nn Krungthai COMPASS ธ.กรุงไทย...ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์เรื่องโอกาสของผู้ประกอบการไทยตอบรับกระแสอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า....โดยระบุว่าในปี 2573 มูลค่ายางรถยนต์ไฟฟ้าของไทยอย่างน้อยจะอยู่ที่ราว 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 140,000 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 43%CAGR จากในปี 2565 ที่มีมูลค่าราว 240 ล้านเหรียญ หรือเท่ากับ 8,100 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1.มูลค่าส่งออกยางรถยนต์ไฟฟ้าไป 3 ตลาดหลักอย่าง สหรัฐ จีน และออสเตรเลีย ที่คาดมีมูลค่ารวมกันประมาณ 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเท่ากับ 76,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 45%CAGR จากในปี 2565 ที่มีมูลค่า 120 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 4,000 ล้านบาท และ 2) มูลค่าตลาดยางรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศคาดจะอยู่ที่ราว 63,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 41%CAGR จากในปี 2565 ที่มีมูลค่าเท่ากับ 4,100 ล้านบาท
โดยมีสมมุติฐานการประเมิน ดังต่อไปนี้ 1.มูลค่าส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าของไทย 1.1 พิจารณาเฉพาะ 3 คู่ค้าหลักที่ไทยส่งออกยางรถยนต์ในปัจจุบัน ได้แก่ สหรัฐ จีน และออสเตรเลีย โดยมูลค่าตลาดดังกล่าวมีสัดส่วนตลาดรวมกัน คิดเป็นกว่า 50% ของมูลค่าการส่งออกยางรถยนต์รวมของไทย 1.2 ประเมินความต้องการใช้ยางรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2573 ของตลาดหลักตาม ข้อ 1.1 จะพิจารณาจาก 1.2.1 ความต้องการใช้ยางรถยนต์ไฟฟ้าในกลุ่ม OEM ของแต่ละประเทศ พิจารณาจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2573 ของประเทศคู่ค้า โดยคาดว่าในปี 2573 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐ จะเท่ากับ 16.2 ล้านคัน จากในปี 2565 ที่เท่ากับ 9.9 แสนคัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 41.8%CAGR ส่วนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในจีน ปี 2573 จะเท่ากับ 21.4 ล้านคันจากในปี 2565 ที่เท่ากับ 5.9 ล้านคัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 17.4%CAGR ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในออสเตรเลียจะอยู่ที่ 9.7 หมื่นคัน จากในปี 2565 ที่เท่ากับ 3.8 หมื่นคัน หรือ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 12.1% CAGR โดยข้อมูลในข้อ 1.2.1 อ้างอิงจาก IEA และ Statista
1.2.2 ความต้องการใช้ยางรถยนต์ไฟฟ้าในกลุ่ม REM (ยางรถยนต์ที่ใช้สับเปลี่ยนเมื่อยางเก่าหมดอายุการใช้งาน) ของแต่ละประเทศ พิจารณาจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าของแต่ละประเทศในแต่ละปี ตั้งแต่ปี 2559-2573 และกำหนดให้อายุการใช้งานยางรถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ที่ 6 ปี ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจาก Yellow Tire และอายุการใช้งานของรถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ที่ราว 8-10 ปี ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจาก www.iseecars.com 1.3 สัดส่วนความต้องการนำเข้ายางรถยนต์ไฟฟ้า เทียบกับ ความต้องการใช้ยางรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ของสหรัฐฯ จีน และออสเตรเลีย อยู่ที่ 27% 2% และ 50% ตามลำดับ ซึ่งคำนวณมาจากข้อมูลมูลค่าการนำเข้ายางรถยนต์ไฟฟ้าของแต่ละประเทศ ซึ่งอ้างอิงมาจาก Australian Bureau of Statistics U.S. Census Bureau และThe Observatory of Economic Complexity ขณะที่ความต้องการใช้ยางรถยนต์ของแต่ละประเทศ อ้างอิงมาจาก Statistic
1.4 ประเมินมูลค่าส่งออกยางรถยนต์ไฟฟ้าของไทยในแต่ละตลาด จากมูลค่านำเข้ายางรถยนต์ไฟฟ้ารวมของแต่ละประเทศที่คำนวณตามข้อ 1.1-1.3 โดยคาดว่าส่วนแบ่งตลาดยางรถยนต์ไฟฟ้าของไทยในสหรัฐ จีน และออสเตรเลีย จะอยู่ที่ 18.4% 17.8% และ 11.0% ตามลำดับ ซึ่งอ้างอิงจากส่วนแบ่งตลาดส่งออกยางรถยนต์ของไทยในตลาดสหรัฐ จีน และออสเตรเลีย ปี 2565 โดยอ้างอิงจาก Trademap 1.5 คาดว่าในปี 2566-2573 ราคาส่งออกเฉลี่ยยางรถยนต์ไฟฟ้าไปสหรัฐ จีน และออสเตรเลียจะอยู่ที่ 516 เหรียญสหรัฐ ต่อเส้น 499 เหรียญสหรัฐ ต่อเส้น และ 551 เหรียญสหรัฐต่อเส้น ซึ่งอ้างอิงราคายางรถยนต์ไฟฟ้าจาก Electric Autonomy Canada และคาดการณ์ราคาในปี 2567-2573 โดยพิจารณาราคาที่ปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อของแต่ละประเทศตั้งแต่ปี 2565-2573 ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจาก IMF
2. มูลค่ายางรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ 2.1 ความต้องการใช้ยางรถยนต์ไฟฟ้าในกลุ่ม OEM ของไทย พิจารณาจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2573 ของไทย โดยคาดว่าในปี 2573 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ที่ 8.6 แสนคัน จากในปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 6.3 หมื่นคัน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 41%CAGR 2.2 ความต้องการใช้ยางรถยนต์ไฟฟ้าในกลุ่ม REM (ยางรถยนต์ที่ใช้สับเปลี่ยน เมื่อยางเก่าหมดอายุการใช้งาน) พิจารณาจากปริมาณการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในแต่ละปีตั้งแต่ปี 2559-2573 และกำหนดให้อายุการใช้งานยางรถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ที่ 6 ปี ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจาก Yellow Tire และอายุการใช้งานของรถยนต์ไฟฟ้าจะอยู่ที่ราว 8-10 ปี ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจาก www.iseecars.com
การเติบโตของเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าโลกจะสร้างโอกาสต่อผู้ประกอบการธุรกิจยางรถยนต์ของไทยและธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน ดังนี้ 1.ธุรกิจผลิตยางรถยนต์ไฟฟ้า มีโอกาสในการขยายตลาดยางรถยนต์ใน Segment ใหม่ๆ ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงกว่ายางรถยนต์ทั่วไป โดยตลาดยางรถยนต์ไฟฟ้ายังมี Sub-segment ที่หลากหลาย เช่น ตลาดยางรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ตลาดยางรถบรรทุก ตลาดยางรถโดยสาร รวมทั้งตลาดยางรถจักรยานยนต์ 2.ธุรกิจยางแท่ง จะได้รับประโยชน์ตามไปด้วย เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าต้องใช้ยางรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เพื่อให้ทนต่อน้ำหนักและแรงบิดที่มากกว่ารถยนต์ทั่วไป ส่งผลให้ต้องใช้ปริมาณยางแท่งมากกว่าเดิม จึงเป็นโอกาสในการ Supply ยางแท่งให้กับผู้ผลิตยางรถยนต์ในประเทศสำหรับผลิตเพื่อการส่งออก โดยปัจจุบันมีบริษัทที่เตรียมพร้อมในการผลิตยางแท่งเพื่อรองรับสำหรับอุตสาหกรรมยางรถไฟฟ้าแล้ว เช่น บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ได้เพิ่มงบลงทุนขยายกำลังการผลิตยางแท่งเป็นกว่า 6,600 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอีก 1.1 ล้านตันต่อปี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสในการส่งออกยางแท่งไปยังตลาดที่เป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าสำคัญของโลกอย่าง จีน สหรัฐ อินเดีย หรือในกรณีที่ผู้ประกอบการไทยที่มีควาพร้อมอาจเข้าไปลงทุนเพื่อผลิตยางต้นน้ำในกลุ่มประเทศดังกล่าว โดยในปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยเข้าไปตั้งโรงงานแปรรูยางพาราในอินเดียแล้ว
Krungthai COMPASS แนะนำผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ไฟฟ้า ดังต่อไปนี้ 1.ผู้ประกอบการยางรถยนต์ไฟฟ้า ควรให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง (RTEC) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ ในระยะแรกเราประเมินว่า ผู้ประกอบการที่ได้รับประโยชน์จากการขยายตลาดยางรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังเป็นผู้ประกอบการยางรถยนต์รายใหญ่จากต่างประเทศที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย เนื่องจากมีความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี แต่ในระยะข้างหน้า ผู้ประกอบการไทยจะมีโอกาสเข้ามาทำตลาดนี้ได้มากขึ้น หากให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้นเช่น บริษัท IRC ผู้ประกอบการยางรถยนต์สัญชาติไทยที่เริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งชิ้นส่วนยางประกอบในยานยนต์และยางรถจักรยานยนต์รองรับการเติบโตของเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าแล้ว
2.ผู้ประกอบการยางแปรรูปขั้นต้นอย่างยางแท่งควรให้ความสำคัญกับมาตรฐานการผลิต ที่เป็นไปตามข้อกำหนดของผู้ผลิตยางรถยนต์ชั้นนำของโลก ซึ่งครอบคลุมไปถึงมาตรฐานความยั่งยืนด้วย อาทิ มาตรฐาน Fair Rubber, FSC, GOLS, Eco Factory, Green Industry, eco-INSTITUT, QUL 3.ภาครัฐควรมีบทบาทสำคัญในการเร่งสนับสนุน EV Ecosystem ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ โดยเฉพาะนโยบายให้เงินทุนสนับสนุน ดังเช่นที่รัฐบาลแคนาดาให้เงินสนับสนุนราว 100 ล้านเหรียญสหรัฐ(อยู่ในรูปของเงินลงทุนและสิทธิพิเศษทางภาษี) แก่บริษัทมิชลินในการเข้ามาลงทุนขยายโรงงานผลิตยางรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงยางรถยนต์ที่ช่วยประหยัดพลังงาน
Krungthai COMPASS
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี