็นง่อยเลยทันที
- หนี้ครัวเรือนสูงเกิน 90% ของ GDP แปลว่า คนไทยไม่มีเงิน ถ้าเจอค่าครองชีพแพงขึ้นอีก กำลังซื้อก็น่าจะหดหาย แบบทวีคูณ
- อสังหาที่ค้าง stock รอปล่อยอยู่ 600,000 units ที่ไม่รู้ว่า 6 ปี จะปล่อยได้หมดหรือไม่ (เงินไปจมอยู่ในภาคอสังหา)
- ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนยากมาตั้งนานแล้ว (ธนาคารพาณิชย์ ปล่อยยาก) สายป่านน่าจะขาดปลิวกัน เหมือนว่าวที่เชือกขาดกระเด็น
- ตลาดหุ้น = ลูกโป่งฟีบ - เมื่อปลายปีที่แล้วดัชนีอยู่ที่เกือบ 1,500 จุด ปัจจุบัน มูลค่าตลาดหายไปเกือบ 1/3 แล้ว (คิดเป็นประมาณ 4-5 ล้านล้าน บาท) แปลว่า คนมี Wealth น้อยลงมากๆ
ซึ่งเรื่องพวกนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงกับ กำลังซื้อในประเทศ (ก็คือเงินที่จะเอามาใช้จ่ายนั่นแหละ)
สมมุติเอาแค่นี้ก่อน (จริงๆมีอีกหลายอย่างมาก เช่นความเหลื่อมล้ำ, การลงทุนในประเทศ, ประเทศมีคนแก่เพิ่มมากกว่าวัยทำงาน) ลองคิดดูว่า ถ้าแผลใดแผลหนึ่งแตก เช่น ภาคอสังหาประคองตัวไม่ไหว, ภาคอุตสาหกรรมหดตัวอย่างรวดเร็ว ==> มันก็จะกระทบไปที่ภาคอื่นๆด้วย เช่น ธนาคาร ต้องตั้งสำรองเพิ่มขึ้น เงินในภาคธนาคารก็ลดลง และลามเป็นโดมิโนหรือไม่ ?
แน่นอน ประเทศจะเข้าสู่กระบวนการ Stagflation อย่างรวดเร็ว (ของแพงขึ้น แต่คนมีตังน้อยลง โดน 2 เด้ง)
อ่านถึงตรงนี้ ใครยังไม่หนาว เริ่มหนาวหรือยังครับ ?
กำแพงภาษี เป็นตัวเร่ง ให้แผลแตกเร็วขึ้น :
คือแบบนี้ครับ ต้องเห็นภาพให้ตรงกันก่อน ว่าไทยมีแผลเป็นหนองรอวันระเบิดอยู่หลายแผลมาก และตัวกำแพงภาษีนี่แหละ ถ้ารัฐบาลบริหารหรือประคองตัวได้ไม่ดี มันจะเหมือนเอาไม้มาฟาดอย่างแรง แล้วแผลมันระเบิดออกมาพร้อมๆกันเลือดสาด ดิ้นทุรนทุราย
โอกาสที่ไทยจะเปลี่ยนจาก #คนป่วยแห่งเอเชีย ==> กลายเป็น #คนพิการแห่งเอเชีย แทบจะไม่ต้องคำนวนเลย ว่ามันง่ายขนาดไหน
แล้วเราต้องเตรียมตัวยังไง ?
มาถึงตอนนี้ ตอบแบบกำปั้นทุบดิน ผมก็ไม่รู้หรอก ว่าจะเกิดอะไรขึ้นข้างหน้า จะหนัก-เบาแค่ไหน
เพราะอย่างที่บอกว่า สถาณการณ์มันยังไม่ชัดเจน (เหมือนที่แปะไว้ข้างบน) มีหลายหน้าที่จะออกได้ มันก็เลยประเมินผลกระทบจริงๆไม่ออก
แต่ส่วนตัว ผมมองว่า "เราได้ก้าวขาเข้ามาอยู่ในห้วงของวิกฤติเรียบร้อยแล้ว"
ดังนั้นสิ่งที่เราเตรียมตั้งแต่ตอนนี้ได้ก็คือ ติดตามสถาณการณ์กันอย่างใกล้ชิด แล้วพยายามวาง Scenarios (Worst case / Base case / Best case) ล่วงหน้า เวลาเจอ trigger อะไร มันจะได้ปรับใช้ตาม scenarios นั้นๆได้ทันที
อีกอย่างคือ เก็บคอ งอเข่า ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกตั้งแต่วันนี้เลย แล้ววางแผนการเงิน (ทั้งธุรกิจ และส่วนตัว) ล่วงหน้าให้ได้อย่างน้อย 2-3 ปี++
ถ้าสถาณการณ์เลวร้ายไม่เกิดขึ้น ก็ถือว่าดีไป ...
แต่ถ้ามันเกิด และเราได้เตรียมตัวล่วงหน้าแล้ว ก็ถือว่าได้กำไร ..
อ่านถึงตรงนี้ ก็อย่าพึ่งเชื่อผม 100% นะครับ ผมก็กาวไปเรื่อย อยากจะทิ้งท้ายไว้ตรงนี้ ว่า ...
สิ่งที่สำคัญมากๆในช่วงวิกฤติ คือ "เงินสด"
"Cash is King" ในช่วงสถาณการณ์ไม่เป็นใจนี่ก็ยังเป็นประโยค classic มากๆครับ
.-008
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี