‘สอน.’สร้างแพลทฟอร์มบริหารวัตถุดิบชีวมวลจากอ้อยในภาคอีสาน
17 เมษายน 2568 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) สร้างแพลทฟอร์มสารสนเทศสำหรับบริหารจัดการวัตถุดิบชีวมวลจากอ้อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ผ่านระบบสารสนเทศ https://kku.world/ocsb-biomass
จากจำนวนวัสดุชีวมวลที่เหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรมเกษตรที่หลากหลาย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เล็งเห็นประโยชน์อันมหาศาลจากจำนวนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือพืชพลังงาน ได้แก่ ใบอ้อยและชานอ้อย ที่มีปริมาณมาก โดยในปีการผลิต 2566/2567 มีพื้นที่ปลูกอ้อย 11,125,480 ไร่ ปริมาณอ้อย 98,775,280 ตัน โดย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ปลูกอ้อย 4,960,255 ไร่ และปริมาณอ้อย 45,770,349 ตัน มากที่สุดในประเทศเกือบถึงร้อยละ 50 มข. ได้สำรวจรวบรวมข้อมูลศักยภาพในด้านปริมาณและคุณภาพของชีวมวล (Residue Potential) ที่ส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลเชิงพื้นที่ จากการประเมินปริมาณชีวมวลทุกชนิดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในรอบ 1 ปี พบว่าอ้อยมีปริมาณชีวมวลโดยแบ่งเป็น กากอ้อย 11,937,745.82 ตัน ใบและยอดอ้อย 7,247,917.10 ตัน สามารถให้พลังงานในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากถึง 200,147,820,018.42 เมกะจูลต่อปี
ผลการศึกษาข้อมูลโรงงานไฟฟ้าชีวมวล สามารถรวบรวมพลังการผลิตของแต่ละโรงงานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวบรวมแหล่งการผลิตได้ 70 แห่ง กำลังการผลิตที่ขอติดตั้งทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ 1,830.5 เมกะวัตต์ (MW) จากผลลัพธ์เล่านี้จึงเกิดการสร้าง นวัตกรรมดิจิทัลสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านวัตถุดิบชีวมวล เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและส่งเสริมการลงทุนพลังงานทดแทน ภายใต้ความร่วมมือของ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดทำ โครงการสร้างแพลทฟอร์มสำหรับบริหารจัดการวัตถุดิบชีวมวลจากอ้อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เผยแพร่ผ่าน https://kku.world/ocsb-biomass ซึ่งรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิตพืชพลังงานรวมถึงการวิเคราะห์ศักยภาพในการผลิตกำลังไฟฟ้าทั้ง 5 ประเภท คือ อ้อย ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด และปาล์มน้ำมัน และการวิเคราะห์ศักยภาพในการผลิตกำลังไฟฟ้าของพืชทั้ง 5 ประเภท พร้อมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างแบบจำลองเพื่อทำนายผลผลิตและประเมินความเสี่ยง ที่เกษตรกรชาวไร่อ้อย เจ้าหน้าที่โรงงาน บุคคลทั่วไปเข้าถึงได้
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำเสนอผลการดำเนินโครงการเผยแพร่ให้กับ เจ้าหน้าที่โรงงานไฟฟ้าชีวมวล เกษตรกรชาวไร่อ้อย บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และผู้ที่สนใจ โดยผู้เชี่ยวชาญ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศูนย์ปฏิบัติการเมืองอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Smart City Operation Center: SCOPC) มีหัวข้อบรรยาย 2 ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ 1) “การวิเคราะห์และประเมินข้อมูลชีวมวลที่เหมาะสมกับการผลิตไฟฟ้าชีวมวลเชิงพื้นที่” และ 2) “การจัดทำแพลทฟอร์มวัตถุดิบชีวมวลจากพืชพลังงาน (energy crops) ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล” โดยมีวิทยากรผู้บรรยาย ได้แก่ รศ.ดร.กัลยกร ขวัญมา รศ.ดร.ศุภสิทธิ คนใหญ่ และ ศ.ดร.วนิดา แก่นอากาศ พร้อมทั้งเปิดเผยว่า “เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพด้านปริมาณและคุณภาพของชีวมวล (Residue Potential) ที่ส่งผลต่อการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลเชิงพื้นที่ และมีข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วม อยากให้มีการอบรมแพลทฟอร์มให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สร้างความชัดเจนของนโยบายภาครัฐให้สนับสนุนแพลทฟอร์มจากชีวมวลอื่น ๆ กำหนดคุณภาพชีวมวลให้สามารถค้าขายในแพลทฟอร์ม การทดลองใช้แพลทฟอร์มในโรงงานไฟฟ้าและขยายโครงการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ”
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มุ่งพัฒนาหาพลังงานทดแทน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในตลาดพลังงานทดแทนโลก และสนับสนุนการลงทุนที่ยั่งยืนในภาคเกษตรและพลังงานทดแทนของไทย
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี