nn 10 เดือนของปี 2567 (ม.ค. – ต.ค.) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)...ทำผลงานได้น่าพอใจ...มียอดค้ำประกันสินเชื่อ 43,228 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้น 76,840 ราย ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มรายย่อย (Micro SMEs) ในสัดส่วนสูงถึง 90% ค้ำประกันเฉลี่ย 90,000 บาทต่อราย ที่เหลือ 10% เป็นกลุ่ม SMEs ค้ำประกันเฉลี่ย 4.78 ล้านบาทต่อราย ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงิน 46,775 ล้านบาท รักษาการจ้างงาน 398,998 ตำแหน่ง และก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 177,056 ล้านบาท ภายใต้ 3 โครงการหลัก ได้แก่ 1. โครงการตามมาตรการรัฐวงเงิน 25,057 ล้านบาท คิดเป็น 58% ของยอดค้ำประกัน ช่วย SMEs เข้าถึงสินเชื่อ 71,570 ราย...2. โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยถูก (พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู ระยะที่ 2) วงเงิน 9,893 ล้านบาทคิดเป็น 23% ของยอดค้ำประกัน ช่วย SMEs เข้าถึงสินเชื่อ 1,543 ราย…3. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ ดำเนินการโดย บสย. วงเงิน 8,278 ล้านบาท คิดเป็น 18% ของยอดค้ำประกัน ช่วย SMEs เข้าถึงสินเชื่อ 4,481 ราย ยอดค้ำประกัน PGS 11 ทะลุ 2 หมื่นล้าน ช่วยรายย่อยเข้าถึงสินเชื่อ…!!
สิ่งที่น่าสนใจที่ส่งผลกับ บสย.โดยตรงหลังจากนี้น่าจะเป็นการเกิดขึ้นของ...สถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ (NaCGA : National Credit Guarantee)...ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้คุณเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง ในฐานะผู้ริเริ่มนโยบายในการตั้งNaCGA และ เป็นผู้กำกับด้านนโยบายของ บสย....และ สิทธิกรดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. พร้อมทีมผู้บริหาร...ก็ได้เดินทางไปศึกษาดูงาน Credit Guarantee ที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ด้วยความที่ใช้เวลาดำเนินการมามากกว่า 30 ปี...ก้าวหน้าทั้งในเรื่อง แหล่งที่มาขอทุนที่ไม่ได้ใช้เงินงบประมาณ แต่ใช้การหักเงินสะสมเข้ากองทุนจากยอดการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์...การใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาที่จะค้ำประกันที่ไม่ได้ดูแต่เฉพาะ Balance Sheet เพียงอย่างเดียว...แต่สามารถพิจารณาจากความสามารถในการจ่ายอื่นๆ ( Alternative Scoring) ประกอบได้ด้วย ฯลฯ....!! สำหรับ..แวดวงการเงิน...ไม่แน่ใจว่าท้ายที่สุดแล้ว NaCGA จะเกิดขึ้นได้ในปีไหน...เพราะมีอีกหลายข้อจำกัดของไทยที่ไม่ง่ายเลยที่จะดำเนินการ...ทั้งเรื่องของกฎหมาย...เรื่องความความยินยอมของธนาคารพาณิชย์ที่จะควักเงินมาจ่าย...อย่างไรก็ตามเวลานี้ด้วยบริบทของโลกที่เปลี่ยนไปมาก...คุณสิทธิกรที่เตรียมที่จะTransforms บสย.ให้พร้อมกับสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้น เช่น1.เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อให้หลากหลายมากขึ้น 2.พัฒนาเครื่องมือในการวิเคราะห์ความเสี่ยงในรูปแบบข้อมูลทางเลือก (Alternative Credit Scoring Model) 3.การใช้ประโยชน์จาก Big Data และ 4.การใช้ Digital Disruption เป็นแรงขับเคลื่อนองค์กร...nn
อนันตเดช พงษ์พันธุ์
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี