นโยบายไทยแลนด์ 4.0 …เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะยกระดับเศรษฐกิจไทยให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและก้าวทันกับการพัฒนาของระบบเศรษฐกิจโลก....มาถึงตรงนี้ก็ต้องบอกว่าการขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น กับ กลุ่มผู้ประกอบการญี่ปุ่น ที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะความร่วมมือกับองค์ระหว่างประเทศ ของญี่ปุ่น อย่างองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (JETRO) นำโดยนายฮิโรกิ มิตซูมาตะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (JETRO) ที่ได้ร่วมลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนงเพื่อความร่วมมือกับ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ลกพอ.)
ทั้งนี้การลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนงในครั้งนี้ ได้วางเป้าหมายของความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการลงทุนจากนักลงทุนญี่ปุ่นในพื้นที่ EEC ใน 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้เป็นปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของ EEC สิทธิประโยชน์ และขั้นตอนการลงทุนต่างๆ ให้นักลงทุนญี่ปุ่นได้รับทราบ 2.ให้การสนับสนุนบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย มีแผนการลงทุนเพิ่มเติมในหลายสาขา อาทิ อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง และการยกระดับการวิจัยและพัฒนา (R&D)
3.ร่วมกันผลักดันการลงทุนใหม่จากบริษัทญี่ปุ่นในสาขาเฉพาะ (Sector-Specific Approach) เช่น อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอากาศยานและอุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ 4. ร่วมกันขับเคลื่อน และสนับสนุนให้โครงการการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในพื้นที่ EEC ประสบความสำเร็จ
“ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันมายาวนาน และเชื่อว่าบันทึกแสดงเจตจำนงของทั้งสองหน่วยงานจะทำให้การทำงานได้เร็วขึ้นและเอื้อต่อการดำเนินธุรกิจการลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่อีอีซีให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งประเทศไทยจะดูนักลงทุนญี่ปุ่นอย่างดี” ดร.คณิศ กล่าว
การเดินหน้าของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในวันนี้เข้าสู่โหมดช่วงสำคัญด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่ส่งผลทำให้เกิดความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่นและที่เตรียมพร้อมทั้งการลงทุนเดิมที่จะขยายการลงทุนและการลงทุนใหม่ที่จะเกิดขึ้น เห็นได้จากการเคลื่อนตัว ของผู้ประกอบการญี่ปุ่น และหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นที่จะเข้ามาไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากเดือนพฤศจิกายน 2561 ผู้ว่าจังหวัด มิเอะ เพื่อมาส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหาร ภายใต้แนวคิด Local to Local เพื่อตั้งสถาบันไทย-มีเอะ อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์ ที่จะรองรับนวัตกรรมอุตสาหกรรมอาหารทั้งไทยและญี่ปุ่น
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี