นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สินค้าอาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล (Medical and Personalized Food) เป็นอีกหนึ่งสินค้าศักยภาพของไทย แม้ปัจจุบันไทยส่งออกในมูลค่าไม่สูงนัก แต่เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและสอดรับเทรนด์ดูแลใส่ใจสุขภาพ ซึ่งยังมีโอกาสเติบโตอีกมากในอนาคต
จากข้อมูลของ Presedence Research ผู้ให้บริการด้านข้อมูลตลาดเชิงลึก ระบุว่า
ขนาดตลาดอาหารทางการแพทย์ (Medical Food Market Size) ของโลก ในปี 2568 คาดว่าอยู่ที่ 26.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะเติบโตถึง 40.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2577 เติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 5.1 %ระหว่างปี 2568 ถึง 2577
ขนาดตลาดโภชนาการเฉพาะบุคคล (Personalized Nutrition Market Size) ของโลก ในปี 2568 คาดว่าอยู่ที่ 17.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะเติบโตถึง 60.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2577 เติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 14.6 %ระหว่างปี 2568 ถึง 2577
ในปี 2567 ไทยส่งออกอาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล เป็นมูลค่า 7,018.2 ล้านบาท ขยายตัว 9.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สินค้าส่งออกสำคัญของไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) อาหารปรุงแต่งสำหรับทารกหรือเด็กเล็ก มูลค่า 4,153.2 ล้านบาท (2) ซุปและซุปข้นที่มีเนื้อสัตว์ มูลค่า 2,023.1 ล้านบาท (3) อาหารปรุงแต่งที่มีส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกันที่มีเนื้อสัตว์ มูลค่า 275.2 ล้านบาท ตลาดส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ มาเลเซีย สปป.ลาว เมียนมา กัมพูชา และออสเตรเลีย มีสัดส่วน 33.6% 14.2% 13.6 %8.9% และ 6.2% ตามลำดับ
ช่วง 2 เดือนแรกของปี 2568 ไทยส่งออกอาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคลเป็นมูลค่า 1,254.5 ล้านบาท ขยายตัว 17.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
หากพิจารณาการส่งออกและการนำเข้าของโลกสำหรับสินค้ากลุ่มอาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคลที่ไทยมีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) อาหารปรุงแต่งสำหรับทารกหรือเด็กเล็ก (2) ซุปและซุปข้นที่มีเนื้อสัตว์ และ (3) อาหารปรุงแต่งที่มีส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกันที่มีเนื้อสัตว์ ซึ่งไทยยังมีโอกาสที่จะส่งออกไปยังตลาดใหม่ ๆ ที่มีความต้องการสูงสำหรับสินค้ากลุ่มนี้ ดังนี้(ที่มา: Trademap.org)
(1) อาหารปรุงแต่งสำหรับทารกและเด็กเล็ก: ในปี 2566 โลกส่งออกสินค้าอาหารปรุงแต่งสำหรับทารกและเด็กเล็กเป็นมูลค่า 10,464.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ รองลงมา คือ ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ เยอรมนี และไอร์แลนด์ สำหรับไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 18 ของโลก มีสัดส่วน 1.1% ของมูลค่าการส่งออกโลก ประเทศผู้นำเข้าสินค้าอาหารปรุงแต่งสำหรับทารกและเด็กเล็ก อันดับ 1 ของโลก ได้แก่ จีน รองลงมา คือ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา แคนาดา และมาเลเซีย
(2) ซุปและซุปข้นที่มีเนื้อสัตว์: ในปี 2566 โลกส่งออกสินค้าซุปและซุปข้นที่มีเนื้อสัตว์เป็นมูลค่า 3,441.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รองลงมา คือ แคนาดา สเปน เยอรมนี และเซเนกัล สำหรับไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 22 ของโลก มีสัดส่วน1.5 %ของมูลค่าการส่งออกโลก ประเทศผู้นำเข้าสินค้าซุปและซุปข้นที่มีเนื้อสัตว์อันดับ 1 ของโลก ได้แก่ สหรัฐฯ รองลงมา คือ เม็กซิโก แคนาดา เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์
(3) อาหารปรุงแต่งที่มีส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกันที่มีเนื้อสัตว์: ในปี 2566 โลกส่งออกสินค้าอาหารปรุงแต่งที่มีส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกันที่มีเนื้อสัตว์ เป็นมูลค่า 703.0 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก ได้แก่ เยอรมนี รองลงมาคือสโลวาเกีย โปแลนด์ ฝรั่งเศส และสเปน สำหรับไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 19 ของโลก มีสัดส่วน 1.2% ของมูลค่าการส่งออก ประเทศผู้นำเข้าฯ
ประเทศไทยมีศักยภาพและเป็นผู้นำด้านการส่งออกสินค้าอาหารของโลก สามารถต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มสู่อาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล โดยต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตลาด ศึกษากฎระเบียบและมาตรฐานการนำเข้าของประเทศคู่ค้า
ปัจจุบันแบ่งอาหารอนาคตออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่(1) อาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและสารประกอบเชิงฟังก์ชัน (2) อาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล(3) ผลิตภัณฑ์อินทรีย์และอาหารไม่ปรุงแต่ง และ (4) โปรตีนทางเลือก สำหรับภาพรวมการส่งออกอาหารอนาคตของไทย ในปี 2567 มีมูลค่าการส่งออก 26,655.4 ล้านบาท ขยายตัว 9.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี