nn เชื่อว่าสังคมกำลังเฝ้ามองและกังวลต่อเรื่องการปรับโครงสร้างภาษีของไทยแต่ก่อนที่จะตีตนไปก่อนไข้ลองมาฟัง..คุณลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ...อธิบายความก่อน...เขาบอกว่าไทยยังมีปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจ ทำให้จีดีพีไทยเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ ไม่เติบโตสูงเหมือนกับหลายประเทศจากหนี้สินภาคครัวเรือน หนี้สาธารณะอยู่ในระดับสูง ประสิทธิภาพการผลิตภาคเอกชน กระทบกำลังซื้อประชาชน ส่งผลมายัง รายได้ภาษีของรัฐบาล... แม้ว่าปัญหาโควิด-19 ผ่อนคลาย หายไปแล้ว GDP ของประเทศอื่นเติบโตกว่า 5% แต่จีดีพีของไทยโตขยายตัวเพียง 2% กระทรวงคลัง จึงต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจผลักดันจีดีพีให้โตได้ 5% การควบคู่ไปกับมาตรการระยะสั้นอื่นและต้องกู้เงินมาใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจเท่าที่จำเป็น ไม่ให้กระทบต่อ Credit Rating ของประเทศ เพื่อดูแลฐานะการคลังของประเทศจะยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การจัดทำงบประมาณแบบสมดุลในอนาคต…ขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังหารือกับสำนักงบประมาณ ประมาณการรายได้และจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 2569 ยอมรับต้องจัดทำงบประมาณขาดดุลเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยต้องทยอยกู้เงินลดลง เมื่อจีดีพีไทยโตต่ำกว่าศักยภาพ ต้องใช้นโยบายการคลังเข้ามาช่วย ผ่านนโยบายปรับโครงสร้างภาษี... โดยต้องประเมินหลายมิติ ไม่ใช่เพียงการปรับเพิ่มภาษีเพียงอย่างเดียว เพราะอาจทำให้เศรษฐกิจ shock ได้ นับว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยยื่นแบบภาษีเงินได้พึงประเมิน 11 ล้านคน เพิ่มขึ้นเพียง 1 ล้านคนเท่านั้น นับว่าขยายฐานภาษีได้น้อยมาก...รัฐบาลได้ออกมาตรการยกเว้นภาษี และลดหย่อนภาษีจำนวนมาก สำหรับประชาชนมีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาทแรกต่อปี ยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษี หรือเทียบกับ เงินได้รายเดือนไม่ถึง 28,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี เมื่อนำมาหักลดหย่อนผ่านหลายมาตรการ ทั้งเงินกู้ซื้อบ้าน กองทุนรวม เงินทำบุญ....กระทรวงการคลัง จึงศึกษาแนวทาง การปรับลดภาษีเงินนิติบุคคลตามบริบทของสังคมโลกในปัจจุบัน...และไทยควรปรับเพิ่มภาษีเพื่อการบริโภคกับภาษีทรัพย์สิน โดยจัดเก็บจากความมั่งคั่งของแต่ละคน จากการใช้จ่ายและการเก็บทรัพย์สินสะสมความมั่งคั่งเอาไว้....การปรับโครงสร้างภาษี สำหรับการบริโภค และภาษีทรัพย์สิน จึงต้องนำมาใช้จัดเก็บภาษีเงินได้แบบขั้นบันได การจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภค ไม่ว่าคนจน คนรวย ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราเดียวกัน คนจนใช้จ่ายน้อยตามรายได้ ขณะที่คนรวย ใช้จ่ายตามกำลังซื้อสูง รูปแบบการใช้จ่ายเงินจึงไม่เหมือนกัน เมื่อปรับเพิ่มภาษีเพื่อการบริโภค จึงต้องหาทางเยียวยาช่วยเหลือตัวเล็กหรือ กลุ่มเปราะบาง เพื่อให้คนกลุ่มนี้มีเงินใช้จ่ายบริโภคได้มากขึ้น เช่น รัฐบาลปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หากรัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น 100 บาท ต้องแบ่งไปช่วยคนจน 30 บาท ส่วนที่เหลือ เก็บเข้าคลังนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ…!! จริงๆนะถ้าอาทิตย์ก่อนมีคนของรัฐบาลออกมาอธิบายความแบบนี้...คุณพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯและรมว.คลัง...และรัฐบาลเองก็คงไม่โดนอ่วมขนาดนั้นหรอกครับ...nn
อนันตเดช พงษ์พันธุ์
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี