ยกเลิกมาตรา 370 ภารกิจรัฐบุรุษ(ตอน21)
ก่อนอินเดียแยกประเทศ
โดย เสรษฐวิทย์ ชีรวินิจ
วันที่ 16 สิงหาคม 1946 ที่ฝ่ายมุสลิมลีกเรียกว่า วันปฎิบัติการตรงนั้น เป็นที่รู้จักกันของชาวกัลกัตตาว่า “วันสังหารในกัลกัตตาปี 1946” และ เวลาต่อมา วันที่ 16 สิงหาคม ถูกกำหนดให้เป็น สัปดาห์แห่งวันดาบยาว (THE WEEK OF THE LONG KNIVES)
ชาวอินเดียมุสลิมทั่วทั้งประเทศออกมาประท้วง ซึ่งเป็นการชี้นำโดย มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์(MUHAMMAD ALI JINNAH)
(ชาวมุสลิม ที่ออกมาชุมนุมตามท้องถนนในวันที่ 16 สิงหาคม 1947-ภาพจากวิกิพีเดีย)
แม้ว่าทั้งรัฐบาลอังกฤษ และ พรรคการเมืองทุกฝ่ายจะเตรียมรับมือกับการชุมนุนครั้งนี้อย่างเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่พวกเขาไม่เคยมีประสบการณ์กับการชุมนุมทางการเมืองที่มีขนาดใหญ่ขนาดนี้มาก่อน จึงยากที่จะนึกภาพ และเข้าใจวิธีการรับมือ และ ควบคุมฝูงชนได้
เมฆดำทมึนแห่งความหายนะก่อตัวมาตั้งแต่ก่อน 10 โมงเช้าของวันที่ 16 สิงหาคม เมื่อสำนักงานใหญ่ของตำรวจที่ ลัลบาซาร์ (LALBAZAR) ได้รับรายงานว่า เกิดเรื่องระทึกขวัญจนเป็นโศกนาฎกรรมไปทั่วทั้งมืองกัลกัตตา เพราะมีกลุ่มคนออกมาอาละวาดบังคับให้ร้านค้าที่ยังเปิดให้ปิดร้านในทันที มีการใช้ก้อนหินขว้างปา และ การทะเลาะเบาะแว้งกระจายไปทั่ว
ที่ร้ายกว่านั้นก็คือ มีการใช้อาวุธมีดแทงกัน
(ผู้เขียนกับร้านขายหนังสือมือสองร้านหนึ่งบนถนนวิทยาลัย)
พื้นที่เกิดเหตุส่วนใหญ่ จะเป็นเขตชุมชนที่มีชาวฮินดูอาศัยอยู่ และ มีฐานะทางการเงินที่ดีกว่าชุมชนอื่น เช่น ถนนวิทยาลัย(COLLEGE STREET) ซึ่งเป็นถนนที่เต็มไปด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ และ มีร้านขายหนังสือตำราเรียนทุกชนิด ทั้งมือหนึ่งและมือสอง มีสำนักพิมพ์ที่ตีพิมพ์หนังสือตำราวิชาการต่างๆอยู่มากมาย เป็นต้น
ถือเป็นย่านของปัญญาชนชาวฮินดู
(โรงเรียนฮินดู ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1817 ก็ตั้งอยู่บนถนนวิทยาลัยด้วย)
เห็นได้ชัดเจนว่า นี่เป็นความจงใจที่จะแก้แค้นต่อชาวฮินดูเป็นหลัก เพราะชาวฮินดูมักจะกุมอำนาจในองคาพยพต่างๆทางเศรษฐกิจเอาไว้มากกว่าชาวมุสลิม เช่น เป็นเจ้าของที่ดินที่ชาวมุสลิมจะต้องจ่ายค่าเช่าให้ นอกจากนี้ ชาวฮินดูทำธุรกิจมากมายหลายแขนงครอบคลุมไปเกือบทุกแขนง
(มหาวิทยาลัย เพรสซิเดนซี่ ก็ตั้งอยู่บนนถนนวิทยาลัย ไม่ห่างออกไปนัก ก็เป็นวิทยาลัยแพทยศาสตร์แห่งแรกของอินเดีย)
ขณะนั้น รัฐบาลอังกฤษคิดว่า น่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชุมชน ซึ่งน่าจะจำกัดวงอยู่แค่นั้น ไม่น่าจะบานปลายออกไป
อังกฤษพลาดอย่างมากในจุดนี้
การรวมตัวรณรงค์อย่างจริงจังเต็มรูปแบบของสหพันธ์มุสลิม เกิดขึ้นที่ จตุรัส อนุสรณ์ ออคเทอร์โลนี่ ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1828 เพื่อเป็นการสดุดีต่อพลตรีเซอร์ เดวิด ออคเทอร์โลนี่ (SIR DAVID OCHTERLONY) ผู้บัญชาการของ บริษัทอินเดียตะวันออก ในโอกาสที่เขานำกองทัพทำสงครามได้ชัยชนะต่อ กองทัพของชาวมาราตี (MARATHI) ในปี 1804
ชาวมาราตี ก็คือ ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูเป็นหลัก และถือเป็นสงครามช่วงท้ายๆของชาวฮินดู ในการปกป้องแผ่นดินเกิดของพวกเขาต่อผู้ยึดครองชาวอังกฤษ
ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ การรวมตัวกันที่จตุรัสดังกล่าวเริ่มขึ้นเวลาเที่ยงตรง คนที่มาชุมนุมเป็นชาวมุสลิมล้วนๆ และ มีจำนวนมากมายมหาศาล
ว่ากันว่า เป็นการรวมตัวของชาวมุสลิมที่มีจำนวนมากที่สุดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของรัฐเบงกอล
ประวัติศาสตร์กำลังจะจารึกความเลวร้ายครั้งยิ่งใหญ่ของรัฐเบงกอลในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า
สำหรับท่านที่สนใจจะร่วมเดินทางเจาะลึกอียิปต์กับผม ระหว่างวันที่ 12-21 กุมภาพันธ์ 2568 เราจะต้องปิดกรุ๊ปวันที่ 12 มกราคม 2568 ไม่ใช้เอกสารใดๆในการขอวีซ่า ราคานี้ร่วมค่าใช้จ่ายทุกอย่าง ท่านสมาชิกไม่ต้องจ่ายเงินใดๆอีกเลย สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทร 0885786666 หรือ LINE ID – 14092498
พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี