เทพธิดาฉางเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์
“บุปผายามใบไม้ผลิ จันทรายามใบไม้ร่วง”
ฤดูใบไม้ร่วง อากาศกำลังเย็นสบายก่อนจะเข้าสู่ฤดูหนาวอันหนาวเหน็บ ใบไม้เปลี่ยนสีสวยผลัดใบ ระบายสีแดงและเหลืองทั่วทิวเขาและราวป่า กระทบแสงจันทร์บนฟากฟ้าให้ดูงามเด่นสกาว เป็นทัศนียภาพที่ดูสงบนิ่งงดงาม จึงเกิดสำนวน “บุปผายามใบไม้ผลิ จันทรายามใบไม้ร่วง” (春花秋月-ชุน-ฮวา-ชิว-เยว่ เสียงจีนกลาง)
ปัญญาชนฮกเกี้ยน เอาหย่งเจียม กล่าวไว้ในหน้านำของบทกวีนิพนธ์ชื่อ “ชมจันทร์” (玩月) ว่า “การชมจันทร์ หากเข้าฤดูหนาว จักหนาวเกินไป มากด้วยเกล็ดน้ำค้างแข็ง หากเข้าฤดูร้อน ก็จักร้อนเกินไป มีเมฆมากย่อมบดบังจันทร์ เกล็ดน้ำค้างแข็งย่อมเกาะจับ ทั้งหมดนี้ย่อมเป็นอุปสรรคที่จะชมจันทร์” ฤดูใบไม้ร่วงลุเข้าค่ำขึ้นวันที่สิบห้าซึ่งเป็นช่วงกลางเดือน ตามวัฏจักรของธรรมชาติ อากาศหนาวร้อนสมดุลกัน อันเป็นวาระที่ดวงจันทร์สุกสกาวเต็มดวง จึงเรียกขานกันว่า จงชิว (中秋)”
ตามประเพณีของชาวจีนมักจะมีการใช้ขนมหลากหลายแบบ เพื่อใช้ในวาระเทศกาลที่แตกต่างไม่ซ้ำกัน เช่น เทศกาลเชงเม้งก็จะไหว้ด้วยขนม “จูชังเปี้ยะ” มีทั้งไส้หวาน ไส้เค็ม ยังมีเทศกาลขนมบ๊ะจ่าง เทศกาลขนมบัวลอย รวมทั้งขนมอวยพรวันเกิด “ซิ่วท้อ” ชุดขนมวันแต่งงาน ฯลฯ ตรุษสารทก็ไหว้ด้วยขนมเข่ง ขนมเทียน สำหรับเทศกาลที่มีขนมหลากหลายอย่างหลากสีสันคือ “เทศกาลไหว้พระจันทร์” เป็นเทศกาลที่มีความสำคัญอันดับสองรองจากเทศกาลตรุษจีน ซึ่งจะตรงกับวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ ประมาณเดือนกันยายน หรือตุลาคม เรียกตามภาษาถิ่นแต้จิ๋วว่า ตงชิวโจ่ย แปลว่าเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง เป็นประเพณีที่ชาวจีนนับเป็นอีกสารทหนึ่งที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานับพันปี โดยมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับวันไหว้พระจันทร์ต่างๆ มากมาย ส่วนมากจะเป็นเรื่องของ เทพธิดาฉางเอ๋อ เหินสู่ดวงจันทร์และกระต่ายบนดวงจันทร์ หลายแห่งจะจัดเป็นประเพณีใหญ่ เฉลิมฉลองด้วยโคมไฟสีแดง เป็นสีสันยามค่ำคืน หรือบางแห่งอาจมีการเชิดมังกร แตกต่างตามประเพณีย่อยของแต่ละถิ่น
เชิดสิงโตฉลองวันไหว้พระจันทร์
รูปแบบขนมไหว้พระจันทร์ของชาวกวางตุ้ง เราเห็นอยู่ดาษดื่นไปทั่วโลก จนคุ้นเคยว่าเป็นขนมไหว้พระจันทร์ขนานแท้ มีไส้ให้เลือกหลากหลายชนิด ขนมเปี๊ยะกวางตุ้งนี้เข้ามาแพร่หลายในบ้านเราไม่นานมานี้เอง โดยบรรดาเชฟจากฮ่องกงของโรงแรมห้าดาว แรกๆ ก็มีเพียงไส้ถั่วบด ไส้ธัญพืช 5 ชนิด (โหงวยิ้ง) ไส้พุทราจีน ไส้ครีม จนถึงไส้ทุเรียนกวน บางชิ้นสอดไส้ไข่แดงเค็ม บางชิ้นใส่ไข่แฝดถึง 2 ฟอง ที่เมืองคุนหมิง เคยชิมที่ผสมไส้หมูแฮมจนได้รสชาติที่แปลกไปอีกแบบ
แต่งโต๊ะสวยงามยามพระจันทร์เต็มดวง
อีกไม่นานจะเห็นทุกบ้านแข่งขันกันแต่งโต๊ะขนม ผลไม้ กระดาษฉลุลายสวยงามประชันกันทั่วไป เทศกาลนี้เริ่มลดน้อยลงหลังจาก นิล อาร์มสตรอง และยานอพอลโล่เหยียบดวงจันทร์
ขนมจากภัตตาคารเชียงการีลา
ปกติเป็นภัตตาคารจีนที่ประสบความสำเร็จ มีหลายสาขา เป็นภัตตาคารอาหารจีนกวางตุ้งกับแต้จิ๋วรสชาติดี สถานที่หรูหรามีบรรยากาศแบบจีน เมื่อถึงเทศกาลไหว้พระจันทร์ ก็จะทำขนมไหว้พระจันทร์ไส้ต่างๆ ออกมาจำหน่ายนอกเหนือจากขนมเปี๊ยะที่มีอยู่ประจำ ซึ่งผู้ได้ชิมต่างชื่นชมถึงรสชาติที่บรรจุไส้แน่น แป้งหุ้มบาง หมั่นเสาะหาไส้ชนิดใหม่ในกล่องสวยงามหลายขนาด
อลังการของขนมที่วางจานจัดหลายเหลือตา
นับวันขนมไหว้พระจันทร์เริ่มเป็นงานศิลปะที่โรงแรมระดับ 5-6 ดาว แข่งขันกันสร้างสรรทั้งรสชาติและรูปแบบของบรรจุภัณฑ์อันหรูหรา แม้กระทั่งยักษ์ใหญ่เชนกาแฟโลกสตาร์บัคยังต้องผลิตขนมไหว้พระจันทร์สู่สมรภูมิธุรกิจนี้
ชุดดาวล้อมเดือน
ขนมไหว้พระจันทร์และบรรจุภัณฑ์สวยงามของภัตตาคารเชียงการีลาในปีนี้
ภัตตาคารเชียงการีลาซึ่งถือว่าเป็นเอกอุอยู่แถวหน้ามานานปีก็เช่นกัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอยู่ตลอดทุกปีทั้งคุณภาพและรูปแบบเพื่อรักษาแชมป์ที่มีมายาวนาน ซึ่งปีนี้มีไส้เพิ่มมากถึง 17 ชนิดให้เลือก
ไส้โหงวยิ้ง
คือไส้ที่ผสมกับธัญพืช 5 ชนิด เช่น เม็ดแตงโม เม็ดอัลมอนด์ เม็ดบัว ถั่วเขียว ถั่วแดง ลูกเดือย เกาลัด ตามแต่จะหาธัญพืชที่มี สูตรต้นตำรับคือสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ นอกจากประกอบด้วยถั่ว 5 ชนิดแล้ว ยังเพิ่มกลิ่นหอมของใบมะกรูดและขิงแก่ ทำให้มีรสสัมผัสอย่างลงตัว
ไส้โหงวยิ้งไข่เค็ม
ใส่ไข่แดงเค็มไว้ตรงกลาง เปรียบเสมือนมีดวงจันทร์อยู่กลางลูก
ไส้เกาลัดแมคคาเดเมีย
เป็นไส้ที่ประดิษฐ์ใหม่ มีความอร่อยของรสผสมผสานซึ่งเหล่านางฟ้าไม่รู้จัก
ไส้พุทราจีนไข่
พุทราจีนต้มแล้วรูดแต่เนื้อพุทรากวนซึ่งลอกเลียนขนมพุทราทอดที่จีนกวางตุ้งเรียกวอแป๋ง รสชาติความอร่อยอยู่ที่ความหวานแซมเปรี้ยวเล็กน้อย บางคนจะหลงใหลในรสชาติโทนเดียวกับวอแป๋ง
รายการไส้ต่างๆ ให้เลือกหลากหลาย
มีจำหน่ายที่ 3 สาขา ได้แก่
ธนิยะ 02238061-3 สีลม 022349147-9 เยาวราช 022245933 022245807
Call center 0924529265
http://www.shangarilagroup.com/
https://shop.line.me/@shangarilahouse
โทร.02 234 0861
(ภาพถ่ายจาก https://www.facebook.com/ShangarilaMoonCake/
และนส.แพรไพลิน ศุกลรัตนเมธี)
เพิ่มเติมกิจกรรมในวันไหว้พระจันทร์
แบบร่างโคมไฟ
โคมไฟหลายแบบหลากสีสันพรรณราย
เนื่องด้วยเทศกาลไหว้พระจันทร์เป็นเทศกาลที่สำคัญเป็นอันดับสองของจีนรองจากวันตรุษจีน เนื่องจากเป็นกลางฤดูใบไม้ร่วง จึงมีการเฉลิมฉลองเทศกาลอย่างรื่นเริงด้วยการร่วมกันกินอาหารเย็นและชื่นชมโคมไฟกระดาษ
โคมไฟที่ปักกิ่ง
โคมไฟที่เซี่ยงไฮ้นานจิงลู่
โคมของเทศกาลไหว้พระจันทร์ในไชน่าทาวน์ สิงคโปร์
เทศกาลไหว้พระจันทร์ของร้านรวงในวิคตอเรีย ปาร์ค ฮ่องกง
ที่มอลติอาล เคนาดา
ความโดดเด่นของการเฉลิมฉลองเทศกาลคือการถือโคมไฟที่จุดประดับตามหอคอย หรือโคมลอยบนท้องฟ้า ประเพณีอื่นที่เกี่ยวข้องกับโคมไฟคือการเขียนปริศนาบนโคมไฟและให้คนอื่นพยายามเดาคำตอบ (燈謎'โคมไฟปริศนา')
เป็นการยากที่จะแยกแยะจุดประสงค์ดั้งเดิมของโคมที่เกี่ยวข้องกับเทศกาล โคมไม่ได้ใช้ร่วมกับการบูชาพระจันทร์ ก่อนสมัยราชวงศ์ถังโคมไฟถูกจุดเพื่อเป็นสัญลักษณ์ฉลองความอุดมสมบูรณ์ เพื่อจุดประสงค์เป็นการประดับประดาตกแต่งเป็นหลัก สืบเนื่องจนปัจจุบันโคมไฟได้กลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ประจำของเทศกาลแล้ว
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี