ภาวะตาบอดสีคืออะไร ‘What is color blindness?
ภาวะตาบอดสีเป็นภาวะที่สามารถพบได้บ่อย ซึ่งอาจมีสาเหตุได้ทั้งจากภาวะตาบอดสีแต่กำเนิด (Congenital color vision defect) หรือภาวะตาบอดสีที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired color vision defect) ซึ่งมีวิธีการทดสอบได้ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายเพื่อให้สามารถตรวจพบ และแยกชนิดของตาบอดสีโดยละเอียดได้ ก่อนอื่นเรามารู้จักชนิดต่างๆ ของเซลล์ที่ใช้ในการรับสีของตาเราก่อนดีกว่า
เซลล์รูปกรวย เป็นเซลล์ที่ใช้ในการรับสีของตา หรือที่เรียกว่า Cone cell มีไว้รับคลื่นแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกัน ได้แก่
1. สีแดง (Long wave length red) เรียกง่ายๆ ว่า L-cone (Red-cone) photopigment
2. สีเขียว (Middle wave length green) เรียกง่ายๆ ว่า M-cone (Green-cone) photopigment
3. สีน้ำเงิน (Short wave length blue) เรียกง่ายๆ ว่า S-cone (Blue-cone) photopigment
ปัจจุบันพบว่ามีเซลล์อีกชนิดหนึ่งที่ใช้รับสีได้เช่นเดียวกัน มีชื่อว่า Intrinsically photosensitive Retinal Ganglion Cells หรือ ipRGCs ใช้รับสีในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 460-484 นาโนเมตร อันได้แก่สีน้ำเงินม่วง (Violet-to-blue light) และเซลล์นี้ ยังมีหน้าที่หลักในการรับรู้ภาวะกลางวันกลางคืน (circadian rhythms) ควบคุมการหดขยายของรูม่านตา และความคุมการหลั่งฮอร์โมนเมลาโตนินจากต่อมใต้สมอง ได้ด้วยเช่นกัน
การทำงานของ Cone cell จะรับรู้ความยาวคลื่นแสงที่ตนเองรับผิดชอบ และจะส่งไปแปลภาพเป็นการรับรู้ในสมองต่อไป เมื่อการทำงานของเซลล์ใดเซลล์หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งเซลล์ทำงานลดลงหรือหยุดทำงานไป จะก่อให้เกิดภาวะตาบอดสีชนิดต่างๆ ภาวะตาบอดสีแต่กำเนิดเป็นภาวะที่เป็นแล้วอาการมักจะคงที่ และมักจะมีอาการทั้งสองตา ซึ่งต่างจากภาวะตาบอดสีที่เป็นภายหลังอันเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเป็นที่ตาข้างเดียว และอาการอาจแย่ลงเมื่อระยะเวลาผ่านไปได้ อย่างไรก็ตามภาวะตาบอดสีแต่กำเนิดเป็นภาวะที่พบได้บ่อยกว่า แบ่งเป็นชนิดต่างๆ ได้แก่
1. Anomalous trichomatism เป็นการแบ่งประเภทการมองเห็นสีที่ผิดปกติไป โดยผู้ป่วยยังสามารถ
ใช้งานได้ครบทั้ง 3 ชนิดของ Cone cells แต่มี 1 ชนิดที่ทำงานลดลง เป็นกลุ่มที่พบได้มากที่สุดในประเภทของตาบอด
สีทั้งหมด พบได้ 5-6% ของเพศชาย เมื่อการทำงานของ one cell ประเภทใดทำงานลดลงไป Cone cell ที่เหลือก็จะ
ทำงานทดแทนกัน แต่การมองเห็นระดับสีอาจผิดเพี้ยนไปได้ แบ่งตามชนิดของสีที่ทำงานลดลงภาวะนี้ถ่ายทอดแบบยีน
ด้อยทางโครโมโซม X จึงทำให้เพศชาย มีโอกาสเป็นโรคได้บ่อยกว่าเพศหญิง โดยเพศชายมีโอกาสพบได้ 5-8% หรือ
ประมาณ 1 ใน 12 คน และเพศหญิง 0.5% หรือประมาณ 1 ใน 200 คน อันได้แก่
a. Deuteranomalous trichomatism (deuteranomaly) พบได้บ่อยที่สุด ประมาณ
5% ของเพศชาย เกิดจาก M-cone photopigment ที่ควรรับแสงสีเขียวได้ดี แต่กลับไปรับคลื่นแสงใกล้กลับสีแดง สี
ที่รับรู้จึงผิดเพี้ยนไป
b. Protanomalous trichomatism (protanomaly) พบได้ 1% ของเพศชาย เกิดจาก
L-cone photopigment ที่ควรรับแสงสีแดงได้ดี แต่กลับไปรับคลื่นแสงใกล้กลับสีเขียว สีที่รับรู้จึงผิดเพี้ยนไป
c. Congenital tritanomalous defect (tritanomaly) พบได้น้อย
2. Dichromacy คือภาวะที่ขาด Cone cell ไป 1 ชนิด ทำให้รับรู้สีได้จาก Cone cell เพียงสองชนิด
พบได้ ประมาณ 2% ของเพศชาย แบ่งตามชนิดของ Cone cell ที่หายไปได้ 3 ชนิดเช่นกัน อันได้แก่
a. Protanopia ขาด L-cone photopigment
b. Deuteranopia ขาด M-cone photopigment
c. Tritanopia ขาด S-cone photopigment
3. Achromatopsia เป็นภาวะที่การรับรู้สีไม่ได้เกิดจากการแยกสี แต่ใช้วิธีดูตามความเข้มของแสง
แบ่งได้เป็นสองชนิด ได้แก่
a. Rod monochromatism (Achromatopsia) เป็นภาวะตาบอดสีที่การมองเห็นสีแย่
ที่สุด ไม่มี cone cell ทำงานได้เลย ไม่สามารถมองเห็นภาพสีได้ ผู้ป่วยมองเห็นภาพเป็นภาพขาวดำจากการทำงาน
ของเซลล์รูปแท่ง (Rod cell) เท่านั้น ระดับการมองเห็นลดลง อาจตรวจพบภาวะตาสั่นได้ ภาวะนี้สามารถถ่ายทอด
ทางพันธุกรรมได้ผ่านยีนด้อย (Autosomal recessive) ปัจจุบันสามารถตรวจพบยีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ได้ 5 ชนิด
b. S-cone monochromatism ผู้ป่วยมีเพียง Rod cell และ Blue-cone cell ทำงาน
เท่านั้น อาการใกล้เคียงกับ Rod monochromatism แยกกันได้ด้วยวิธีการตรวจแบบพิเศษเท่านั้น
บทความโดย อ.นพ.ปริญญา สีหไตร
โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี