พลอากาศเอก มนัท ชวนะประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือน แห่งประเทศไทย (CAAT) เปิดเผยว่า CAAT เตรียมตัวเปิดทดสอบให้บริการ ขนส่งพัสดุโดยอากาศยานซึ่งไม่มีคนขับ “โดรนขนส่ง” ซึ่งจะสามารถทดสอบได้ในเดือน มิถุนายน 2568 เร็วกว่า แผนเดิมที่ กำหนด เดือนกันยายน
ทั้งนี้ CAAT จะนำร่องเส้นทางนำร่องการการผลักดันให้เกิดการใช้ โดรนขนส่งในเขตเมือง ซึ่งการกำหนดเส้นทางจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประกอบการ และยื่นขอใช้เส้นทางนั้นมาที่ CAAT
อย่างไรก็ตามขณะนี้ CAAT ได้หารือร่วมกับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ศูนย์บริหารจัดการห้วงอากาศ (ประเทศไทย) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนที่สนใจ เพื่อวางแผน พื้นที่และวิธีการทดสอบการใช้โดรนขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร เช่น ในเขตพื้นที่ NT บางรัก และไอคอนสยาม พร้อมการทำคู่ขนานไปกับการดำเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐที่เริ่มจัดทำร่าง พ.ร.บ. การใช้งานโดรน เพื่อการขนส่งและโลจิสติกส์แล้ว โดยในอนาคต CAAT จะพิจารณา ในการออกใบอนุญาตการใช้โดรนขนส่งนี้ให้กับภาคเอกชนที่มีความพร้อมต่อไป
ขณะเดียวกัน CAAT ยังได้ปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย โดยปรับปรุงและแก้ไขข้อจำกัดการอนุญาตโดรน ที่มีน้ำหนักเกิน 25 กิโลกรัม เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและใช้งานโดรน ขนาดใหญ่อย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงมีผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศนำโดรนหรือระบบ ที่เกี่ยวข้องหลากหลายประเภทมาทดสอบที่ UAV Regulatory Sandbox วังจันทร์วัลเลย์เพิ่มมากขึ้น เช่น โดรนในทางวิศวกรรมเพื่อการสำรวจและการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ โดรนเกษตร โตรนกู้ภัย และโครนรักษา ความปลอดภัย เป็นต้น
พลอากาศเอก มนัทฯ กล่าวถึงบทบาทของ CAAT ในการกำกับดูแลและส่งเสริมการใช้โดรนอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพว่า CAAT มีระบบ UAS Portal (uasportal.caat.or.th) ที่ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้บังคับโดรน และจดทะเบียนโดรน ผ่านระบบออนไลน์ที่รวดเร็ว มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจใช้งานโตรนอย่างครบถ้วน
อย่างไรก็ตามปัจจุบัน CAAT ได้จับมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อจัดทำแผนแม่บท หรือ Drone Master Plan ให้ออกมาเป็น Roadmap สำหรับ ประเทศไทยที่มีรายละเอียดทั้งด้านนโยบาย กฎหมาย การพัฒนาบุคลากร การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้าง พื้นฐาน ความปลอดภัย ความมั่นคง และการป้องกันสิทธิส่วนบุคคล ครบทุกมิติ
นอกจากนี้ในปี 2568 นี้ CAAT เริ่มทำการรับรองศูนย์ฝึกอบรมและรหลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ที่จะช่วยผลิต บุคลากรที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมโดรนให้มีความรู้ด้านการบิน กฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การบินโดรน และมีทักษะความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีโดรนอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ CAAT ยังมี แผนปรับปรุงพัฒนากฎระเบียบเพื่อห่งเสริมและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโตรนให้ก้าวไปข้างหน้า
ทั้งนี้ CAAT คาดการณ์ว่าอนาคตอันใกล้นี้ ไทยจะมีโดรนหลากหลายประเภทไม่ต่ำกว่า 1 ล้านล้าน การกำกับ ดูแลการใช้โดรนจึงต้องขึ้นอยู่ประเภทความเสี่ยง ซึ่งตามมาตรฐานสากลจะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. ความเสี่ยง ต่ำ กลุ่มใช้เพื่อความบันเทิงทั่วไป เช่น โดรนถ่ายภาพและวิดีโอทางอากาศ 2. ความเสี่ยงปานกลาง กลุ่มธุรกิจ เช่น โดรนเกษตร โดรนสำรวจและตรวจสอบ และ 3. ความเสี่ยงสูง กลุ่มโดรนที่มีการขนส่งผู้โดยสาร หรือโครนขน สินค้าขนาดใหญ่ ดังนั้นจะมีหน่วยงานอื่น ๆ และปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการใช้โดรนเกษตร เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก อเมริกา
-032
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี