เมืองกัลกัตตา ถูกกลุ่มมุสลิม ลีก วางแผนให้เป็นเมืองหลักในการประท้วงแบบทั่วไปของชาวมุสลิม ซี่งแน่นอนว่า ทั้งกลุ่มมุสลิมลีก และ พรรคคองเกรส ต่างก็รู้ว่าอาจจะเกิดความรุนแรงได้ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ประเมินด้วยความประมาทว่า จะสามารถควบคุมได้ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร
แต่พวกเขาคาดการณ์ผิดไปไกลหลายโยชน์
ในช่วงนั้น ความรู้สึกของชาวมุสลิมต่อคำว่า “ชาติ” ไม่มีอยู่เลย หรือหากจะมีก็น้อยมาก พวกเขามีแต่ความรู้สึกในเรื่อง “ชาติอิสลาม” เท่านั้น
(โมฮัมหมัดอาลี จินนาห์ ผู้นำของกลุ่มมุสลิมลีก กับ คานธี - ภาพจากวิกิพีเดีย)
หลังจากจินนาห์ ได้ประกาศว่า หากชาวมุสลิมไม่ได้รับการตอบสนองให้แบ่งแยกประเทศออกไปเป็นประเทศปากีสถาน เขาจะเริ่มปฎิบัติการตรง (DIRECT ACTION DAY)ในวันที่ 16 สิงหาคม
ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ว่า “ปฎิบัติการตรง” จะมีรายละเอียดอย่างไร และ จะมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน แต่ทุกคนรู้ว่า ไม่น่าจะเป็นเรื่องดีแน่นอน
ประชาชนชาวเบงกอลตกอยู่ในสภาพหวาดกลัว บรรดาผู้บริหารรัฐเบงกอลเองก็รู้สึกเป็นห่วงต่อสถานการณ์ในวันนั้นไม่น้อยกว่ากัน จึงประกาศให้วันที่ 16 สิงหาคมเป็นหยุดราชการ ด้วยหวังว่าจะทำให้ผู้คนจากทั้งสองฝ่ายเลือกที่จะพักผ่อนอยู่กับบ้าน ไม่ออกมาเดินประท้วงตามถนนเพื่อลดการเผชิญหน้ากัน
แต่พรรคคองเกรสของรัฐเบงกอล ไม่เห็นด้วยที่จะประกาศให้เป็นวันหยุด ด้วยเหตุผลว่า เมื่อคนเหล่านี้โดยเฉพาะชาวมุสลิมไม่ต้องไปทำงาน ก็จะน่ามีเวลาที่จะไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มมุสลิมลีกได้ง่าย และมากขึ้น
วันที่ 14 สิงหาคม คิรอน แชงการ์ รอย (KIRON SHANKAR ROY)ผู้นำของพรรคคองเกรสในสภานิติบัญญัติของรัฐเบงกอล ได้ออกมาเรียกร้องขอให้เจ้าของร้านขายของชาวฮินดูอย่าได้หยุดงาน และ ขอให้เปิดร้านขายของตามปกติ
การประท้วงตามคำเรียกร้องของจินนาห์ ได้รับการตอบรับอย่างเป็นระบบ หนังสือพิมพ์ STAR OF INDIA ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลในหมู่ชาวมุสลิมในเบงกอล ได้ประกาศสนับสนุน และ เรียกร้องให้ประชาชนทุกคนออกมาประท้วง และยังตีพิมพ์กำหนดการของการประท้วงในแต่ละวัน รวมทั้งระบุสถานที่จะประท้วงและรวมตัวกันทุกแห่งด้วย
(ชาฮีต มินาร์ สถานที่รวมพลของกลุ่ม ปฎิบัติการตรง ในเมืองกัลกัตตา เนื่องจากมีสนามหญ้ากว้างขวางสามารถรองรับผู้คนจำนวนมาก-ภาพจากวิกิพีเดีย)
ในแผนการดังกล่าวระบุด้วยว่า ผู้ประท้วงทั้งหมดจะเดินเท้าไปยังจุดนัดจบที่ OCHTERLONY MONUMENT ซึ่งปัจจุบันนี้เรียกว่า ชาฮีต มินาร์
ตรงจุดนัดพบนี้เอง จะมีม็อบผู้ประท้วงกลุ่มใหญ่รออยู่ ภายใต้การจัดการและนำโดย ฮูสเซน ชาฮีต ชูห์ราวาร์ดี (HUSEYN SHAHEED SUHRAWARDY)
(ชูห์ราวาร์ดี มุกมนตรีแห่งรัฐเบงกอล ในปี 1946-ภาพจากวิกิพีเดีย)
ที่น่าสนใจก็คือ ชูห์ราวาร์ดี ดำรงตำแหน่ง มุขมนตรีแห่งรัฐเบงกอล(CHIEF MINISTER OF BENGAL)ในขณะนั้น ซึ่งเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐนั่นเอง
ชูห์ราวาร์ดี นับถือศาสนาอิสลาม
สถานะการณ์ของอินเดียบีบรัดเข้ามาตรงคอหอยทุกขณะ อังกฤษสรุปความเป็นไปและตระหนักดีว่า คงยากที่จะหลีกเลี่ยงการปะทะกันได้ และน่าจะนำไปสู่ความวุ่นวาย แต่อังกฤษก็ไม่สน
อังกฤษเพียงต้องการจะปลดอินเดียออกไปจากภาระของตน โดยไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น ขอแต่เพียงว่า ความเสียหายจะไม่เกิดขึ้นต่ออังกฤษเท่านั้น หรือ หากจะเกิดก็ควรจะเกิดความเสียหายน้อยที่สุดเท่านั้นก็พอ
สำหรับท่านที่สนใจจะร่วมเดินทางเจาะลึกอียิปต์กับผม ระหว่างวันที่ 12-21 กุมภาพันธ์ 2568 สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร 0885786666 หรือ LINE ID – 14092498
พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี