ด่วน !! อภิสิทธิ์ แถลงจุดยืนลาออกจากความเป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์
ไม่ได้เหนือหรือเกินความคาดหมายแต่อย่างใด เมื่อการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมกับส.ส.ของพรรคอีก 53 ชีวิต มีมติเสียงข้างมากให้ตอบรับการเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ ในการลงมติสนับสนุนลุงตู่ขี้ฉุน-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. ให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย แต่ต่างกันตรงมาจากการเลือกตั้งไม่ใช่การรัฐประหาร
มาร์ค รับไม่ได้ที่จะยกมือสนับสนุน “ลุงตู่ขี้ฉุน”
รวมทั้งไม่จับมือกับพรรคเพื่อไทยซึ่งกระทำการทุจริตคอร์รัปชั่นจนสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและสนับสนุนกดารออกกฏหมายนิรโทษกรรมจนมีการปะท้วงไปทั่วทุกหัวระแหงเพื่อให้เป็นรัฐบาลบริหารประเทศอย่างแน่นอน
ด้วยเคยประกาศเป็นสัญญาประชาคมไปแล้วก่อนการเลือกตั้ง 24 มีนาคมว่า จะไม่สนับสนุนลุงตู่ขี้ฉุน-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย เพื่อหยุดยั้งการได้มาซึ่งอำนาจจากหอกดาบและปลายปืน ทั้งไม่ต้องการให้มีการสืบทอดอำนาจตามขั้นตอนต่างๆที่วางไว้เพื่อก้าวขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งอภิสิทธิ์ยกนิทาน “Animal Farmเดรัจฉานนักการเมืองมาเป็นอุทธาหรณ์ของการได้อำนาจและใช้อำนาจนั้น” ซึ่งเป็นหนังสือเล่มเดียวกับที่ลุงตู่ขี้ฉุนแนะนำให้ประชาชนคนไทยไปหามาอ่านมาศึกษา
มาร์ค ผู้ยืนยันไม่พายเรือให้โจรนั่งยังแนะนำหนังสือให้ประชาชนคนไทยไปหาอ่านและศึกษาอีกเล่มซึ่งประพันธ์โดย จอร์จ ออร์เวลล์ ผู้เขียนเรื่อง “Animal Farm” เช่นกัน
หนังสือเล่มนี้ที่มีชื่อเรื่องว่า “1984” หรือ Nineteen Eighty-Four เป็นบันเทิงคดีการเมืองและบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ดีสโทเปีย เป็นบันเทิงคดีคลาสสิกในแง่เนื้อหา โครงเรื่องและลีลา หลายคำและมโนทัศน์ในเรื่อง เช่น พี่เบิ้ม, ย้อนแย้ง (doublethink), อาชญากรรมความคิด (thoughtcrime), นิวสปีก, ห้อง 101, เทเลสกรีน, 2 + 2 = 5 และหลุมความทรงจำ (memory hole) มีใช้ประจำวันนับแต่การตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1949 ยิ่งไปกว่านั้น หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ ทำให้คุณศัพท์ เกี่ยวกับงานของออร์เวลล์ (Orwell) ได้รับความนิยม ซึ่งอธิบายการหลอกลวงอย่างเป็นทางการ การสอดส่องดูแลลับ และการชักใยอดีตทางการเมืองโดยรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จหรืออำนาจนิยม ใน ค.ศ. 2005 นิตยสารไทม์ เลือกให้นวนิยายเรื่องนี้เป็นหนึ่งใน 100 นวนิยายภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดตั้งแต่ ค.ศ. 1923 ถึง 2005
จริงๆแล้วในการตีพิมพ์ครั้งแรกได้มีการใช้ชื่อเรื่องว่า The Last Man in Europe แต่ผู้เขียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น "1984" เพื่อให้ฟังดูน่าฉงนสงสัย และน่าติดตามค้นหามากขึ้น โดยหนังสือเรื่อง “1984” นั้นได้มีการแปลเป็นฉบับภาษาไทย โดยรัศมี เผ่าเหลืองทอง และ อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงษ์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2525และตีพิมพ์ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2557
หนังสือเล่มนี้ได้พยายามชี้ให้เห็นอิทธิพลของสื่อสะท้อนสังคม และพยายามชี้ให้เห็นว่า “War is peace. Freedom is slavery. Ignorance is strength.” หรือ “สงครามคือสันติภาพ เสรีภาพคือความเป็นทาส อวิชชาคือพลัง”
จักเห็นว่า ในวันหนึ่งๆ ชีวิตของเรารับและปะทะกับ “สื่อ” ต่างๆ มากมาย จนเราคุ้นชินไม่รู้สึกถึงแรงกระเพื่อมหรืออำนาจของมัน แต่หากพูดถึง “สื่อ” และ “อิทธิพล” ของสื่ออย่างจริงๆ จังๆ แล้วอำนาจของมันได้ฉายชัดให้ได้เห็นตั้งแต่สมัยสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง จนกระทั่งสงครามเย็น อำนาจที่แบ่งแยกผู้คน และเป็นอำนาจที่ฆ่าคนนับล้านให้ตายได้โดยอ้างเหตุผลของการกระทำว่าเป็นไปโดยชอบธรรม และอำนาจเดียวกันนี้เองที่ช่วยจัดระเบียบสังคม เป็นตัวแทนสู่การเปิดกว้างของโลก “ประชาธิปไตย”
เรียกได้ว่าสื่อมีทั้งอำนาจบวกและลบในตัวมันเอง
เพราะสื่อเป็นอีกหนึ่งตัวแปรของปัญหาต่างๆ และเพราะสื่อมีผลต่อการตัดสินใจของคน ทำให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ความสำคัญกับเรื่องของ”สื่อ” สังเกตได้จากในระยะเวลา 1 เดือนที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศได้ออกคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับ “สื่อ” เป็นจำนวนทั้งสิ้นกว่า 10 ฉบับ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันการบิดเบือนข้อมูล ที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และส่งผลต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของ คสช.
ในประเทศไทยเอง สื่อที่หลายคนกำลังให้ความสนใจคือ “ภาพยนตร์/หนังสือ เรื่อง 1984” โดยมีทั้งผู้ที่ออกมาอ่านหนังสื่อเล่มนี้จนเป็นกระแส ส่วนกรณีกิจกรรมสาธารณะการจัดฉายหนัง 1984 ก็ต้องถูกยกเลิกไป
หลายคนออกมาโพสต์เฟซบุ๊คบอกเล่าแสดงความเสียดายต่อการขาดนักการเมืองเปี่ยมคุณภาพอย่างคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ว่าจะเป็นนายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส.พิษณุโลกและผู้ท้าชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคก่อนการเลือกตั้ง24 มีนาคม 62 ที่ออกรบเคยเคียงบ่าเคียงไหล่ต่อสู้กับรัฐบาลทุนสามานย์ที่เข้ามาบริหารประเทศแล้วก่อการทุจริตโกงกินคอร์รัปชั่นด้วยนโยบายรับจำนำข้าว จนสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ
หรืออย่างนายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล นักการเมืองอาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์ , อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังที่เคยร่วมกับคุณชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาขณะนี้ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชาติหลังเกิดเหตุ “วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง” กระทั่งต่อมา “สัมภเวสีหน้าเหลี่ยม-ทักษิณ ชินวัตร”ดั้นเมฆชิงเอาเรื่องของการล้างหนี้ไอเอ็มเอฟเป็นผลงานขั้นเทพขิงมันเอง ทั้งที่เป็นการใช้หนี้ด้วยการกู้เงินธนาคารพัฒนาเอเชีย Asian Development Bank หรือเอดีบี(ADB) ซึ่งเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกู้มาล้างหนี้ไอเอ็มเอฟ ถึงกับหลั่งน้ำตาลั่นวาจารู้สึกเสียดายบุคลากรของพรรคที่ยังสามารถทำงานเป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชนในสภาได้ ได้ยินการลาออกแล้วน้ำตาตกใน เราจะคิดถึงคุณตลอดไป
ด้านสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง-รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์บอกว่าด้วยความเป็นนักการเมืองมืออาชีพที่สุจริตทั้งปากพูดและวิธีปฏิบัติ รักษาองค์กรและประเทศชาติ เข้าใจและเคารพการตัดสินใตของท่านซึ่งมีหลักการเข้าใจจิตใจและวิถีการเมืองสุจริตของท่าน
ขณะที่กองเชียร์และประดาคอการเมืองผู้เล่นนอกสนามมองในภาพที่แตกต่างกันไป บางคนก็กระหน่ำซ้ำเติมดูหมิ่นดูแคลน บางคนก็ให้กำลังใจเข้าใจในบทบาททางการเมืองลาออกเป็นการแสดงจุดยืนที่ชัดเจน บางคนก็โพสต์ข้อความว่าปรบมือให้ แสดงความรับผิดชอบ เลือกตัดสืนใจที่ถูกต้อง อย่างน้อยสังคมก็ยอมรับว่าคุณเป็นนักการเมืองที่ซื่อสัตย์สุจริต ถ้านักการเมิงทุกคนซื่อสัตย์สุจริต รู้จักพอ ไม่หน้าด้าน ประเทศก็ก้าวหน้า บ้านเมืองก็ไม่วุ่นวาย ขณะที่บางคนเชื่อว่าไม่นานนี้น่าจะเกิดการเลือกตั้งครั้งใหม่ และจะได้คุณอภิสิทธิ์กลับมาทำงานรับใช้ประชาชนอีกครั้งหากไม่เกิดอาการท้อถอยเสียก่อน
ในช่วงของการแถลงจุดยืน มาร์คผู้โอหังไม่พายเรือให้โจรนั่งได้กล่าวถึงมหาตมะ คานธี ผู้นำและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงชาวอินเดียและศาสนาฮินดู มหาบุรุษคนหนึ่งของโลกที่ได้ส่งจดหมายให้หลานระบุถึงบาป 7 ประการในสังคม ซึ่งมาร์คผู้อหังการ์ไม่พายเรือให้โจรนั่งประกาศชัดว่าไม่สามารถก่อบาป 1 ใน 7 ข้อของมหาบุรุษของโลกได้ ซึ่งก็คือ
บาปประการที่ 1. Politics without principlesหรือ”เล่นการเมืองโดยไม่มีหลักการ” หมายถึง การเล่นการเมืองที่ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ หรือไม่ยึดหลักการของเสียงส่วนใหญ่ แต่มองว่าเสียงส่วนน้อยสำคัญกว่าเสียงส่วนใหญ่ การเล่นการเมืองมีลักษณะส่งเสริมการรัฐประหาร แต่ไม่ส่งเสริมการปกครองแบบประชาธิปไตย รวมถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่มบางคน
บาปประการที่ 2. Pleasure without conscience. คือการหาความสุขสำราญโดยไม่ยั้งคิด หมายถึง ผู้ปกครองหรือนักการเมืองมุ่งเสพสุขหลงใหลอำนาจอิทธิพลเพื่อสร้างความเกรงกลัว โกงเงินจากประชาชนโดยวิธีที่แยบยล ทำให้ประชาชนๆไม่ได้รับผลประโยชน์จากผู้ปกครอง หรือคนมีอำนาจ เพราะโกงกินจากงบประมาณไปจนหมด แถมยังสร้างภาระหนี้สินฝากความทรงจำแก่ราษฎรด้วย
บาปประการที่ 3. Wealth without work.หมายถึงการร่ำรวยเป็นอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน หมายถึง ความร่ำรวยที่ไม่สุจริต ไม่ใช่ทักษะหรือฝีมือในการทำงานหาเงิน แต่หาเงินด้วยวิธีง่ายๆ คือ การทำสิ่งผิดกฎหมาย เช่น ค้ายาเสพติดการรีดไถเงินจากประชาชน การใช้อิทธิพลซ่อนเร้น แสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ
บาปประการที่ 4. Knowledge without character.การมีความรู้มหาศาลแต่ความประพฤติไม่ดี หมายถึง ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ประเภทตาดูดาวเท้าติดดิน-ระบบการศึกษาอาจไม่สามารถสอนคนให้เป็นคนดี เพราะการศึกษาส่วนใหญ่เน้นแต่การทำมาหากิน แต่ไม่เน้นการทำประโยชน์ต่อสังคม ทำให้คนมีความรู้มุ่งแต่หาเงิน จนไม่มีเวลาสนใจปัญหาของสังคม ซึ่งเรื่องนี้ยังเป็นปัญหาน้อยไม่เท่ากับคนที่มีความรู้ แต่อาศัยความรู้ทำสิ่งที่ไม่ดี เช่น การคดโกงเอาเปรียบสังคมการใช้อำนาจที่ไม่สร้างสรรค์ ฯลฯ หรือมีความรู้แต่ไม่ช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาสกว่า
บาปประการที่ 5. Commerce without morality.หมายถึงค้าขายโดยไม่มีหลักศีลธรรม หมายถึง เอาเปรียบแรงงาน พอขึ้นค่าจ้างก็อวดครวญ แต่ตัวเองร่ำรวยมหาศาลมีบ้านใหญ่โต , มีรถหลายคันจากการเอาเปรียบแรงงานมามากไม่ได้คำนึงถึงความถูกต้อง แทนที่จะเสียสละเพื่อสร้างคนงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี การเป็นเศรษฐีแบบนี้นับวันสังคมก็จะดูแคลน และไม่ให้ความเคารพนับถือหากเป็นคนที่ไม่นึกถึงความลำบากยากจน
บาปประการที่ 6. Science without humanity.วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์ หมายถึงว่า คิดค้นวิทยาศาสตร์ทำให้มนุษย์ต้องเข่นฆ่ากัน เช่นการคิดระเบิดปรมาณู ผู้นำมาใช้ในสงครามเป็นผู้นำประเทศ แต่ไอน์สไตน์ถึงกับหลั่งน้ำตา เพราะเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่คำนึงถึงความเมตตาธรรม ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นอะไรมากมาย ก็อาจทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายธรรมชาติ
และบาปประการที่ 7. Worship without sacrifice. หมายถึงการบูชาสูงสุดแต่ไม่มีความเสียสละ คือบูชาพระบูชาเทพเจ้า แต่ไม่มีธรรมะในใจ ไม่มีความเสียสละ จึงทำให้สังคมเดือดร้อนเพราะความหลงใหลไปในทางที่ผิด หลงผิดบูชาไสยศาสตร์เพื่อเป็นที่พึ่ง แต่ความเสียสละจะหมายถึงการยินยอมให้โอกาสเพื่อนมนุษย์ได้รับสิ่งดีสูงสุด ซึ่งเป็นวิธีประชาธิปไตย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีได้ระบุว่าเหตุที่แสดงจุดยืนเช่นนี้เพราะ บาป 7 ประการนั้น มีหนึ่งในนั้นคือการเมืองที่ปราศจากหลักการ ทำให้ผมไม่สามารถทำบาปนั้นได้ ผมจึงจำเป็นต้องตัดสินใจลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร”
ซึ่งต้องรอดูรอพิสูจน์กันต่อไปว่า มาร์คผู้อหังการ์ไม่พายเรือให้โจรนั่ง จะตัดสินใจถูกต้องหรือไม่กับการลาออกไม่ทำหนhkที่ในรัฐสภา
แต่ต้องดูว่าโจรจะเข้าใจความหมาย และบริบถของนวนิยายที่ประพันธ์โดย จอร์จ ออร์เวลล์
ทั้ง Animal Farm และ 1984 หรือไม่
แค่ไหน อย่างไร หรือ โจรก็คือโจรที่ไร้สำนึก
อย่างน้อย มาร์คขอกระโดดน้ำตายดีกว่าฝืนใจพายเรือให้โจรนั่ง
วรพจน์ แสนประเสริฐ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี