สำหรับคอสงครามและการต่อสู้ในสมรภูมิแล้ว คงรู้จักอาวุธชนิดนี้ดีนั่นคือ ระเบิดลูกปราย (cluster bomb) ซึ่งนับเป็นอาวุธต้องห้ามภายใต้อนุสัญญาฉบับหนึ่งของสหประชาชาติอาทิตย์ก่อนกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯเร่งเร้าประธานาธิบดีโจ ไบเดน หาระเบิดลูกปราย (cluster bomb) ที่ยิงด้วยปืนใหญ่ส่งไปยูเครนกลุ่มนี้ไล่บี้อย่างชนิดที่เรียกว่าไม่สนสีสนแสดอะไรอีกต่อไปแล้วพออาทิตย์ต่อมาอเมริกาประกาศปังดังลั่นว่ายืนยันจะส่งระเบิดลูกปรายหรือ“คลัสเตอร์บอมบ์” ซึ่งเป็นอาวุธต้องห้ามให้ยูเครนอาวุธดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของแพกเกจความช่วยเหลือล็อตใหม่800 ล้านดอลลาร์ และจะทำให้มูลค่าความช่วยเหลือด้านการทหารที่สหรัฐฯมอบแก่ยูเครนนับตั้งแต่รัสเซียเปิดศึกรุกรานเมื่อต้นปีที่แล้วเพิ่มขึ้นเป็นกว่า40,000 ล้านดอลลาร์ อือ..เจริญนะ พลเมืองอเมริกันลำบากทั่วหน้าแต่ไม่สนใจประธานาธิบดี โจ ไบเดน ยอมรับว่าการส่งคลัสเตอร์บอมบ์ให้แก่ยูเครนถือเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบาก แต่เชื่อว่ายูเครน “จำเป็น” ต้องใช้อาวุธเหล่านี้คลัสเตอร์บอมบ์บรรจุลูกระเบิดขนาดเล็กภายในจำนวนมากซึ่งจะปล่อยออกมาระหว่างพุ่งไปในอากาศกระจัดกระจายทั่วพื้นที่เป้าหมาย ปกติแล้วถูกใช้สำหรับต่อต้านยานเกราะเบา
ขณะที่ระเบิดที่ออกแบบโดยอเมริกานี้ยังเป็นที่รู้จักกันในฐานะกระสุนระเบิดทวิประสงค์ (dual-purpose improved conventional munitions หรือ DPICMs) ที่สามารถเจาะเกราะที่หนา 4 ถึง 8 นิ้ว (10 ถึง 20 เซนติเมตร) ระเบิดลูกปรายมีอัตราความคลาดเคลื่อนผิดพลาดจากเป้าหมายและอาจจะไม่ระเบิดทำให้ลูกระเบิดขนาดเล็กตกค้างในพื้นที่สงครามนานหลายทศวรรษด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของพลเรือนผู้บริสุทธิ์ได้ในภายหลังระเบิดลูกปรายถือเป็นอาวุธสังหารแบบไม่เลือกหน้าเพราะปลดปล่อยลูกระเบิดขนาดเล็กกระจายตัวออกเป็นวงกว้างลูกระเบิดเหล่านี้หากไม่ทำงาน ก็ฝังตัวอยู่ในดินได้นับสิบๆปีหลังจากที่สงครามจบ ซึ่งจะก่ออันตรายกับพลเรือนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่จากการทำงานของระเบิดลูกปรายนี่เองที่ทำให้ประเทศต่างๆ กว่า120 ชาติ ในนั้นรวมถึงสมาชิกนาโตหลายประเทศแบนการใช้ระเบิดชนิดนี้ภายในอนุสัญญาฉบับหนึ่งของสหประชาชาติ ย้อนกลับไปในปี 2008 และได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดลูกปรายปี 2008 (Convention on Cluster Munitions) ห้ามการผลิต ใช้งาน สะสมหรือเคลื่อนย้ายอาวุธประเภทนี้ ส่วนสหรัฐฯไม่ได้เข้าร่วมในอนุสัญญาดังกล่าว
หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนและเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติออกมาวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจของอเมริกาในครั้งนี้พันธมิตรอย่างสหราชอาณาจักร แคนาดา และสเปนออกมาแสดงจุดยืนว่าคัดค้านการใช้กระสุนดังกล่าว
อีกชาติที่ออกมาโวยลั่นคือจีน สื่อจีนมีรายงานออกมาทันทีโดยชี้ให้เห็นว่าระเบิดลูกปรายหรือ Cluster Bomb ที่กองทัพอเมริกันทิ้งใส่ลาวเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้วยังส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนลาวจนถึงปัจจุบันอเมริกาเคยทิ้งระเบิดในลาวช่วงปี 2503-2513 ตอนทำสงครามลับเพื่อทำลาย “เส้นทางโฮจิมินห์” กองทัพอเมริกาทิ้งระเบิดลูกปรายรวมทั้งหมดประมาณ 260 ล้านลูกยังมีระเบิดจำนวนมากตกค้างอยู่ และส่งผลกระทบมาจนถึงปัจจุบันแขวงเชียงขวางเป็นแขวงหนึ่งที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงจากสงครามลับของกองทัพอเมริกัน สิ่งก่อสร้างถูกทำลายจนนับไม่ถ้วนประชาชนต้องไร้ที่อยู่อาศัย เมือง หมู่บ้านบ้านเล็กๆหลายแห่งหายสาบสูญไปจากแผนที่ระเบิดที่ยังไม่ทำงานตกค้างอยู่ในลาวกลายเป็นภัยร้ายแรงต่อการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะชาวไร่ ชาวนาแต่ละปีมีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากระเบิดเหล่านี้ข้อมูลจากโครงการเก็บกู้ระเบิดแห่งชาติ สปป.ลาว ระบุว่า ช่วงสงครามอินโดจีน ระหว่างปี 2507-2516 ลาวเป็นประเทศที่ถูกสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดลงมาหนักที่สุดในโลกเมื่อเฉลี่ยต่อจำนวนประชากรมีการเก็บสถิติว่ากองทัพอเมริกันนำเครื่องบินมาทิ้งระเบิดใส่ดินแดนของลาวถึง 580,000 เที่ยว เฉลี่ยทุก 8 นาที ต้องมีเครื่องบินมาทิ้งระเบิด 1 เที่ยวตลอด 24 ชั่วโมง ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 9 ปี
น้ำหนักของระเบิดที่ถูกทิ้งลงมาในลาวนั้นมีมากกว่า 2 ล้านตันขณะที่จำนวนประชากรลาวในช่วงสงครามนั้นมีอยู่เพียง 1 ล้านคน
ระเบิดที่ถูกทิ้งลงมาส่วนใหญ่เป็นระเบิดลูกปราย (Cluster Bomb) มากกว่า 270 ล้านลูกคาดว่าปัจจุบันยังมีระเบิดลูกปรายอีกประมาณ 80 ล้านลูก หรือ 30% ที่ยังไม่ระเบิดและยังคงคงตกค้างอยู่ในดินแดนลาว ครอบคลุมพื้นที่กว่า87,000 ตารางกิโลเมตร เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของลาว มาจนถึงทุกวันนี้ทั้งหมดนี้คือข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงเพื่อให้ลองคิดวิเคราะห์ถึงท่าทีและความรับผิดชอบของอเมริกาที่ชอบใช้แผ่นดินอื่นเป็นสมรภูมิ แล้วทิ้งบาดแผลและความตายไว้อย่างไรบ้างซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่เข็ดไม่หลาบจำโดยกำลังจะทำแบบเดิมบนแผ่นดินยูเครน
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี