เรื่องมันเกิดจากเมื่อสองวันก่อน มีน้องที่เพิ่ง เรียนจบ ทำงานได้สักพัก เดินตรงมาทักทาย เล่าว่าติดตามผลงานผมมาตั้งแต่สมัยเรียน
“วันนี้หนูเรียนจบแล้วคะ เลยอยากถามพี่ว่า จะเริ่มบริหารเงินจากตรงไหนดี?”
อ้าว! แล้วบอกติดตามกันมานาน ... กลับถามคำถามนี้ซะอย่างนั้น
ยืนนึกสักพัก ... “เออ ... คำถามน้องมันดีเหมือนกันเว้ย”
เคยมั้ยครับ เราศึกษาหาความรู้เรื่องอะไรสักอย่าง เพื่อเปลี่ยนแปลง และพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น แต่พอจะเริ่มเอามาปรับใช้ กลับหา “จุดเริ่มต้น” ไม่เจอ
ไอ้ผมเองทำงานให้คำปรึกษา สอน บอกเล่าเรื่องการเงินส่วนบุคคลมานาน เวลาสอนก็แทบจะมี step เหมือนเดิมเลย ปูจากเรื่องความสำคัญของเงินกับชีวิต ไปจนถึงการบริหารเงินในมิติต่างๆ
การตั้งเป้าหมายทางการเงิน
การทำงบการเงินและจัดการสภาพคล่อง
การบริหารหนี้สิน
การวางแผนความเสี่ยงทางการเงิน
การวางแผนภาษี
การวางแผนเกษียณ ...
เรียนตั้งเยอะ รู้ตั้งแยะ ว่าอะไรควรเป็นอย่างไร ... ว่าแต่แล้วสำหรับเด็กใหม่เลย ที่กำลังจะมีเงินเป็นของตัวเอง มันเริ่มตรงไหนวะ!
ยืนคิดอยู่นิด ก็คิดออก ...
“เงินออม” ครับ ... พอมององค์รวมเรื่องการเงินทั้งหมด จะเห็นเลยว่า ...
“เงินออม” คือ “จุดเริ่มต้น” ของชีวิตการเงินที่ดี และจะมีความสุขทางการเงินได้ในอนาคต
มีเงินออม ... ก็แสดงว่ามีเงินพอใช้ ไม่เดือดร้อน (พอไหว)
มีเงินออม ... ก็แสดงว่า อาจมีหนี้บ้าง แต่ก็ยังบริหารจัดการได้
มีเงินออม ... ก็จะเริ่มคิดถึงการเงินในมิติอื่นๆ ต่อได้
มีเงินออม ... ก็มีเงินซื้อประกัน วางแผนความเสี่ยงให้ตัวเองได้
มีเงินออม ... ก็จะเริ่มอยากให้เงินงอกเงย และอยากเรียนรู้เรื่องลงทุน
ฯลฯ
แต่พอไม่มีเงินออม ... หมดกันเลย ทำอะไรต่อก็ไม่ได้เพื่อนชวนไปเรียนรู้เรื่องลงทุน มันยังบอกเลย “รอให้มีเงินออมก่อน”
“อันดับแรกเลยนะ บริหารเงินให้เหลือทุกเดือน อย่างน้อย (ค่อยๆ ทำให้ถึงก็ได้) 10% ... เริ่มเหลือ เริ่มรวย... เอาแค่นี้ก่อนเลย” ผมบอกน้องเขาไป หลังสมองคนวัยกลางคนประมวลผลโดยสมบูรณ์
“แล้วอันดับสองละคะ ...”
ผมนิ่ง .... “ก็พี่บอกว่าให้เงินเหลือเป็นอันดับแรก แล้วอันดับสองละคะ”
ดูมัน! .... “อันดับสอง อย่าก่อหนี้ โดยเฉพาะหนี้บริโภค บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล บัตรกดเงินสดผ่อนของ หนี้นอกระบบ ... บัตรเครดิตมีได้ แต่ถามตัวเองก่อนรูดบัตร ว่ามีปัญญาคืนหนี้เขาทั้งก้อนมั้ย ถ้าไม่มีอย่าใช้บัตร เพลาๆ เรื่องการผ่อนขั้นต่ำ”
“และอันดับ 3 ลงทุนเวลา (ก่อนลงทุนเงิน) ไปเรียนรู้เรื่องการลงทุนที่สนใจ แล้วก็อย่าโยนเงินที่อุตส่าห์ออมได้ไปกับการลงทุนที่ไม่รู้จัก หรือไม่เข้าใจมันดีพอ”
“แหม ... กำลังจะถาม ... แล้วอันดับ 4 ละคะ”
“พอแล้ว!! (ทำ 3 ข้อแรกให้ได้ก่อน)”
โดยสรุปสำหรับน้องใหม่ในโลกการเงิน เขียนเป็นคำจำง่ายๆ
“ออมให้ได้ ไม่ก่อหนี้บริโภค มีเวลาเรียนรู้เรื่องลงทุน”
... นี่คือ คำขวัญที่ The Money Coach ขอมอบเป็นแนวทางสำหรับผู้เริ่มต้นทุกคนครับ
#TheMoneyCoach
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี