นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การลงนามเอ็มโอยูฉบับดังกล่าวของกระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ภายใต้นโยบาย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งให้เกิดการเดินหน้าปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ สะอาด สะดวก โปร่งใส รวมทั้งแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการจัดการกาก น้ำ และอากาศพิษ ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ และมีผลกระทบต่อสังคมและประชาชน ที่ผ่านมา กรอ.จึงได้ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว โดยนำหลักการ ผู้ก่อมลพิษต้องจ่ายมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ขณะที่ กนอ.ได้ยกระดับการจัดการของเสียในเขตนิคมฯ ด้วยระบบติดตามแบบ Real Time และบริการครบวงจร รวมถึงการใช้โมเดลโครงการมาบตาพุด แซนด์บ็อกซ์ (Maptaphut Sandbox) ที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนของเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
“ความร่วมมือครั้งนี้ คือการนำนวัตกรรมดิจิทัลมาเชื่อมโยงระบบ กอ.1 และการติดตามกากของเสีย ยกระดับการจัดการทั่วประเทศ ลดความซ้ำซ้อน สร้างความเชื่อมั่น และขับเคลื่อนนโยบาย MIND (Move to Net Zero, Innovation, Digitalization) ของกระทรวงอุตสาหกรรม” นายณัฐพล กล่าว
นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ กนอ. รักษาการผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า กนอ.ได้พัฒนาระบบติดตามการเคลื่อนย้ายกากอุตสาหกรรมแบบ Real Time ตั้งแต่ปี 2562 และขยายผลจนครบนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเองทั้ง 14 แห่ง เพื่อให้สามารถติดตาม และสกัดกั้นการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมผิดกฎหมายได้อย่างทันท่วงที ขณะที่การเชื่อมโยงข้อมูลระบบติดตามการเคลื่อนย้ายกากอุตสาหกรรมของ กนอ. กับระบบอนุมัติอนุญาต กอ.1 ของ กรอ.จะช่วยให้การอนุมัติอนุญาตและการกำกับดูแลติดตามกากของเสียอุตสาหกรรมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อนของผู้ประกอบการ และเป็นจุดเริ่มต้นในการถ่ายโอนหน้าที่การอนุมัติอนุญาตกากอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมให้แก่เจ้าหน้าที่ของ กนอ.
“กนอ.ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบฯ และการเชื่อมโยงข้อมูลฯ จึงได้เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร องค์ความรู้ และใช้เครือข่ายผู้ประกอบการใน 71 นิคมฯ ใน 17 จังหวัด เพื่อสร้าง Eco-System สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบ Data Lake ตามเจตนารมณ์ของบันทึกความร่วมมือฯครั้งนี้” นายสุเมธ กล่าว
นายพรยศ กลั่นกรอง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า เพื่อให้การปฏิบัติตามบันทึกความร่วมมือฯ ฉบับนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรอ.พร้อมสนับสนุนบุคลากร องค์ความรู้ รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและปรับปรุงระบบการอนุมัติ อนุญาต กอ.1 การแจ้งรายละเอียดแสดงการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของ กรอ. และเชื่อมโยงข้อมูลการติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรม เพื่อให้พนักงานของ กนอ. สามารถอนุมัติ อนุญาต ตรวจสอบ กำกับดูแลสถานประกอบการในพื้นที่ได้อย่างครบวงจร ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ตามเจตจำนงของบันทึกความร่วมมือฯ
- 030
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี