หลังจากเหตุการณ์สังหารโหดในกัลกัตตา สงบลงในวันที่ 22 สิงหาคม ทุกฝ่ายก็เริ่มวิเคราะห์และสรุปสถานการณ์ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และเหตุใดจึงทำให้เกิดการสังหารโหดชาวฮินดูจำนวนมากในขนาดนี้ในเวลาประมาณ 7 วัน
เหตุผลโดยรวมก็คือ รัฐบาลอังกฤษในขณะนั้น ไม่เคยพบกับการเดินขบวนประท้วงยิ่งใหญ่แบบนี้มาก่อน มิพักต้องพูดถึงการก่อการจลาจลสังหารโหดด้วยอาวุธครบมือแบบนี้
ที่สำคัญก็คือ อังกฤษวางตัวเองในแบบห่างๆ เพราะไม่ต้องการจะเข้ามาพัวพันกับเรื่องนี้ อังกฤษเพียงแค่ต้องการปล่อยให้อินเดียหลุดพ้นจากมือของตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยวิธีอะไรก็ตาม ขอเพียงแต่อังกฤษไม่ควรจะต้องสูญเสียอะไรมากกว่านี้อีก
(นาย ฮูเซน ชาฮีด ซูห์ราวาร์ดี (คนนั่ง) ถ่ายรูปคู่กับ คาห์วาจา นาซิมมุดดิน ซึ่งปราศรัยกระตุ้นให้ชาวมุสลิมออกมาก่อการจลาจล-ภาพจากวิกิพีเดีย)
แต่บุคคลที่ถูกประวัติศาสตร์จารึกเอาไว้ว่า ควรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการตายจำนวนมากแบบนี้ ก็คือ ฮูเซน ชาฮีด ซูห์ราวาร์ดี (HUSEYN SHAHEED SUHRAWARDY) ซึ่งขณะเกิดเหตุ เขาดำรงตำแหน่งมุขมนตรีแห่งรัฐเบงกอล หรือเทียบได้กับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งรัฐเบงกอล
และยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของรัฐเบงกอลด้วย
ซูห์ราวาร์ดี เป็นมุสลิม และเป็นสมาชิกของกลุ่มสหพันธ์มุสลิมลีกที่มีนาย มูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ เป็นผู้นำ เขารณรงค์หาเสียงให้พรรคมุสลิกในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1946 จนทำให้สหพันธ์มุสลิมลีกได้ชัยชนะอย่างถล่มทลาย จากจำนวนที่นั่งทั้งหมด 119 ที่นั่ง มุสลิมลีกได้ชัยชนะมากถึง 113 ที่นั่ง
สาเหตุที่มุสลิมลีกได้ชัยชนะอย่างถล่มทลายก็เพราะรัฐเบงกอลขณะนั้นซึ่งรวมพื้นที่ทั้งเบงกอลตะวันตก และ เบงกอลตะวันออกเข้าด้วยกัน มีปัจจัยที่เอื้อต่อกลุ่มมุสลิมลีก
เบงกอลตะวันตก ปัจจุบันยังเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย มีเมืองหลวงอยู่ที่ กอลกัตตา ในขณะที่ เบงกอลตะวันออก ซึ่งมีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่จำนวนมาก ได้กลายเป็นประเทศปากีสถานตะวันออก หลังจากแยกตัวออกจากอินเดีย
(เส้นแบ่งรัฐเบงกอล ออกเป็น เบงกอลตะวันออก และ เบงกอลตะวันตก ที่อังกฤษได้เขียนขึ้นในปี 1905 )
ต่อมาในเดือนมีนาคม ปี1971 ปากีสถานตะวันออกประกาศอิสรภาพจากปากีสถาน และกลายเป็นบังคลาเทศในปัจจุบัน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงธากา
นักประวัติศาสตร์มีความเห็นตรงกันว่า ซูห์ราวาร์ดี ในฐานะมุขมนตรีแห่งเบงกอล มีเจตนาพยายามขัดขวางการทำงานของตำรวจที่อยู่ในอำนาจของตนเองไม่ให้เข้ามาระงับเหตุตั้งแต่ต้น แต่ตลอดเวลาของการเกิดเหตุตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม เขาเข้าไปอยู่ในห้องควบคุมสถานการณ์ของตำรวจ โดยไม่ทำอะไร พร้อมๆกับสมาชิกของมุสลิม ลีก อีกหลายคน
เป็นเรื่องที่ชาวฮินดูในเมืองกัลกัตตา เจ็บปวดหัวใจอย่างยิ่ง
สภาแห่งรัฐเบงกอล ประชุมกันอย่างหนัก ด้วยความพยายามที่จะให้รัฐเบงกอลยอมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน แต่สมาชิกสภาอีกส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย มีการประชุมและมีมติให้แยกรัฐเบงกอล ออกเป็น เบงกอลตะวันออก และ เบงกอลตะวันตก
และยังคงให้ เบงกอลตะวันตกเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียต่อไป
(ซูห์ราวาร์ดี ขณะเยือนอเมริกาในฐานะนายกรัฐมนตรีของปากีสถานตะวันออก - ภาพจากวิกิพีเดีย)
แต่ที่ปวดหัวใจไปมากกว่านั้นก็คือ ต่อมาอีก 6 ปี ซูห์ราวาร์ดี ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรียุติธรรม ของปากีสถานตะวันออก รับผิดชอบในการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศ
ในปี 1956 เขาก็ได้รับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีของปากีสถานตะวันออก ชาวกัลกัตตา จึงเข้าใจในทันทีว่า ทำไมชาวกัลกัตตา จึงเสียชีวิตอย่างมากในวันปฎิบัติการตรง
แต่การสังหารโหดยังไม่จบแค่นั้น
วันที่ 12 มกราคม เป็นวันที่จะต้องปิดกรุ๊ปอียิปต์ ระหว่างวันที่ 12-21 กุมภาพันธ์ หากสนใจร่วมเดินทางไปกับกรุ๊ป ที่ผมจะเป็นผู้บรรยายชม สามารถติดต่อได้ที่โทร 0885786666 หรือ LINE ID – 14092498
พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ซ่อน
โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น
1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งได้ที่อีเมล์ online@naewna.com โดยทีมงานและผู้จัดทำเว็บไซด์ www.naewna.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี
3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาข่าวสารที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี