มีน้องๆ ถามมาว่า โค้ชหนุ่มเริ่มต้นลงทุนหุ้นอย่างไร เลยหยิบคำตอบสัมภาษณ์มาฝากกันครับ
1.อ่านหนังสือหุ้นทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงเข้าสัมมนาของตลาดหลักทรัพย์แทบทุกคอร์ส (ตอนนั้นตังค์น้อย เน้นของฟรี!) เพราะเชื่อว่า ความรู้คือสิ่งที่สำคัญอันดับแรกสำหรับการเริ่มต้นลงทุน
ผมเริ่มต้นลงทุนปี’46 จำได้ว่าตอนนั้นสิงอยู่ห้องสมุดมารวยบ่อยมาก สมัครสมาชิกห้องสมุดไว้ หลังเลิกงานก็แวะไปหายืมหนังสืออ่าน เสาร์-อาทิตย์ก็เข้าร่วมสัมมนาที่ตลาดหลักทรัพย์ (เน้นจองไว จองได้ตลอด)
สมัยนี้เข้าสัมมนาง่ายขึ้นเยอะ ลองดูคอร์สหุ้นในsetinvestnow.com/th ดูครับ คอร์สเรียนดีๆ และฟรี! เพียบhttps://www.setinvestnow.com/th/stock
ส่วนหนังสืออ่านสำหรับผู้เริ่มต้น ผมอ่าน “ตีแตก” เป็นเล่มแรกแล้วก็ “เหนือกว่าวอลสตรีท” แล้วก็ตามด้วยหนังสือลงทุนแนวพื้นฐานทั้งหมด สำหรับคนรุ่นใหม่แนะนำ “นั่งตกปลากับบัฟเฟตต์” (สั่งซื้อได้ที่นี่ https://bit.ly/43ohOJ3) แล้วก็ “เพาะหุ้นเป็นเห็นผลยั่งยืน” ถ้ามีเวลาก็ต่อด้วย “ศาสตร์แห่งบัฟเฟตต์”
2.เปิดบัญชีหลักทรัพย์ แบบวางเงินล่วงหน้า (CashBalance) หรือซื้อหุ้นได้ไม่เกินเงินที่มีในบัญชี เพื่อควบคุมความเสี่ยงไม่ให้ตัวเอง
จำได้ว่าเงินก้อนแรกที่โอนเข้าบัญชีหุ้น คือ 5,000 บาท แล้วก็ตั้งโจทย์เริ่มลงทุนจากหุ้นราคา 20-30 บาทต่อหุ้น (ตอนนั้นหนี้ยังเยอะ ก็เลยเริ่มเท่าที่ไหว)
3.ผมไม่ถนัดลงทุนแนวเทคนิค พยายามเรียนเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยเข้าใจ ประกอบกับชอบทำธุรกิจส่วนตัว พอจะเข้าใจงบการเงินพอมองหุ้นแบบเจ้าของกิจการได้บ้าง เลยเน้นลงทุนตามแนวปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
แต่ถึงกระนั้น จำได้ว่าตอนลงสนามใหม่ๆ ก็เปิดดูพอร์ตแม่มทุกวัน (จริงๆ เรียกว่า เกือบทุกชั่วโมงก็ได้) เพราะลงทุนด้วยเงินจริงกับตอนนั่งฟังบรรยายยังไงก็ไม่เหมือนกัน พอดูบ่อยก็เริ่มคัน อยากจะซื้อจะขาย สุดท้ายได้เรื่องขาดทุนไป 20% ถึงเริ่มสงบและเลิกเปิดดูบ่อยๆ ได้ (หลายคนพอลงทุนนานเข้าอาการเหล่านี้ก็จะหายไปเอง)
4.ผมเริ่มลงทุนทั้งๆ ที่เป็นหนี้ เพราะมีความรู้สึกว่า เราไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาในอดีตให้จบ จึงเริ่มสร้างอนาคต ก็เลย
ทำไปพร้อมๆ กัน
5.ตำรากับตลาดจริงเป็นคนละเรื่อง ซื้อว่ายากแล้ว ขายยากกว่าอีก
พอขาดทุน จะ cut lost เอาจริงก็เสียดาย พอกำไรนิดกำไรหน่อย เกิดอยากขาย อยากได้ขึ้นชื่อว่าได้กำไร สุดท้ายเสียของ
6.อย่าหลงรักสิ่งที่ตัวเองลงทุน หุ้นที่ทำกำไรให้เรา ไม่จำเป็นต้องดีไปตลอด ถึงเวลาที่มันไม่ดีก็ต้องแยกย้าย
ที่สำคัญ คือ ต้องติดตามการลงทุนอย่างละเอียดเป็นระยะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (ดูงบการเงิน ฟังประชุมประจำปี)
7.เมื่อเริ่มลงทุน เริ่มได้ปันผล จำได้ว่าหลักสิบหลักร้อยเองแต่ก็ทำให้มีกำลังใจลงทุน และคิดง่ายๆ ว่า “ถ้าเรามีเงินลงทุนเยอะกว่านี้ ก็มีโอกาสได้ปันผลมากขึ้น” จึงเริ่มทำงานหาเงินให้มากขึ้น ออมให้มากขึ้น เพื่อกันเงินมาลงทุนให้มากขึ้น
8.ผมคิดเสมอว่าตัวเองเป็น “คนธรรมดา” ไม่ใช่ “เซียน”
ไม่ได้เก่งขนาดหาหุ้นหลายเด้งได้ เลยเน้นหาเงินให้มากกว่า ใช้เงินต้นให้มากกว่า คิดเอาง่ายๆ ว่า ถ้าเรามีเงินลงทุนเยอะหน่อย ผลตอบแทนเฉลี่ย 6-7% ต่อปีในระยะยาว ก็ทำให้เรารวยได้เหมือนกัน
9.เมื่อไม่มีเวลาหาหุ้นลงทุนเพิ่ม ก็จะลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง โดยใช้กองทุนรวม อาจพ่วงสิทธิประโยชน์ทางภาษีไปด้วย
ตั้งแต่สมัยแรกๆ ผมใช้กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หลังๆ ก็กระจายการลงทุนไปต่างประเทศด้วย (ตอนนี้กองต่างประเทศเยอะกว่าแล้ว)
10.ลงทุนไปเรื่อยๆ เรียนรู้ไปเรื่อยๆ สนุกกับการลงทุน ถ้าสะสมได้เรื่อยๆ ลงทุนอยู่ตลอด และหมั่นเรียนรู้จากกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้น เราก็จะอยู่กับตลาดและการลงทุนของเราไปได้ตลอด ทุกวันนี้ผมก็ยังแบ่งเงินออมมาลงทุนสม่ำเสมอ และก็คงจะทำไปเรื่อยๆ จนตาย (หรือไม่มีเงินให้ลงทุน 555)
ที่หยิบมาเล่าไม่ได้เพราะเก่งการลงทุนอะไร แค่อยากชวนทุกท่านที่เริ่มการเงินมั่นคง เริ่มเก็บเริ่มออมได้ ศึกษาและทยอยลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม เพื่อต่อยอดเงินเก็บเงินออมที่มี แบบไม่ใจร้อนค่อยเป็นค่อยไป
ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างนะครับ
#TheMoneyCoachTH
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี